วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552

3 หนังสือบริหารจัดการโบแดงปี 2552

นิติธร สุวรรณศาสน์ กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แต่ละปีจะมีหนังสือแนวบริหารจัดการออกมานอนก่ายเกยกันนับร้อยๆ เล่ม บางเล่มถูกขายออกไปในเวลาอันรวดเร็ว ราวกับเพลงฮิตติดชาร์ทที่แผ่นถูกเปิดแล้วเปิดอีก มีคนพูดถึงแล้วพูดถึงอีก

บางเล่มก็ต้องทอดเวลาให้เป็นที่รู้จักมักคุ้น เพื่อเปลี่ยนจากหนังสือโนเนม (nobody) มาเป็นหนังสือมีเนม (somebody) เป็นที่ยอมรับกันในสังคมคนอ่าน

และก็มีไม่น้อยที่จำต้องโดดเดี่ยวเป็น home alone อยู่บนชั้นวางอย่างน่าเสียดาย

หลายสิบเล่มที่อ่านผ่านตาไปตลอดปี 2552 ที่กำลังจะโบกมือบ๊ายบายวันสองวันนี้ อย่างหนึ่งที่บอกได้ชัดเจนก็คือ ท่ามกลางตัวหนังสือภาษาปะกิดอัดแน่นละลานตา บนเนื้อหาหลากหลายทั้งเศรษฐศาสตร์ การเงิน การตลาด กรณีศึกษา และภาวะผู้นำ

การให้เวลากับหนังสือ ด้วยการนั่งลงแล้วลงมืออ่าน ไม่ว่าเนื้อหาจะเป็นแนวไหน ล้วนแล้วแต่ให้ความรู้ และแง่คิดอินเทรนด์มากมาย จากผลึกความคิดของบรรดากูรู นักคิด นักเขียน รวมถึงนักปฏิบัติจริงในสนามจริง

ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะบอกว่าตลอดปี 2552 นี้ หนังสือการจัดการเล่มไหนดีที่สุด โดดเด่นที่สุด และน่าเป็นเจ้าของที่สุด เพราะแต่ละคนก็ล้วนแล้วแต่มีมุมที่ชอบเป็นของตัวเอง แม้แต่โดยส่วนตัวที่คัดเอาหนังสือการจัดการ 3 เล่มในบรรทัดถัดๆ ไปนี้ มาเป็น ส.ค.ส. สวัสดีปีใหม่ 2553 ก็ยังเป็นเพราะเหตุผลของความชอบเพียงลำพังอย่างถึงที่สุด

ได้แต่แอบหวังใจว่า เมื่อบอกเหตุผลที่ชอบไปแล้ว หลายคนคงหันมาสนใจ และเริ่มเทใจให้หนังสือโบแดง 3 เล่มต่อไปนี้อย่างผมบ้าง

Free: The Future of a Radical Price โดย Chris Anderson หนังสือเล่มนี้ว่าด้วยเรื่องของฟรีทั้งในมุมของเศรษฐศาสตร์และมุมของการตลาด แถมยังไล่เรียงประวัติความเป็นมาของการให้ฟรีแบบโบราณ ซึ่งคือการแจกของบางอย่างฟรีเพื่อหวังให้คนมาเสียเงินซื้ออีกอย่าง

เช่นให้โทรศัพท์มือถือฟรี โดยหวังรายได้จากค่าโทรและบริการเสริม ซึ่งเป็นวิธีการตลาดที่ซื้อใจคนได้ ไปจนถึงฟรีในความหมายสมัยใหม่ที่มูลค่าของถูกจนเหมือนได้ฟรี ซึ่งให้ความหมายในเชิงเศรษฐศาสตร์ ที่ซึ่งสินค้ามีต้นทุนลดต่ำลงจนใกล้ศูนย์อย่างแท้จริง

Anderson อธิบายปัจจัยผลักดันให้สินค้าเป็นไปเช่นนั้นได้อย่างทะลุปรุโปร่ง แถมยังเสริมถึงการตีแผ่วิธีการตลาด ที่สอดรับกับของฟรีในยุคใหม่นี้

แต่ที่กินใจมากที่สุดคือ การอธิบายของผู้เขียนที่ว่า ภาวะที่สินค้าฟรีนั้น นำไปสู่การมีสินค้าชนิดนั้นอยู่อย่างมากมาย และการมีอยู่อย่างมากมายของสิ่งหนึ่ง จะนำไปสู่ความต้องการสิ่งใหม่ๆ

ซึ่งคำพูดเช่นนี้โดยส่วนตัวแล้ว ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องเศรษฐศาสตร์หรือการตลาดเท่านั้น แต่คือปรัชญาที่เป็นจริงของโลกทีเดียว ไม่ว่าจะใช้อธิบายเรื่องมหภาค อย่างการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อดึงดูดผู้บริโภคออกจากสิ่งเดิมๆ ที่มีอยู่ดาษดื่น หรืออธิบายเรื่องจุลภาค อย่างการสร้างคุณค่าให้ตัวเองไม่เป็นของตายสำหรับคู่รัก

Anderson รักษาทั้งเนื้อหา และโครงสร้างการเขียนที่เป็นวิชาการ อธิบายง่ายๆ ก็คือมีฟรีแบบไหนบ้าง แต่ละแบบมีกลไกทำงานอย่างไรและมีที่มาที่ไปอย่างไร

ขณะเดียวกันก็เขียนด้วยภาษาเข้าใจง่าย มีวิธีเล่าเรื่องที่เพลิดเพลิน และยกตัวอย่างเก่ง ส่วนผสมดังกล่าวจึงทำให้ Free เป็นหนังสืออ้างอิง ที่มีคุณค่าเกินกว่าจะเก็บไว้ประดับความขลังของหิ้งหนังสือ

โดยส่วนตัวจะจัดระเบียบหนังสือเอาไว้ 3 ระดับคือ 1. หนังสือทั่วไป 2. หนังสืออ้างอิง คือหนังสือที่อธิบายเรื่องใดๆ อย่างมีหลักการ น่าเชื่อถือเกินกว่าหนังสือทั่วไป แต่หนังสืออ้างอิงในความหมายของผม มักจะอัดแน่นด้วยตรรกะและเนื้อหา จนคนไม่ค่อยอ่านและนำขึ้นหิ้ง และ 3. สุดยอดหนังสือ กล่าวคือเป็นหนังสืออ้างอิงที่ขึ้นไม่ถึงหิ้ง (เพราะคอยจะมีคนหยิบไปอ่านอยู่ตลอด)

และ Free ก็ถูกจัดเกรดอยู่ในหมวดนี้ ในสายตาของผมเอง

How the Mighty Fall ของ Jim Collins หนังสือเล่มเล็กคุณภาพโตเล่มนี้ แหวกแนวได้อย่างน่าสนใจว่า จะรู้ได้อย่างไรว่าองค์กรที่กำลังเดินหน้ามาดีๆ นั้น กำลังมีลางร้ายสำหรับอนาคตมากกว่าที่จะสนใจว่าเมื่อลางร้ายเป็นจริงหรือเมื่อเกิดปัญหาแล้วจะแก้อย่างไร ซึ่งเป็นแนวของหนังสืออื่นๆ ส่วนใหญ่

ชอบที่ผู้เขียนยกตัวอย่างว่า ในบรรดาคนแข็งแรงที่วิ่งออกกำลังกายนั้น อาจมีบางคนที่มีเป็นมะเร็งโดยไม่รู้ตัวอยู่ ประเด็นคือ ผู้เขียนต้องการจะให้แนวทางสำรวจเชื้อมะเร็งสำหรับองค์กรโดยวางอยู่บนพื้นฐานว่า เป็นการกวาดสายตาสอดส่องในช่วงที่องค์กรยังมีสภาพดีอยู่

Collins มองขาลงขององค์กรเป็นห้าช่วง ไล่ตามระดับความรุนแรงของอาการ ในที่นี้ไม่ขอลงรายละเอียด เพียงแต่จะเล่าให้เห็นภาพว่า มุมของ Collins ไม่ต่างจากการพิจารณาเรื่องความประมาท ความย่ามใจ ความหยิ่งยโสโอหัง ซึ่งทั้งหมดนี้พร้อมจะทำให้องค์กรที่แข็งแรง กลายมาเป็นองค์กรหมดสภาพได้ทุกเมื่อ

ไม่น่าเชื่อว่าความสำเร็จอันมาจาก น้ำพักน้ำแรงแข็งขัน ความประมาณตน จะนำไปสู่ความมั่นใจเกินตัว จนกลายเป็นประมาท ต่อเมื่อความเฉื่อยของความสำเร็จยังคงลากต่อไป ความประมาทก็กลายเป็นย่ามใจ กล้าลุยในสิ่งที่ไม่น่าจะลุย คราวนี้พอเริ่มพลาด ก็โทษทุกอย่างที่ไม่ใช่ตนเองและไม่ฟังเสียงทัดทานหรือข้อมูลแย้ง

Collins บอกว่า ถ้าองค์กรใดเข้าสู่ช่วงสุดท้ายคือช่วงที่ห้านั้น มีทางออกอยู่เพียงสองทางคือขายกิจการหรือปิดกิจการเท่านั้น

ความเก่งของผู้เขียนประการแรกคือ มีมุมมองเลือกเรื่องได้น่าสนใจและแตกต่าง แทนที่จะเสนอวิธีแก้ กลับเสนอวิธีเช็คอาการ ซึ่งถือเป็นการป้องกันการเกิดปัญหา เชื่อว่าหลายท่านคงเห็นด้วยว่า การป้องกันถือเป็นระดับที่สูงกว่าการแก้ไข

ประการที่สองคือ เขียนเรื่องหนักๆ ให้สั้นและง่ายต่อการเข้าใจ ด้วยเนื้อหาเดียวกันถ้าเขียนยาวกว่านี้สัก 30-40% ก็อาจจะลดความน่าสนใจลงมากทีเดียว การทำให้คนอ่านเข้าใจภายใต้พื้นที่อันจำกัด ทำให้หนังสือเล่มนี้สุดยอดจนต้องยกนิ้วให้

เล่มสุดท้าย Google Speaks ของ Janet Lowe จริงๆ แล้วหนังสือบริหารจัดการหลายเล่ม มักพูดถึงคนที่ประสบความสำเร็จ หรือองค์กรที่สำเร็จ ภายใต้ลักษณะที่เหมือนๆ กันคือ มุ่งความสนใจไปที่ความอัจฉริยะของผู้นำ และกล่าวขวัญถึงผลงานชิ้นโบแดงอย่างชื่นชม

Lowe เธอก็ไม่ได้พลาดประเด็นยอดนิยมเหล่านี้ แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้นสองประการคือ การเพิ่มจุดสนใจออกไป กว้างกว่าสองคู่หูอย่าง Page และ Brin และยังกว้างไปเกิน Eric Schmidt แม่บ้านขององค์กรด้วยซ้ำ

ซึ่งทำให้ Google Speaks ไม่ได้หมายถึงแค่ Page & Brin Speak

ประการที่สองคือ Lowe กล้าใส่ข้อมูลที่อาจไม่เป็นผลดีต่อองค์กรไม่ว่าจะเป็นข้อมูลสีดำหรือเทา ซึ่งมองว่าการใส่ข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งที่ท้าทายต่องานเขียนอย่างมาก เพราะถ้าไม่ใส่ก็จะทำให้งานเขียนดูขาดความเป็นจริง และขาดความเป็นกลาง

แต่เมื่อใส่แล้วก็ต้องระวังไม่ให้ภาพโดยรวมเป็นบวก เป็นลบ หรือดูกลางๆ จนเกินจริง

เธอเก่งตรงที่สามารถขมวดทุกปม ที่เป็นส่วนผสมระหว่าง “ขาว” กับ “ดำ” หรือ “เทา” เข้าไว้ด้วยกัน และทิ้งร่องรอยให้คนอ่านได้มีเวลาขบคิด เอาไปตัดสินใจเอง

หนังสือหลายเล่มที่มีโอกาสอ่านผ่านตาตลอดปี 2552 นอกจากความเพลิดเพลินในฐานะที่เป็นอาหารสมองแล้ว ข้อคิดที่ได้จากแต่ละเล่มบนเนื้อหาที่หลายหลาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวใหญ่น้อยใกล้ตัว

ล้วนสามารถอธิบายได้ ด้วยหลักเหตุผลที่คนธรรมดาสามารถเข้าใจ โดยระดับของความเข้าใจก็ขึ้นอยู่กับสไตล์ของนักเขียนแต่ละคน ว่าเขียนได้อ่านง่ายมากน้อยขนาดไหน

อย่างไรก็ดี ช่วงหลายปีที่ผ่านมา แนวทางการเขียนดูเหมือนว่าจะปรับเข้าหาคนอ่านมากขึ้น คือการอธิบายในสิ่งที่ดูยากแก่การเข้าใจ หรือว่าถ้าง่ายเป็นปอกกล้วยอยู่แล้ว ก็พยายามเพิ่มสีสันเมคอัพให้เรื่องราวนั้นดูน่าสนใจ

สังเกตได้ว่า ลักษณะการอธิบายจะเอื้อให้คนคิดตามได้ง่ายขึ้น ไม่ต่างจากการดูหนังหรือสารคดี ถือเป็นเรื่องน่าชื่นชมสำหรับนักคิดนักเขียนรุ่นใหม่ ที่สามารถปรับทิศทางการเขียนให้ง่าย สั้น กระชับ และย่อยความคิดได้เกือบจะทันที

อยากจะเชิญชวนทุกคนจัดเวลามาอ่านหนังสือกัน แม้ว่าทุกวันนี้จะมีสื่ออื่นๆ เจาะเข้าถึงผู้อ่านได้ง่ายกว่าก็ตามที

เพราะที่สุดแล้วเสน่ห์ของหนังสือ ในฐานะที่เป็นสื่อดั้งเดิม ก็ยังคงอรรถประโยชน์ทั้งการเรียนรู้ การฝึกภาษา และฝึกจินตนาการ

ด้วยเทคนิคการเปลี่ยนจากตัวหนังสือ มาเป็นภาพทางความคิด ที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปแค่ไหน หน่วยความจำนี้ก็จะถูกบันทึกไว้ในสมองไดร์ฟ และพร้อมใช้งานเมื่อถึงเวลาอันควร


คอนแทรคฟาร์มมิ่ง ทางเลือก-ทางรอดภาคเกษตรไทย

สังวาลย์ สยาม กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552
คอนแทรคฟาร์มมิ่ง (Contract Farming) คือ ระบบการเกษตร (การเลี้ยงสัตว์หรือการเพาะปลูกพืช) ที่มีการทำสัญญาซื้อขายผลผลิตล่วงหน้า ระหว่างฝ่ายเกษตรกรเจ้าของฟาร์ม เรียกว่า "ฟาร์มประกัน" กับคู่สัญญา คือ "ผู้รับประกัน" ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นบริษัทเอกชนที่สัญญาว่าจะซื้อผลผลิตคืนจากอีกฝ่ายในราคาที่ได้ตกลงกันไว้ตั้งแต่ต้น เรียกว่า "ราคาประกัน" ที่จะเปลี่ยนแปลงได้ก็ต่อเมื่อครบกำหนดสัญญา
ระบบนี้แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ 1. การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีและวิชาการ โดยบริษัทจะสรรหาเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยมาแนะนำ ให้กับเกษตรกรผู้เป็นเจ้าของกิจการที่มีสิทธิเลือกว่าจะขายผลผลิตเองหรือขายให้กับบริษัทก็ได้ 2. ฟาร์มจ้างเลี้ยง เกษตรกรเป็นเจ้าของกิจการ ที่รับจ้างทำการผลิต ให้กับบริษัทคู่สัญญาซึ่งจะรับผิดชอบเรื่องต้นทุนการผลิตทั้งหมด แล้วจ่ายเป็นผลตอบแทนให้เกษตรกร และ 3. ฟาร์มประกันราคา เกษตรกรผู้เป็นเจ้าของกิจการ จะรับผิดชอบต้นทุนการผลิตเอง โดยต้องซื้อวัตถุดิบทั้งหมดจากบริษัทตามราคาที่ได้ตกลงกันไว้ และขายผลผลิตทั้งหมดคืนให้บริษัทตามราคาประกัน
จะว่าไปแล้ว คอนแทรคฟาร์ม ถือว่าไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับบ้านเรา เพราะมีหลายบริษัทที่ใช้ระบบนี้ในการทำธุรกิจแล้วประสบความสำเร็จ ที่เห็นเด่นๆ ก็อย่าง บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ที่ทำระบบคอนแทรคฟาร์มโดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์ มานานกว่า 30 ปี เท่าที่เห็นก็ประสบความสำเร็จดีทั้งบริษัทและตัวเกษตรกร ยืนยันได้จากเกษตรกรที่ร่วมโครงการเฉพาะฟาร์มเลี้ยงสัตว์ทั่วประเทศ ที่มีกว่า 10,000 ราย เมื่อวิเคราะห์ดูจะพบว่าซีพีถือเป็นผู้นำในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในธุรกิจ และยังถ่ายทอดสู่เกษตรกร เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรสามารถผลิตผลผลิตที่ดี มีมาตรฐาน และประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับบริษัท ตรงนี้เองที่เป็นจุดแข็งทำให้ซีพีประสบความสำเร็จได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
ปกติระบบคอนแทรคฟาร์ม จะมีการทำสัญญาโดยในเนื้อหามักกำหนดให้ "ฟาร์มประกัน" ต้องซื้อปัจจัยการผลิตจาก "ผู้รับประกัน" อาทิเช่น พันธุ์พืช ปุ๋ย และยาฆ่าแมลง หรือพันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ ยาและวัคซีน ในทางกลับกัน ผู้รับประกันจะต้องรับซื้อผลผลิตทั้งหมดคืนจากฟาร์มประกัน ที่สำคัญ ต้องระบุราคารับซื้อผลผลิตและราคาขายปัจจัยการผลิตที่ตายตัวไว้ล่วงหน้า พร้อมระบุวันที่รับมอบสินค้าอย่างชัดเจน
ทั้งนี้ ฝ่ายบริษัทผู้รับประกัน จะให้การสนับสนุนแก่เกษตรกร ทั้งด้านวิชาการ การออกแบบแปลนฟาร์มมาตรฐาน พร้อมจัดหาวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตต่างๆ และอาจรวมไปถึงการสนับสนุนเงินสินเชื่อในช่วงแรก ส่วนฝ่ายเกษตรกรหรือฟาร์มประกัน จะต้องลงทุนในส่วนของที่ดินเพาะปลูก หรือการสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ซึ่งถือเป็นเงินทุนก้อนใหญ่ จึงอาจจะไม่มีเงินทุนในส่วนอื่นๆ จำเป็นต้องขอสินเชื่อกับบริษัทหรือสถาบันการเงิน โดยจะนำรายได้จากการขายผลผลิตไปหักลบกับสินเชื่อ จนกว่าจะจ่ายคืนหมด
อย่างไรก็ตาม เกษตรกรในระบบนี้ถือว่าเป็นผู้ประกอบอาชีพที่ต้องใช้ความสามารถ ไม่ใช่ใครมีเงินลงทุนก็จะทำได้ เพราะต้องคอยดูแลและใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิต เพื่อให้มีประสิทธิภาพการผลิตสูงสุด เป็นไปตามหลักวิชาการ เพื่อให้ได้มาตรฐานเดียวกับบริษัท และตรงตามความต้องการของตลาด ที่สำคัญ เกษตรกรต้องส่งมอบผลผลิตทั้งหมดให้บริษัทคู่สัญญาเท่านั้น ห้ามขายให้กับผู้อื่น
สำหรับผลประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจะอยู่ในรูปของผลกำไร โดยคิดจากจำนวนเงินที่ขายผลผลิตได้หักกับค่าใช้จ่ายรวมที่ใช้ในการผลิต ขณะเดียวกัน บริษัทผู้รับประกันจะได้รับประโยชน์จากการที่สามารถรวบรวมผลผลิตของเกษตรกร เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบป้อนให้กับโรงงานของตนเองได้อย่างสม่ำเสมอ มีความต่อเนื่อง ทันเวลา เพียงพอสำหรับการผลิตสินค้า และยังสามารถกำหนดได้ทั้งปริมาณและราคา ซึ่งเรื่องนี้นับว่าสำคัญกว่าผลประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับจากผลกำไรในการขายสินค้า หรือแม้แต่กำไรจากการขายปัจจัยการผลิตให้กับเกษตรกรเสียด้วยซ้ำ เพราะถ้าบริษัทไม่มีผลผลิตของเกษตรกร ก็ไม่สามารถผลิตสินค้าส่งให้กับลูกค้าได้ทันตามกำหนด ทำให้เกิดความเสียหาย ยิ่งไปกว่านั้น การที่ราคารับซื้อไม่ผันแปรตามราคาตลาด ทำให้สามารถควบคุมต้นทุนการผลิต คาดการณ์และวางแผนการตลาดได้อย่างเหมาะสม จึงเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อต้องส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ เนื่องจากสามารถเสนอขายสินค้าให้กับลูกค้าได้ล่วงหน้าในราคาที่กำหนดแน่นอน อย่างไรก็ดี การจะประสบความสำเร็จในธุรกิจด้วยระบบนี้ได้ จะต้องมีฟาร์มประกันอยู่กับบริษัทของตนเองในจำนวนที่มากเพียงพอกับความต้องการผลิต รวมทั้งต้องมีวิธีการวางแผน และการดำเนินการที่ดีควบคู่กันไปด้วย
อันที่จริงระบบนี้คู่สัญญาจะได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย เพราะบริษัทจำเป็นต้องพึ่งเกษตรกรให้ผลิตสินค้าป้อนเข้ากระบวนการผลิต เพื่อให้การส่งออกเป็นไปอย่างคล่องตัว ขณะที่เกษตรกรก็ต้องอาศัยวัตถุดิบและหลักวิชาการจากบริษัท ซึ่งส่วนใหญ่จะทำการศึกษาวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนาการผลิตของตนเอง และยังนำความรู้และเทคโนโลยีนั้นมาถ่ายทอดสู่เกษตรกร เป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของเกษตรกร ทำให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ เท่ากับช่วยให้ภาคเกษตรเกิดการพัฒนายิ่งขึ้น ที่สำคัญ การที่บริษัทเข้ามารับความเสี่ยงจากภาวะผันผวนของราคาผลผลิตและปัจจัยการผลิตแทนนั้น ถือว่ามีส่วนช่วยลดภาระของภาครัฐ ที่จะต้องนำงบประมาณมาใช้พยุงราคาสินค้าเกษตรได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ก็พอใจที่สามารถซื้อปัจจัยการผลิตได้ในราคาที่แน่นอน และยังทราบราคาผลผลิตล่วงหน้า จึงคำนวณต้นทุนและกำไรได้แต่เนิ่นๆ ซึ่งผลตอบแทนที่ได้ค่อนข้างแน่นอน และสูงกว่าเมื่อเทียบกับเกษตรกรที่ต้องรับภาระทั้งการผลิตและการตลาดเอง
แม้ว่าระบบคอนแทรคฟาร์มจะเป็นการทำสัญญาซื้อ-ขายล่วงหน้าก็ตาม แต่ในความเป็นจริงสิ่งที่เกษตรกรให้ความสำคัญกลับไม่ใช่ข้อสัญญาอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ความสม่ำเสมอในการผลิตต่างหากที่พวกเขาให้ความสนใจมากที่สุด โดยบริษัทจะต้องกำหนดระยะเวลาในการเพาะปลูก หรือเลี้ยงสัตว์ในทุกๆ รอบการผลิตให้มีความต่อเนื่องไม่ให้ขาดตอน โดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์ที่จะต้องนำพันธุ์สัตว์เข้าเลี้ยงภายในระยะเวลาที่เหมาะสม ต้องไม่ปล่อยให้โรงเรือนว่างนานจนเกินไป เพราะการผลิตที่หยุดชะงักลงแม้เพียงไม่กี่วัน ก็มีผลกระทบถึงรายได้ของเกษตรกรที่จะได้รับล่าช้า ทำให้ไม่สามารถจ่ายเงินสินเชื่อคืนให้กับบริษัทหรือสถาบันการเงินได้ นอกจากนั้น บริษัทยังต้องรับผลผลิตคืนตามเวลา เพราะหากเกษตรกรต้องเลี้ยงสัตว์ต่อไป ก็เท่ากับการเสียอาหาร น้ำ ไฟ ฯลฯ นั่นคือ การเสียรายจ่ายโดยไม่จำเป็น ดังนั้น การนำพันธุ์สัตว์เข้าเลี้ยง และการรับซื้อผลผลิตคืนในเวลาที่เหมาะสม จึงถือเป็นปัจจัยกำหนดความสำเร็จที่สำคัญที่สุดในการทำคอนแทรคฟาร์ม
หากพิจารณาระบบคอนแทรคฟาร์มในฐานะผู้บริโภค โดยมองข้ามประโยชน์ที่ได้จากการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร หรือการสร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงแก่เกษตรกรแล้ว ถือว่าผู้บริโภคอย่างเรา ได้ประโยชน์แบบเต็มๆ เพราะไม่เพียงได้บริโภคสินค้าที่มีคุณภาพสูงขึ้น จากการผลักดันให้ผลผลิตมีความปลอดภัยและได้มาตรฐานสากลเท่านั้น แต่ราคาสินค้าที่ต้องจ่ายกลับถูกลง เนื่องจากมีผู้ผลิตจำนวนมาก ผลผลิตที่ได้จึงมากขึ้น ราคาย่อมปรับลดลง ตามกลไกตลาดว่าด้วยหลักการอุปสงค์-อุปทานของราคาสินค้า เรียกว่าทั้งเกษตรกร บริษัทเอกชน และผู้บริโภค ต่างก็ได้รับประโยชน์กันทุกฝ่าย
ระบบนี้อาจเป็นทางเลือกสู่ทางรอดของภาคเกษตรบ้านเราได้ หากไม่มองอย่างอคติหรือใจแคบจนเกินไป

การลดค่าเงินด่องของเวียดนาม จะทำให้ไทยเสียเปรียบทางการแข่งขันหรือไม่?

แจงสี่เบี้ย : ดร.สมศจี ศิกษมัต ผู้บริหารส่วน ส่วนดุลการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552


ล่าสุดเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ธนาคารกลางเวียดนามได้ลดค่าเงินด่องลงร้อยละ 5.4 เพื่อกระตุ้นการส่งออกและลดปัญหาการขาดดุลการค้าที่สูงถึง 10.4 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 11 เดือนของปีนี้ พร้อมกับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Base Interest Rate) อีกร้อยละ 1.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 8 เพื่อหวังจะช่วยดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติ และที่สำคัญ ต้องการลดแรงกดดันของเงินเฟ้อ ซึ่งเคยเร่งตัวสูงกว่าร้อยละ 10 ในช่วงต้นปี
การลดค่าเงินด่องทำให้หลายคนกังวลว่าสินค้าออกของไทยจะเสียเปรียบในด้านราคามากขึ้น จนไม่สามารถแข่งกับสินค้าของเวียดนามได้ โดยเฉพาะ ข้าว สิ่งทอ รองเท้า ของเล่น เฟอร์นิเจอร์ และยังวิตกอีกว่าในระยะต่อไปไทยอาจเสียเปรียบในเรื่องของการลงทุนจากต่างประเทศอีกด้วย เพราะปัจจุบันเวียดนามมีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงขึ้น ทั้งด้านแรงงานและทรัพยากรทางธรรมชาติ ป่าไม้และแหล่งน้ำ ตลอดจนมีความสงบภายในบ้านเมือง ซึ่งล้วนเป็นจุดเด่นที่จะดึงดูดเงินทุนจากต่างชาติให้ไหลเข้าไปในเวียดนาม
ในประเด็นเรื่องสินค้าไทยที่จะเสียเปรียบในด้านราคามากขึ้น จนไม่สามารถแข่งกับสินค้าของเวียดนามได้นั้น ผลกระทบดังกล่าวจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าไทยและเวียดนามเป็นคู่ค้าและคู่แข่งกันในสินค้าใดบ้าง และคุณภาพของสินค้าที่ผลิตนั้นเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร
ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การส่งออกของเวียดนามเร่งตัวขึ้นโดยตลอด สินค้าออกสำคัญ ได้แก่ น้ำมันดิบ ข้าว กุ้งแช่แข็ง รองเท้า และเฟอร์นิเจอร์ อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกของเวียดนามในตลาดโลกยังต่ำกว่าไทย โดยในช่วง 11 เดือนของปี 2552 มีมูลค่าทั้งสิ้น 51.3 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณร้อยละ 0.4 ของมูลค่าส่งออกของโลก ขณะที่ของไทยมีมูลค่า 137.9 พันล้านดอลลาร์ หรือร้อยละ 1.2 ของมูลค่าส่งออกของโลก
ในด้านความเป็นคู่ค้า ไทยเกินดุลการค้ากับเวียดนามมาโดยตลอด โดยเวียดนามเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 9 ของไทย มีมูลค่าประมาณ 4.2 พันล้านดอลลาร์ โดยไทยส่งออก น้ำมันสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก เหล็ก เครื่องยนต์ กระดาษ และเครื่องจักรกล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าทุนและวัตถุดิบที่เวียดนามนำไปผลิตต่อเป็นสินค้าขั้นสุดท้ายสำหรับใช้ในประเทศและส่งออก ดังนั้น ในระยะสั้น การลดค่าเงินด่องไม่น่าจะทำให้เวียดนามลดการนำเข้าจากไทย และไปนำเข้าจากแหล่งอื่นแทน เพราะสินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าจำเป็นที่ใช้ในการผลิตขั้นต่อๆ ไป และหากจะเปลี่ยนไปซื้อกับประเทศอื่น ราคาก็คงแพงใกล้เคียงกัน เนื่องจากค่าเงินบาทเคลื่อนไหวไปกับค่าเงินในภูมิภาค
ขณะที่การนำเข้าของไทยจากเวียดนามมีมูลค่า 1.3 พันล้านดอลลาร์ หรือร้อยละ 1.1 ของการนำเข้าทั้งหมด สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันดิบ คอมพิวเตอร์ เครื่องจักรไฟฟ้า ถ่านหิน ด้ายและเส้นใย เงินด่องที่อ่อนค่าลงเมื่อเปรียบเทียบกับเงินบาท อาจช่วยลดต้นทุนการนำเข้าสินค้าของไทยจากเวียดนามลงบางส่วน
ในด้านความเป็นคู่แข่ง เวียดนามได้เปรียบไทยในเรื่องของผลผลิตต่อไร่ของสินค้าเกษตรบางตัว โดยเฉพาะข้าวที่มีผลผลิตต่อไร่สูงกว่าไทยมาก เนื่องจากมีการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยให้เวียดนามสามารถกำหนดราคาข้าวได้ต่ำกว่าของไทยเกือบ 100 ดอลลาร์/ตัน แต่โชคดีที่ไทยยังคงความได้เปรียบในเรื่องข้าวหอมมะลิ จึงทำให้ข้าวไทยยังคงเป็นที่นิยมกันในตลาดโลก
ค่าจ้างในเวียดนามถูกกว่าในไทยกว่า 3 เท่า จึงทำให้ได้เปรียบด้านราคาในสินค้าที่ใช้แรงงานสูงอย่างเช่น กุ้งแช่แข็ง สิ่งทอ รองเท้า ของเล่น และอุปกรณ์กีฬา ซึ่งการลดค่าเงินด่องอาจช่วยให้เวียดนามได้เปรียบทางด้านราคามากขึ้นอีก
แม้ค่าเงินด่องที่อ่อนลงและค่าแรงที่ถูกจะช่วยให้เวียดนามได้เปรียบทางด้านราคา แต่เงินเฟ้อของเวียดนามค่อนข้างสูง แม้ว่าทางการได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ แต่การลดค่าเงินด่องจะทำให้ต้นทุนการนำเข้าปัจจัยการผลิตต่างๆ ของเวียดนามแพงขึ้นได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อเงินเฟ้อได้อีกต่อหนึ่ง ซึ่งทำให้ราคาสินค้าส่งออกสูงขึ้นในที่สุด จึงต้องรอดูต่อไปว่านโยบายค่าเงินอ่อนและดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จะช่วยเวียดนามให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้มากน้อยเพียงใด
การลดค่าเงินด่องทำให้รายได้ส่งออกต่อหน่วยเมื่อแปลงเป็นเงินด่องแล้วจะเพิ่มขึ้น ซึ่งหากเวียดนามลดราคาส่งออกในรูปดอลลาร์ลง ก็จะกระทบต่อสินค้าไทยที่เป็นคู่แข่งกับเวียดนาม แต่ทั้งนี้คุณภาพและมาตรฐานของสินค้าก็มีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจของผู้ซื้อด้วยเช่นกัน
สรุป คำถามที่ว่าการลดค่าเงินด่องจะทำให้ไทยเสียเปรียบทางการแข่งขันหรือไม่ คำตอบไม่ได้อยู่ที่เรื่องของค่าเงินเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยที่กระทบต่อความได้เปรียบเสียเปรียบทางการแข่งขัน การลดค่าเงินด่องอาจเป็นประโยชน์ต่อไทยในเชิงที่กระตุ้นให้เราต้องเร่งเดินหน้าพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและการลงทุน ตลอดจนกลยุทธ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการส่งออกให้ดียิ่งขึ้น และให้ความสำคัญมากขึ้นกับการบริหารความเสี่ยงเรื่องค่าเงิน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการแข่งขันของประเทศ เพราะสินค้าไทยไม่ได้แข่งขันกับสินค้าจากเวียดนามเท่านั้น แต่ยังต้องแข่งขันกับสินค้าจากประเทศอื่นๆ ซึ่งนับวันก็จะทวีความเข้มข้นขึ้น
---------------------------
บทความนี้ เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

อาลัย Paul Samuelson ผู้เปลี่ยนเศรษฐศาสตร์

โดย วรากรณ์ สามโกเศศ มติชนรายวัน วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม 2552 หน้า 6
ไม่มีใครที่เคยเรียนเศรษฐศาสตร์มาบ้าง จะไม่รู้จักศาสตราจารย์ Paul Samuelson ปรมาจารย์ผู้มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อวิชาเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ เมื่อกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เขาได้จากไปในวัย 94 ปี โดยทิ้งมรดกสำคัญให้อนุชนรุ่นหลัง
ผู้คนจำนวนนับล้านตลอดหลายชั่วคนเรียนเศรษฐศาสตร์จากตำราเศรษฐศาสตร์ของเขา ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกใน ค.ศ.1948 จนถึงครั้งที่ 19 ในปัจจุบันรวมกว่า 4 ล้านเล่ม ฉบับแปลมีถึง 40 ภาษา (ภาษาไทย ผู้แปลคือ ศ.ดร.เดือน บุนนาค แปลในทศวรรษแรกของ พ.ศ.2500 ท่านอาจารย์เดือนเรียกผู้เขียนอย่างนับถือว่า “ท่านพอลล์” ) ตราบจนถึงปัจจุบันยังไม่มีตำราเศรษฐศาสตร์เล่มใดที่มีสถิติเช่นนี้
ตำราอมตะของเขาในการพิมพ์ครั้งแรกมีชื่อว่า “Economics : An Introductory Analysis” ถือว่าเป็นหนังสือเล่มแรกที่อธิบายหลักเศรษฐศาสตร์ดั้งเดิม กับสิ่งที่เรียกว่า Keynesian Economics
ซึ่งแนวคิดนี้มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อความคิดของผู้คนทั่วโลก และแปรเปลี่ยนเป็นนโยบายเศรษฐกิจตลอดเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา
Paul Samuelson เกิดใน ค.ศ.1915 เมือง Gary รัฐอินเดียน่า สหรัฐอเมริกา ในครอบครัวยิวมีฐานะที่อพยพมาจากโปแลนด์ พ่อมีอาชีพเป็นเภสัชกร เขาเข้าเรียนปริญญาตรีด้านศิลปศาสตร์ที่ University of Chicago เมื่ออายุเพียง 16 ปี และจบปริญญาโท และเอกเศรษฐศาสตร์จาก Harvard จากนั้นมาเป็นอาจารย์ที่ MIT เมื่ออายุเพียง 25 ปี และสร้าง MIT ให้เป็นป้อมปราการเศรษฐศาสตร์สำคัญของโลก จนเกษียณอายุเมื่อตอนอายุ 70 ปี
ครอบครัวของเขาประกอบด้วยนักเศรษฐศาสตร์มีชื่อเสียงหลายคน น้องชายแท้ๆ และน้องสะใภ้ (Robert และ Anita Summers) เป็นอาจารย์สอนเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
หลานชายของเขาจากครอบครัวนี้คือ Larry Summers (อดีตนักวิชาการธนาคารโลก อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัย Harvard และปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจของประธานาธิบดีโอบามา)
และพี่ชายของ Anita ก็คือ Kenneth Arrow นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลชื่อดังอีกคนหนึ่ง
ลูกศิษย์ของ Paul Samuelson และนักเศรษฐศาสตร์ที่เขาชักชวนมาสอนที่ MIT ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์กันหลายคน เช่น Robert Solow / Paul Krugman / Joseph Stiglitz / Franco Modigliani / Robert C. Merton ฯลฯ
เขาเป็นนักเศรษฐศาสตร์อเมริกันคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ( สาขานี้ “จอง”โดยนักเศรษฐศาสตร์อเมริกันเกือบทุกปี ร้อยละ 60 ของผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขานี้ เป็นคนอเมริกัน) โดยรับรางวัลใน ค.ศ.1970 ส่วนหนึ่งมาจากผลงานในการเปลี่ยนแปลงวิชาเศรษฐศาสตร์เดิม ที่ใช้การตะหนักใคร่ครวญประเด็นเศรษฐศาสตร์มาเป็นเศรษฐศาสตร์ใหม่ที่สามารถใช้แก้ไขปัญหา และช่วยให้สามารถตอบคำถามเรื่องความเป็นสาเหตุ และผลที่เกิดขึ้น ตลอดจนวัดขนาดได้อย่างชัดเจนด้วยการใช้คณิตศาสตร์
มรดกสำคัญอันนี้ของ Paul Samuelson ก็คือการช่วยเปลี่ยนแปลงศาสตร์ที่ครั้งหนึ่งอยู่รวมกับวิชาการเมือง ( Politics ) ดังที่เรียก และเรียนกันมายาวนานในยุโรป และอเมริกาว่าวิชา Political Economy ( เศรษฐศาสตร์การเมือง ) มาเป็นเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ที่นำคณิตศาสตร์เข้ามาประยุกต์
เขามีบทบาทอย่างสำคัญยิ่งในการยกระดับความสามารถในการวิเคราะห์ตลอดจนยกระดับของวิธีการวิเคราะห์ของเศรษฐศาสตร์จนวิชานี้ กลายเป็นวิชาเชิงวิทยาศาสตร์ บางครั้งเรียกว่า Economic Science แทน Economics
เมื่อมีผู้วางรากฐานแล้วที่เหลือก็คือ ประวัติศาสตร์ของการต่อยอดของนักเศรษฐศาสตร์ต่อๆ มา จำนวนมากมาย เศรษฐศาสตร์ก้าวหน้าไปไกลตลอดเวลา จากการนำคณิตศาสตร์ สถิติ ทฤษฎีฟิสิกส์ ทฤษฎีจิตวิทยา ฯลฯ มาประยุกต์จนสามารถตอบคำถาม และให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเพชรงามเม็ดหนึ่งของวงวิชาการ
(จะมัวหมองไปบ้าง ก็จากวิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งนี้ที่ยังหานักเศรษฐศาสตร์ที่พยากรณ์วิกฤตไว้ชัดแจ้งไม่ได้)
ในบทบาทแรกของการเปลี่ยนแปลงเศรษฐศาสตร์นี้ หนังสือคลาสิคของเขาที่นำมาจากวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก และเป็นตำราเรียนในระดับปริญญาเอกมายาวนาน คือ The Foundation of Economic Analysis (1941) ได้ร่วมวางรากฐานของการเปลี่ยนแปลงวิชาเศรษฐศาสตร์ดั้งเดิม มาเป็นแนวประยุกต์คณิตศาสตร์
มรดกที่สองของเขาคือ การเผยแพร่แนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ John Maynard Keynes (แนวคิดนี้เรียกว่า Keynesian Economics) ผ่านตำราเรียนยอดนิยมกว่า 4 ล้านเล่มดังกล่าวแล้ว แนวคิดนี้เสนอแนะว่าภาครัฐต้องแทรกแซงเศรษฐกิจด้วยรายจ่าย ภาษีอากร ฯลฯ จะปล่อยให้กลไกตลาดทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาด้วยตัวมันเอง เช่น ปัญหาว่างงาน ปัญหาเงินเฟ้อ ฯลฯ ไม่ได้ ( การตกต่ำของเศรษฐกิจโลกในยุค 1930's คือ ผลพวงของความผิดพลาดที่ภาครัฐไม่ได้แทรกแซง )
เขานำหลักเศรษฐศาสตร์ดั้งเดิมที่รู้จักกันในนามของ Neoclassical Economics มา "แต่งงาน" กับ Keynesian Economics ในตำราเรียนคลาสสิคนี้เป็นครั้งแรกของโลก อย่างชัดเจน และแจ่มแจ้ง จนกลายเป็นตำราเรียนหลักเศรษฐศาสตร์ของทั่วโลก
คนทั่วโลกกว่า 3 ชั่วคนเรียนตำราเล่มนี้จนสามารถเข้าใจ "ภาษา" เดียวกัน สื่อสารในเรื่องเศรษฐศาสตร์กันได้เข้าใจ สามารถร่วมมือกันแก้ไขปัญหาวิกฤตโลกได้ดังเช่นครั้งนี้ที่ใช้ Keynesian Economics แก้ไขปัญหากันในทุกประเทศ
มรดกชิ้นที่สามของเขาก็คือ การมีส่วนร่วมในการสร้างความเข้าใจเศรษฐศาสตร์ ด้วยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สำคัญมากมายในหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นการค้าระหว่างประเทศ เศรษฐศาสตร์สวัสดิการ เศรษฐศาสตร์สาธารณะ เศรษฐศาสตร์มหภาค ทฤษฎีผู้บริโภค ฯลฯ ผ่านบทความที่ตีพิมพ์จำนวน 388 บทความ หนังสือ 5 เล่ม และข้อเขียนในนิตยสาร และหนังสือพิมพ์อีกมากมาย
Paul Samuelson เป็นคนแรกที่นำทฤษฎี Thermodynamics จากฟิสิกส์มาประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์ในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก และต่อมาเป็นหนังสือของเขา การนำแนวคิดของศาสตร์อื่นมาใช้ในวิชาสังคมศาสตร์ เช่นนี้เป็นนวัตกรรมของยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง และเป็นการจุดประกายไฟสำหรับนักเศรษฐศาสตร์ในยุคต่อๆมาอย่างแท้จริง
เมื่อหลายปีก่อน สมัยสอนอยู่ที่คณะเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ผมได้ติดการ์ตูนที่ Paul Samuelson ใช้ประกอบข้อเขียนของเขาครั้งหนึ่ง ไว้หน้าประตูห้องทำงาน เพื่อกระตุ้นให้ลูกศิษย์คิด ในรูปมีปู่นั่งอยู่กับหลานชายวัยรุ่น
หลานถามว่า "ปู่ครับ ปู่มีส่วนร่วมในการสร้าง GDP อย่างไร" (สร้างรายได้รวมของประเทศโดยมีนัยว่ามีส่วนร่วมช่วยชาติอย่างไร) ปู่ซึ่งคือตัวเขาเองตอบว่า
"I worried (ปู่กังวล)" นักศึกษาหลายคนขอให้อธิบายภาพนี้ แต่ผมขอให้เขาคิดเองว่า "การห่วงกังวล" ช่วยชาติได้อย่างไร
Paul Samuelson ได้จากไปแล้ว โดยทิ้งมรดกสำคัญไว้ให้ลูกหลานชาวโลก มรดกนั้นคือ เครื่องมือ และวิธีคิดใหม่ของเศรษฐศาสตร์ ในการตั้งโจทย์เกี่ยวกับความ "ห่วงกังวล" และการแก้ไขข้อกังวลเหล่านั้น

ทำไม "ทฤษฎีเคนส์" จึงล้มเหลว

ประวิทย์ เรืองศิริกูลชัย กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ตั้งแต่สมัยของอดัม สมิธ แนวคิดของเศรษฐศาสตร์คลาสสิกได้บังเกิดขึ้น โดยมีพื้นฐานมาจากการแบ่งชนชั้นคล้ายศักดินา โดยปัจจัยการผลิตแบ่งออกเป็น ทุน ที่ดิน แรงงาน และผู้ประกอบการ ดังนั้น ชนชั้นของนายทุน และเจ้าที่ดิน จึงอยู่สูงกว่าชนชั้นแรงงานที่มีจำนวนมากกว่า โดยประเมินว่า "ทุน" มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในฐานะปัจจัยการผลิต ซึ่งมีอยู่น้อยคนที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตนี้ เขายังสนับสนุนการผลิตแบบแบ่งงานกันทำเฉพาะอย่าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้แรงงาน อย่างไรก็ดี มนุษย์ได้ถูกแปรสภาพให้ทำงานซ้ำๆ คล้ายกับเครื่องจักร นี่เป็นจุดเริ่มต้นของ "ทุนนิยม"
เมื่อมาถึงยุคของคาร์ล มาร์กซ์ ได้ปฏิเสธแนวคิดนี้ โดยคิดว่า "ทุน" นั้น ไม่ควรคิดว่าเป็นปัจจัยการผลิต เขารังเกียจชนชั้นนายทุนมาก ขณะที่เขาคิดว่า มีแต่ "แรงงาน" เท่านั้น ที่เป็นปัจจัยการผลิต บุคคลไม่สมควรมีทรัพย์สินเป็นส่วนตัว นี่คือ แนวคิดของ "เศรษฐกิจสังคมนิยม"
เมื่อมาถึงยุคของจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ ผู้ซึ่งเห็นใจประชาชนผู้ว่างงาน ซึ่งไร้ทั้งงาน และไร้ทั้งเงิน ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำสุดขีด ในช่วงทศวรรษที่ 1930 เขาเสนอให้รัฐบาลทำการกู้ยืมเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อช่วยเหลือประชาชน แนวคิดนี้ได้ช่วยลดแรงกดดันความขัดแย้งระหว่างชนชั้น โดยชนชั้นนายทุนก็สูญเสียทุนไปมาก จากการล่มสลายของตลาดหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ โดยผลตอบแทนของทุนหรือดอกเบี้ยก็ตกต่ำสุดๆ ขณะที่ชนชั้นแรงงานก็สูญเสียงาน...ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตของตนเองไปเช่นเดียวกัน ดังนั้น ทุกฝ่ายพยายามรักษาผลประโยชน์ของตนเอง ภายใต้สภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ เคนส์จึงเสนอแนวคิดให้ยืมเงินคนรุ่นลูกหลานมาใช้ก่อน เพื่อไม่ให้คนรุ่นนี้ต้องลำบาก และ ขัดแย้งกันรุนแรง โดยใช้รัฐบาลเป็นตัวกลางในการกู้ยืมผ่านพันธบัตรรัฐบาล
เมื่อรัฐบาลเข้ามาเป็นตัวกลางในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น โดยไม่ต้องรอให้ตลาดปรับตัวเองในระยะยาวตามแนวคิดของเศรษฐศาสตร์คลาสสิก ก็ช่วยเหลือประชาชนไปได้มาก ตามประโยคดังก้องโลกของเคนส์ที่ว่า "In the long run, we are all dead." "หากรอให้ถึงระยะยาวเราก็ตายกันหมดแล้ว" แต่หากจะแปรประโยคนี้อย่างประชดประชัน ก็อาจหมายความถึง "ในระยะยาว พวกเรา (คนรุ่นเรา) ก็จะตายกันหมด ส่วนภาระหนี้สาธารณะนั้น ปล่อยให้ลูกหลานไปคิดกันเองในอนาคต"
ทฤษฎีของเคนส์ประสบความสำเร็จอย่างดี ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจระยะสั้นๆ เพื่อช่วยฟื้นเศรษฐกิจ และช่วยปัญหาการว่างงาน ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่ได้นำแนวคิดของเคนส์มาใช้ โดย นาย ทาคาฮาชิ ซึ่งดำรงตำแหน่ง รมว.คลังสมัยนั้น ได้รับฉายา "เคนส์แห่งญี่ปุ่น" นำแนวคิดนี้มาใช้ก่อนประเทศอเมริกาและอังกฤษ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1931 ก่อนที่ความคิดของเคนส์จะออกมาเป็นหนังสือในปี ค.ศ. 1936 และญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกเช่นกันที่ติด "กับดักเคนส์" จน มีหนี้สาธารณะสูงถึงกว่า 200% GDP
แนวคิดของเคนส์นั้น เป็นที่พอใจของรัฐบาลเกือบทั้งโลก เพราะทำให้รัฐสามารถดำเนินการโดยมีเป้าหมายแอบแฝงได้เสมอมา หากจะศึกษาถึงความสำเร็จและความล้มเหลวของทฤษฎีเคนส์ ผมคิดว่าเราควรศึกษาประเทศญี่ปุ่นเป็นต้นแบบ
ไม่เพียงแต่มุ่งหวังเพื่อฟื้นเศรษฐกิจ และช่วยปัญหาการว่างงานเท่านั้น ในสมัยทศวรรษ 1930 รัฐบาลญี่ปุ่นได้กู้เงินมา เพื่อใช้ในการสร้างแสนยานุภาพทางการทหาร โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือ อาณาจักรมหาเอเชียบูรพาอีกด้วย ในช่วง 15 ปีแห่งเศรษฐกิจในห้วงสงคราม มีการใช้เงินการคลังเพื่อการทหารสูงขึ้นเรื่อยๆ จนบางปีสัดส่วนนี้สูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณ เป้าหมายแฝง คือ ช่วยเหลือนายทุนบริษัทผลิตอาวุธ และอุปกรณ์เครื่องใช้เพื่อการสงคราม เมื่อ รมว.คลัง นายทาคาฮาชิได้เริ่มรู้ว่าหลงกลทหารเข้าแล้ว ก็คิดจะเริ่มปฏิเสธแนวทางกู้เงินมาเพื่อทหาร แต่เขาก็ถูกลอบสังหารอย่างรวดเร็ว
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้สร้างประเทศใหม่ ด้วยการทุ่มงบประมาณมหาศาล เพื่อสร้างสาธารณูปโภค จนอาจกล่าวได้ว่า มีระบบเครือข่ายรถไฟฟ้าที่ครอบคลุมและทันสมัยที่สุดในโลก หนี้สาธารณะได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างเร็ว โดยมีเป้าหมายแฝงเพื่อช่วยเหลือนายทุนรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่
เมื่อมาถึงยุคปัจจุบันที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ในการสร้างถนนที่ไม่มีรถวิ่ง สร้างสะพานที่ไม่มีรถข้าม ญี่ปุ่นก็หันมากู้เงินเพื่อส่งเสริมในด้านประกันสังคม (เบี้ยบำนาญ และประกันสุขภาพ) พร้อมๆ กับกู้เงินมาเพื่อจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรแทน เป้าหมายแฝงเพื่อช่วยเหลือบริษัทยา โรงพยาบาล บริษัทประกันชีวิต และบริษัทจัดการกองทุนรวมต่างๆ
แต่ไม่ว่ายุคใด...นักการเมืองล้วนมีเป้าหมายแฝงเหมือนกัน เพื่อหวังการรั่วไหลของเงินงบประมาณเข้าสู่กระเป๋าตนเอง หรือการทุจริตคอร์รัปชันนั่นเอง
ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเคยประสบความสำเร็จกับทฤษฎีของเคนส์มาเป็นอย่างดีอย่างน้อย 3 ครั้ง จากวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก (The Great Depression) วิกฤติความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 และวิกฤติราคาน้ำมันในทศวรรษ 1970 แต่เพราะเหตุใดญี่ปุ่นจึงได้ล้มเหลว เมื่อประสบกับปัญหาฟองสบู่แตกตั้งแต่ปี 1991 ประเทศนี้ได้เข้าติด "กับดักเคนส์" โดยสร้างหนี้สาธารณะเพิ่มเฉลี่ย 8 เปอร์เซ็นต์จีดีพีต่อปี โดยเศรษฐกิจแทบไม่ได้เติบโตเลย ในช่วงเวลา 18 ปีที่ผ่านมา
ผมคิดว่าเหตุผลสำคัญ ก็คือ "โครงสร้างประชากร" นั่นเอง จากสภาพที่เป็นลักษณะ "พีระมิด" เหมือนประเทศกำลังพัฒนาทั่วๆ ไปในอดีต ปัจจุบันโครงสร้างประชากรได้เปลี่ยนมาเป็น "พีระมิดหัวกลับ" ซึ่งหมายถึง ประชากรผู้สูงอายุได้สูงขึ้นถึง 1 ใน 4 ของทั้งหมด และเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงส่งผลลบ 5 ประการต่อสัดส่วนหนี้สินสาธารณะต่อ GDP 1. เมื่อคนชรามากขึ้น รายได้มีแนวโน้มเติบโตลดลง หมายถึง จีดีพีที่เติบโตช้าลง 2. เมื่อคนชรามากขึ้น การเก็บภาษีทั้งทางตรงทางอ้อม ซึ่งคือรายได้ของรัฐบาลลดลง 3. เมื่อคนชรามากขึ้น ต้องมีการใช้จ่ายเพื่องานประกันสังคม อาทิเช่น เบี้ยบำนาญ และประกันสุขภาพที่สูงขึ้นมาก 4. เมื่อคนชรามากขึ้น รัฐบาลก็จะมีการลดหย่อนภาษีเพื่อการออมเงินบำนาญมากขึ้น ทำให้รายได้ภาษีลดลง 5. เมื่อคนชรามากขึ้น รัฐบาลต้องจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรมากขึ้นตาม ให้กับกองทุนบำนาญซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของรัฐบาล
หากเหตุผลนี้เป็นจริงแล้ว เราน่าจะคาดการณ์ได้ว่า ประเทศพัฒนาแล้วอย่างอเมริกา และยุโรป น่าจะประสบความล้มเหลวกับการใช้ทฤษฎีเคนส์เช่นกัน โดยมีสาเหตุหลัก คือ "โครงสร้างประชากร" ที่เป็นสังคมผู้สูงอายุนั่นเอง ประเทศไทยก็ไม่ควรประมาท เพราะหากเดินตามเส้นทางนี้ สัดส่วนหนี้สินสาธารณะต่อจีดีพี ที่คาดว่าจะสูงสุดที่ 60 เปอร์เซ็นต์นั้น อาจไม่ลดลงตามที่คาดกันไว้ ในทางตรงกันข้ามโอกาสที่จะวิ่งไม่หยุดเหมือนกับประเทศญี่ปุ่นนั้นน่าจะมีโอกาสสูงกว่า
ดังนั้น สมควรหรือไม่ที่จะหากรอบแนวคิดใหม่ เพื่อเป็นทางออกสำรองไว้สำหรับประเทศไทยของเรา "เศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก" ซึ่งใช้หลักการยืมพลังศัตรู และรักษาสมดุลหยินหยาง อาจเป็นทางออกที่เหมาะสมครับ

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เล่นหุ้นแบบ Richard Donchian บรรพบุรุษของเหล่า Trend follower

Richard D. Donchian คือใคร ?Richard D. Donchian เป็นนักเล่นหุ้นที่ได้รับการยอมรับอย่างมากของ Wall Street เขาเริ่มต้นชีวิตในวงการตลาดหุ้นเมื่อปี 1930 และเริ่มมาประสบความสำเร็จอย่างจริงจังในการเป็นนักเล่นหุ้นเมื่อปี 1974 ครับนั่นหมายถึงความเพียรพยายามศึกษาอย่างยาวนานจริงๆ และสิ่งที่ Donchian ได้ค้นพบนั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างต่อวงการ การเก็งกำไร และ วงการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคอย่างมากมายDonchian คือคนที่ทำให้วงการตลาดหุ้นสั่นสะเทือนเพราะเขาคือ “บิดา” หรือผู้ที่ทำให้ เทคนิคการเล่นหุ้นแบบ Trend Following (การเล่นหุ้นตามแนวโน้ม) ได้ก่อกำเนิดขึ้นอย่างเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา และสำหรับท่านที่ยังไม่เข้าใจว่า Trend Following คืออะไร อธิบายง่ายๆก็คือ การเล่นหุ้นภายใต้สมมุติฐานที่ว่าราคาของหุ้นจะเคลื่อนที่ไปตามแนวโน้มหลักของมันจนกว่าแนวโน้มหลักของมันได้เปลี่ยนแปลงไป นั่นเองครับ ซึ่งก็เป็นหลักการพื้นฐานของการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคที่พวกเราต้องจำให้ขึ้นใจนั่นเองครับ และ Donchian นี่เองแหละครับที่เป็นคนริเริ่มพัฒนาเทคนิคการเล่นหุ้นที่เป็นที่นิยมอย่างมากของพวกเราในปัจจุบัน นั่นก็คือ การเล่นหุ้นด้วยระบบ การใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่หรือ Moving Average นั่นเองครับ (หรือใครจะเถียง ? หุหุ) และสุดท้ายนี้เองถ้าใครได้อ่านบทความเกี่ยวกับ กลุ่มเซียนเต่า The Turtle Trader แล้วผมก็จะขอบอกอีกว่านี่ก็คือ หนึ่งในอิทธิพลของ ปรมจารย์การวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิครายนี้ครับ...... Richard D. Donchian.และนี่ก็คือเพชรจากกรุสมบัติชิ้นแรกของปรมจารย์คนนี้ซึ่งผมก็ไปขุดกันมาให้ได้อ่านกันครับ ซึ่ง Donchian เขียนขึ้นในครั้งแรกเมื่อปี 1934 และเมื่อเขาได้กลับมาปรับปรุงใหม่อีกครั้ง เขาได้ให้ข้อสังเกตุว่า หลักการข้อที่ 1,2,3,4 และ 5 นั้นเป็นข้อที่สำคัญที่สุดครับ

แนวทางการเล่นหุ้นของ Donchian1. จงระวังการตัดสินใจของคุณ จากข้อมูลข่าวสารที่เป็นที่กล่าวขานและเข้าถึงกันได้ทั่วไปจากมวลชน เพราะถึงแม้มันจะถูกต้อง มันจะทำให้การเคลื่อนตัวของราคาไปได้ไม่ไกล และช้าลง2. ในช่วงเวลาที่ตลาดเงียบเหงานั้น จงคอยเตรียมพร้อมที่จะเกาะไปกับแนวโน้มที่มาพร้อมกับโวลุ่ม หรือปริมาณการซื้อขายที่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด3. จำกัดการขาดทุน และ ปล่อยให้หุ้นวิ่งไปเพื่อทำกำไรก้อนโต ไม่ต้องไปคิดถึงสิ่งอื่นนอกจากนี้4. เมื่อตลาดกำลังผันผวน อย่าเชื่อมั่นและทุ่มเทในสิ่งใดเกินไป แนวโน้มที่ชัดเจนนั้น จะเกิดขึ้นบ่อยพอที่จะทำให้ชีวิตเราได้ตื่นเต้น และจงทุ่มเทลงไปเมื่อมันได้เกิดขึ้น การกระทำอย่างนี้จะทำให้เรา สามารถลดการขาดทุนจาก Whipsaw หรือ Error ของตลาดที่เกิดขึ้นได้อย่างมากมาย5. ระวังในการเข้าซื้อขาย อย่าด่วนเข้าซื้อเมื่อแนวโน้มได้เกิดขึ้นมาเกิน 3 วันจงรอ การกลับตัวลงมา6. การใช้ Stop loss หรือการคุมต้นทุนอย่างรอบคอบเป็นสิ่งที่มีผลต่อการเล่นหุ้นให้ได้กำไร และจุด Stop loss นั้นสามารถนำมาใช้เพื่อการปกป้องกำไรของคุณได้เช่นกัน ต้องรู้จักการจำกัดการขาดทุนและเข้าซื้อ-ขายจากรูปแบบpattern ที่มีความน่าเชื่อถือและแม่นยำต่างๆของราคาหุ้น เช่น รูปแบบ สามเหลี่ยมStop หรือจุดตัดขาดทุนจะมีค่า และเชื่อถือได้มากขึ้นหากใช้ร่วมกับ รูปแบบการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคที่มีความแม่นยำและน่าเชื่อถือ7. ในเวลาที่การเคลื่อนใหวของตลาดหุ้นนั้น เคลื่อนขึ้น หรือลง ในระยะพอพอๆกัน เราควรทุ่มเงินลงในตลาดขาขึ้นเนื่องด้วยเหตุผลทาง สัดส่วน Percent ของกำไร เช่น หุ้นลงจาก 50 ลงมาถึง 25 จะเท่ากับ 50% แต่หากหุ้นขึ้นจาก 25 ไป 50 จะเท่ากับ 100%8. ในการเข้าซื้อ การตั้งราคารอ นั้นยอมรับได้ แต่เมื่อถึงเวลาขาย ต้องขายทันที ( โยนทิ้งไปเลยครับ )9. ซื้อหุ้นที่แข็งแกร่ง ทั้ง ราคา, แนวโน้มของหุ้น และปัจจัยพื้นฐาน และ ต้องขายหุ้นเน่าๆอ่อนแอ ทิ้งไปซะ10. การเคลื่อนของตลาดที่มีกลุ่ม Rails (ขนส่งทางรถไฟ) เป็นตัวดันนั้นน่าสนใจมากกว่าการเคลื่อนที่ที่กลุ่ม Rails นั้นไม่ดันขึ้นไปด้วย ( ประยุกต์หน่อยก็คือ ตลาดที่เคลื่อนไปด้วยแรงดันของหุ้น Big Cap ทั้งหลายจะน่าสนใจกว่า ดันตัวเล็กๆปั่นขึ้นมาเล่น นั่นเองครับ)11. การศึกษาปัจจัยพื้นฐานของหุ้นแต่ละตัว และความแข็งแกร่งของบริษัทนั้นๆเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากเช่นเดียวกับการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค (พื้นฐานและกราฟ ควรไปด้วยกันนั่นเอง สังเกตุได้จากอดีตพวกตัวนำตลาดต่างๆไงครับ) นี่เป็นกรุสมบัติชิ้นแรกของ Richard Donchian ที่เขียนขึ้นตั้งแต่ ปี 1930 ก็จบแล้วนะครับถ้าคุณอ่านแล้วรู้สึกว่ามัน Basic เหลือเกินก็ขอให้นึกไว้นะครับว่านี่คือ กฏหรือ หลักการที่อยู่มานานจะ 100 ปีอยุ่รำไร ผ่านการทดลองมาแล้วหลายรุ่นถ้าไม่ดีจริงคงไม่หลุดมาถึงตรงนี้อย่างสมบูณณ์ เพียงแต่ว่าเราจะนำมาใช้ได้ดีแค่ใหนเท่านั้นเองนะผมว่า สุดท้ายนี้ขอให้ทุกคนมีกำไรอย่างสม่ำเสมอกันเรื่อยๆ ครับ

บทสัมภาษณ์เซียนหุ้น : Ed Seykota สุดยอด System Trader

ขอแปะบทสัมภาษณ์ Ed Seykota เซียนหุ้นที่เล่นหุ้นเป็นระบบจนรวยมหาศาล และยังเป็นผู้บริหารกองทุนของเขาเองด้วยครับ น่าสนใจแค่ใหนนั้นลองคิดเอาเอง บทสัมภาษณ์นี้ผมนำมาจากนิตยสาร Stock and Commodities เมื่อปี 1992 โดยจากปี 1972 ที่เขาเริ่มบริหารกองทุนนั้นหากเรามีเงินอยู่ในกองทุนของเขา ในปี 1992 นี้คุณจะมีกำไรถึง 250,000% หรือ 2,500 เท่าทีเดียวครับ เรามาศึกษาแนวคิดของ Ed Seykota กันดีกว่าครับ Q: คุณเริ่มรู้จักกับการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคได้อย่างไร ? และคุณเริ่มเล่นหุ้นครั้งแรกเมื่อไหร่ ?A: เท่าที่ผมจำได้ ผมเริ่มซื้อหุ้นครั้งแรกตั้งแต่อายุ 5ขวบ และผมเริ่มสนใจการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคตั้งแต่ยังเด็กเช่นกัน โดยเมื่อตอนนั้นผมอายุประมาณ 9 ขวบผมมีเครื่องเล่นวิทยุอยู่เต็มห้องไปหมด ผมมีเครื่องทดสอบวิทยุ และ เครื่องวัดปริมาณไฟฟ้าoscilloscopes อยู่หลายเครื่องเช่นกัน ซึ่งมันทำให้ผมชอบเล่นมันให้มันสร้างภาพคลื่นกราฟขึ้นมา หลังจากนั้นเมื่อผมอายุ 13 ปี พ่อของผมเริ่มสอนให้ผมรู้จักกับวิธีการเล่นหุ้น โดยบอกผมว่า ผมควรที่จะเริ่มเข้าซื้อหุ้นเมื่อราคาของมันวิ่งออกจากกล่องและทะลุแนวต้านขึ้นไป และให้ขายเมื่อมันหลุดแนวรับลงมา นั่นคือจุดเริ่มต้นการเล่นหุ้นของผมครับQ: นี่คือสิ่งที่นำพาคุณมาสู้การเล่นหุ้นไช่ใหม และมันทำให้คุณเข้ามายุ่งเกี่ยวกับมันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยรึปล่าว ?A: จริงแล้วก็ไม่นะครับ เมื่อผมเรียนมหาวิทยาลัยผมเข้าศึกษาที่ Massachusetts Institute of Technology (MIT) โดยที่ผมนั้นเรียนเกี่ยวกับเรื่อง Servo Theory ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของระบบการควบคุมตนเอง อย่างเช่นระบบสารเคมีที่ทำหน้าที่ในการควบกลไกของร่างกาย โดยที่ศาสตราจารย์ Jay Forrester ได้แสดงให้ผมเห็นว่าเราสามารถนำ Servo Theory มาประยุกต์ใช้ในการสร้างแบบจำลอง Model ทางเศรษฐศาสตร์ได้เช่นกัน โดยที่เราต้องใช้การสังเกตุ และความคิดคำนวนอย่างลึกซึ่งเพื่อให้รู้ว่าสิ่งต่างๆเกิดขึ้นได้อย่างไรQ: ถ้าอย่างนั้นคุณเริ่มหันกลับมาสนใจในการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคอีกครั้งได้อย่างไรครับ ?A: หลังจากที่ผมเรียนจบจากมหาวิทยาลัยแล้ว ผมได้มีโอกาสอ่านบทความของ Richard Donchian ซึ่งได้จุดประกายให้ผม โดยการที่เขาได้แสดงให้เห็นว่า การเล่นหุ้นโดยรู้จักกระจายความเสี่ยงควบคู่ไปกับการใช้ระบบ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 25 วัน(25 days moving average) นั้นทำให้ได้ผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจ นั่นจึงทำให้ผมตัดสินใจซื้อเวลาใช้เครื่องคอมกับร้านคอมพิวเตอร์ โดยผมใช้เวลาในช่วงหัวค่ำนำข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Wallstreet Journal มาทดลองเลียนแบบระบบของ Richard Donchian อีกครั้งโดยที่ผมได้ลองเปลี่ยนค่าตัวแปรต่างๆและพบว่ามันได้ผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจเช่นกัน ซึ่งผมยังได้พบว่า การเล่นหุ้นอย่างเป็นระบบ โดยใช้ Longer-Term Trend นั้นให้ผลตอบแทนที่ดีมากๆ โดยที่การเล่นหุ้นระยะสั้นเกินไปจะทำให้ค่าคอมมิสชั่นกินผลตอบแทนไปมาก

Q: แล้วหลังจากนั้นล่ะ คุณทำอย่างไรต่อ ?A: หลังจากนั้นในช่วงต้นปี 1970 ผมได้เข้าทำงานกับบริษัทซึ่งเป็นสาขาย่อยของโบรคเกอร์แห่งหนึ่ง ช่วงนั้นผมได้ใช้เวลาในช่วงสุดสัปดาห์ ใช้คอมพิวเตอร์ทดสอบแบบจำลองของผมอีกครั้ง โดยในคราวนี้ผมได้ลองทดสอบระบบถึง 4 ระบบโดยมีค่าตัวแปรต่างๆประมาณ 50 ตัวโดยทดสอบย้อนหลังไปเป็นเวลา สิบๆปีกับหุ้น 8 ตัว ซึ่งนั่นทำให้ผมใช้เวลาไปถึงปีครึ่งกว่าจะเสร็จ นี่คือสิ่งที่ทำให้เราเห็นว่าคอมพิวเตอร์นั้นเปลี่ยนแปลงไปไวมาก โดยขณะนี้ผมอาจใช้เวลาแค่เพียงสองวันเท่านั้น (ถ้าเป็นตอนนี้ผมว่าชมเดียวก็เกินพอแล้วครับ หุหุ)Q: แล้วคุณทำอย่างไรกับผลการทดลองนั้นต่อ ?A: ครับ โดยในที่สุดบริษัทแม่ของผมก็นำผลการทดลองของผมไปเป็นส่วนหนึ่งของการขายบริการ ปัญหาก็คือ เจ้านายของผมไม่สามาถควบคุมตนเองให้ทำตามระบบนั้นได้ และเจ้านายของเจ้านายผมก็สนใจที่จะทำเงินกับมันจากการ ขายบริการข้อมูลเพื่อค่าคอมมิสชั่นมากกว่าที่จะใช้มันเล่นหุ้น ซึ่งผมได้บอกกับเขาว่าสิ่งที่ดีที่สุดคือการนำมันไปเล่นหุ้นเพื่อลูกค้าของพวกเขา ไม่ไช่การกินค่าคอมมิสชั่น แต่ยังไม่จบแค่นั้น เจ้านายของผมกลับเดินเข้ามาแสดงความยินดี แล้วบอกผมว่าผมจะได้เงิน 10% จากค่าคอมที่ระบบของผมสามารถทำเงินให้จากการขายบริการให้พวกเขาได้ ซึ่งมันทำให้ผมเซ็งมาก และตัดสินใจออกจากที่นั่นเมื่อผมอายุ 23 ปี ผมหันมาเล่นหุ้นด้วยเงินของตนเองด้วยเงินเพียงเล็กน้อยประมาณ 10,000-25,000 เหรียญ หลายปีต่อมาผมได้กลับไปเยี่ยมบริษัทแห่งเดิมของผม และมันเต็มไปด้วยมาร์เก็ตติ้งหลายคนที่ทำเงินค่าคอมมิสชั่นได้จากการนำระบบของผมมาปรับปรุงอีกเล็กน้อย อย่างไรก็ตามผมกลับมีเงินมากกว่าที่บริษัทผมมีเสียอีก ซึ่งนั่นมาจากการเล่นหุ้นของผมเอง ผมรู้สึกดีเป็นอย่างมากที่ผมได้ออกมาจากบริษัทที่หวังแต่จะกินค่าคอมมิสชั่นแห่งนั้นQ: หลังจากนั้นล่ะ ?A: ผมก็ยังทำการทดลองใหม่ๆอยู่เรื่อยๆ ยังคงศึกษาตลาดอยู่เช่นเคย และยังคงเล่นหุ้นด้วยเงินของผมเอง Q: อะไรคือความลับแห่งความสำเร็จของคุณ ? อะไรคือปัจจัยทางจิตวิทยาที่สำคัญสำหรับการเล่นหุ้น ?A: ความลับที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็คือ มันไม่มีความลับอะไรทั้งนั้น หรือถ้ามันจริงผมก็คงยังไม่พบมันเช่นกัน ผมคิดว่าความคิดของการที่จะพยายามหาสูตรสำเร็จในการเล่นหุ้นนั้นเป็นความคิดที่ผิดทางไป มันเหมือนกับการเล่นกอล์ฟนั่นแหละ นักกอล์ฟบางคนเล่นเพื่อแค่ค่าเวลานอกบอก พวกเขาชวนเพื่อนๆไปเล่นกัน ไปสัมผัสธรรมชาติ ไปชมวิว ไปออกกำลังกาย และหวังว่าจะได้เบอร์ดี้ สักครั้งสองครั้ง และสำหรับอีกหลายๆคน มันคือการพยายามจะหาสูตรสำเร็จในการตีกอล์ฟไป ต่างคนก็ต่างเล่นไปQ: ถ้าอย่างนี้ อะไรที่คุณคิดว่าจะทำให้นักเล่นหุ้นทั่วๆไปสามารถประสบความสำเร็จได้ ?A: การเล่นหุ้นนั้นง่าย คุณแค่หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาและสั่งซื้อขายไป แต่สิ่งที่อยู่เบื้องหลังการเล่นหุ้นนั้นสิที่ยากกว่า มันเหมือนกับการจะเป็นนักกีฬา คุณต้องตั้งใจและทุ่มเทเพื่อเป้าหมายของคุณ เมื่อคุณทุ่มให้มันสิ่งต่างๆจะเข้ามาช่วยคุณเอง สิ่งต่างๆที่คุณเห็นและไม่สามารถเห็นได้จะช่วยผลักดันให้คุณไปถึงความฝัน

Q: นักเล่นหุ้นรายย่อยทั่วไปนั้น ควรที่จะทุ่มเทเวลาเพื่อการพัฒนาทักษะการเล่นหุ้นอย่างเป็นระบบ หรือ ใช้เวลาพัฒนาการเล่นหุ้นด้วยสัญชาติญาณของพวกเขา ?A: ผมคิดว่าวิธีการเล่นหุ้นด้วยสัญชาติญาณ นั้นมีส่วนสำพันธ์กับการเล่นหุ้นอย่างเป็นระบบ นักเล่นหุ้นที่เล่นหุ้นด้วยสัญชาติญาณนั้นเล่นหุ้น ก็เล่นหุ้นด้วยกฎหรือระบบ และความคิดที่อยู่ภายในใจของเขา แต่ผมก็เห็นว่าการเล่นหุ้นด้วยระบบนั้นก็มีส่วนสัมพันธ์กับการเล่นหุ้นด้วยสัญชาติญาณด้วยเช่นกัน นักเล่นหุ้นด้วยระบบนั้น ต้องใช้สัญชาติญาณในการที่จะเลือกหนทางในการเดินไปข้างหน้า การลด-เพิ่มหน้าตัก หรือแม้กระทั่งการเลือกถือหรือขายหุ้นตัวใดออกไปที่ผมกำลังจะบอกก็คือ จริงๆแล้วมันไม่มีข้อแตกต่างระหว่างทั้งสองอย่างนี้หรอก นักเล่นหุ้นที่มีเหตุผลคือคนที่เล่นหุ้นอย่างมีสติในการบริหารความเสี่ยง รู้จักใช้ Money Management พวกเขาจะสนใจระบบเศรษฐกิจทั้งมหาภาคและจุลภาคอยู่ในใจ พวกเขาคือคนที่รู้จักตัวของตัวเอง และรู้จักสร้างสภาพจิตใจที่จะอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัวพวกเขาQ: ถ้าหากคุณไม่ได้ใช้วิธีการเล่นหุ้นด้วยระบบ คุณจะมีกฏการเล่นหุ้นของคุณเองใหม และมันจะเป็นอย่างไร ?A: ผมมีกฎของผม และกฏเบื้องบนไว้ใช้ในใจของผมอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น เล่นหุ้นแนวโน้มใหญ่ ตัดขาดทุนให้เร็ว ปล่อยให้หุ้นวิ่งทำกำไร และเสี่ยงเท่าที่คุณจะทนใหวแล้วรู้จักพอ !Q: กฏเบื้องบน หมายความว่าอย่างไรครับ ?A: สำหรับผม กฏเบื้องบน และกฏของผมมีส่วนช่วยในการเล่นหุ้นเป็นอย่างมาก กฏเบื้องบนนั้นก็คือ ความทุ่มเทและความใส่ใจจะทำให้ประสบความสำเร็จ มันยังมีกฏเบื้องบนที่ทำให้ความโลภและความเห็นแก่ตัวไม่อาจต้านทานได้ ผมจะรู้สึกว่าผมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกฏเบื้องบนเหล่านี้ได้เองเมื่อสิ่งต่างๆดำเนินไปอย่างเข้าที และเมื่อผมทำตามกฏเบื้องบนแล้ว กฏการเล่นหุ้นของผมมันกลายเป็นสิ่งที่แทบไม่มีความหมายเลยQ: คุณคิดว่าราคาหุ้นวิ่งไปอย่างไม่อาจคาดเดาได้หรือไม่ ? มีอะไรเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของแนวโน้มต่างๆหรือไม่ ? อะไรทำให้ราคาเคลื่อนใหวออกไป ?A: ผมคิดว่า เมื่อเราอุทานว่า AHAAA! นั่นแหละคือหัวใจของการเปลี่ยนแปลงของราคา ยกตัวอย่างเช่น คุณลองสังเกตุอักษรพวกนี้ หหสสหหปป อะไรคือตัวต่อไป ? (คุณผู้อ่านคงจะงง ไช่ใหมครับ ผมก็งงเช่นกันตอนอ่านครั้งแรก กว่าจะรู้ก็ อ๋อออ แล้วแต่ถ้าทีนี้ลองคิดว่ามันเป็นอักษรแรกของตัวเลขสิครับ หนึ่ง ,สอง, ห้า เริ่มอ๋อออ แล้วไช่ใหมครับ ) และเมื่อคุณเริ่ม Ahaaa หรือร้อง อ๋อ แล้วสิ่งต่างๆ ที่เป็นปริศนา และความงุนงงจะเริ่มหายไปเมื่อเรารู้สึกว่า Ahaa หรือ อ๋ออ นี่แหละที่ผลักดันให้ราคาเปลี่ยนแปลงไป เมื่อคุณอ่านหนังสือพิมพ์ระหว่างที่หุ้นเริ่มกลายเป็นขาขึ้น จะยังไม่มีใครเข้าใจว่าทำไม มันจะมีความสับสันเต็มไปหมด หลังจากนั้นเมื่อหุ้นเริ่มเคลื่อนที่ไป บางคนจะเริ่มเข้าใจถึงเหตุผล เมื่อถึงจุดจบ ทุกคนจะร้องอ๋อเข้าใจเหตุผลแล้ว และนั่นทำให้ความสงสัยต่างๆหายไปเป็นผลทำให้มาถึงจุดจบของหุ้นขาขึ้นนั่นเองQ: Ahaa เหรอ ผมจะลองเอากลับไปคิดดูครับ ทีนี้คุณลองบอกได้ใหมว่าคำกำหนดจุดตัดขาดทุนอย่างไร ?A: ผมจะกำหนดมันก่อนซื้อหุ้น ผมจะตั้งไว้ในจุดที่กราฟเสียรูปไปQ: หนังสือหุ้นเล่มใหนคือหนังสือหุ้นที่คุณชอบ และคิดว่านักเล่นหุ้นทุกคนควรอ่านมัน ?A: จากประสบการณ์การเล่นหุ้นที่ผ่านมาหลายปี ผมได้สั่งสมความรู้ มุมมอง ทักษะ และแรงบันดาลใจต่างๆจากหนังสือหลายๆเล่ม สำหรับหนังสือหุ้นไม่กี่เล่มที่ผมชอบเป็นพิเศษนั่นก็คือ Extraordinary Popular Delusions ของ Charles McKay, หนังสือหุ้น Reminiscences of Stock Operator โดย Edwin LeFever และหนังสือหุ้น The Crowd ของ Gustare Le Bon ครับจบแล้วครับ!

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Total Costs and Model Specifications

Source: AARP Foundation Reverse Mortgage Education Project | April 25, 2003

The true, total cost of a reverse mortgage depends on factors in addition to its various itemized costs. Knowing the specific costs that will be charged on a reverse mortgage is only the first step in understanding its total cost. You also need to understand how that cost will vary based on the other factors.

The Total Annual Loan Cost (TALC) of a reverse mortgage also depends upon
• how long you live in your home; and
• what happens to its value during that time.

In general, the TALC rate is highest when the loan is repaid within a few years after closing—when the upfront costs are still a large part of the total amount owed. On the other hand, TALC rates are lowest when you live longer than other people your age, or when your home's value grows little or declines.

TALC Shortcomings

When they went into effect in the mid-1990s, TALC disclosures were an important step in showing the real costs of reverse mortgages. But since then, a number of problems with these disclosures have arisen.

Most reverse mortgage borrowers choose a creditline. The true cost of these creditlines depends to a large degree on the size and timing of the cash advances requested by the borrower.

But TALC calculations assume that all borrowers will request one-half of their creditline at closing, and none later. This simplifies the math and provides a way to compare different creditlines. But it doesn't show how different the true cost of these loans can be based on a borrower's pattern of creditline advances. And it doesn't show the value of a growing versus a non-growing creditline.

TALC regulations also require lenders to assume that the initial interest rate charged on a reverse mortgage will never change. This also simplifies the math, and provides a single standard of comparison. But if you get a reverse mortgage when interest rates are historically low, they are not likely to stay low for as long as your loan lasts. They probably will go up. So the TALC report you get may underestimate of the true cost of your reverse mortgage.

TALC disclosures also do not address two key considerations for reverse mortgage borrowers:
• the total amount of cash you get from the loan; and
• the amount of equity you or your heirs get to keep at the end of the loan.

AARP's Model Specifications

In 2000, under a grant from the U. S. Department of Housing and Urban Development, the AARP Foundation's Reverse Mortgage Project asked reverse mortgage counselors and lenders to work with the project to create a more complete and customized way to measure costs and benefits.

The result was a set of model specifications for analyzing and comparing reverse mortgages. The specifications are based on a simple way of looking at these loans.

All reverse mortgages turn your home equity into three things:
• loan advances paid to you;
• loan costs paid to the lender and others; and
• leftover equity, if any, paid to you or your heirs at the end of the loan.

Because reverse mortgages turn home equity into only these three things, you can analyze any reverse mortgage by asking three simple questions:
• How much would I get?
• How much would I pay?
• How much would be left at the end of the loan?

At the end of a reverse mortgage, all of your home's value will have been turned into one of these three things: loan advances, loan costs, or leftover equity.

AARP's model specifications are rules for estimating how much of your home's value will have been turned into these three things at various future times. They also show how to estimate a total annual average loan cost for each of these future times.

When a lender or counselor uses computer software based on the specifications, all of these estimates are based on the creditline advances and future interest rate that you select. You can also choose the rate at which you expect your home's value will grow.

By varying these factors, you can see what effect each has on a loan's total cash advances, total cost, and leftover equity. Keep in mind, however, that all of these figures are estimates. The actual figures will depend on:
• the actual creditline advances you select during the loan;
• the actual interest rates charged on the loan; and
• the actual changes in your home's value during the loan.

The model specifications were originally developed to help consumers compare different types of reverse mortgages. But the estimates they produce are also very helpful in understanding any individual loan. They show you the total picture of what would happen to your home equity based on
• how you expect to use your loan,
• what you think will happen to interest rates, and
• what you think will happen to your home's value.

Articles on "Selecting a Counselor" and "Selecting a Lender" in the Key Decisions section of this site explain how to get loan analyses and comparisons that meet the model specifications.

Cost Versus Other Choices

TALC disclosures and other measures estimate the total cost of a HECM. But only you can determine how much it would be worth to you.

How important is it—how much would you pay—to remain in your present home? To help you evaluate the cost of a reverse mortgages, you need to compare it to what may be your two main alternatives:
• selling and moving elsewhere; or
• continuing to live in your present home with your current income and assets.


http://assets.aarp.org/www.aarp.org_/articles/revmort/modspecs2-6-04.pdf



http://assets.aarp.org/www.aarp.org_/articles/money/financial_pdfs/hmm_hires_nocrops.pdf

Loan Types and Costs

Loan Types and Costs

| March 21, 2003

The most well-known and widely available reverse mortgage is the federally-insured Home Equity Conversion Mortgage (HECM). This loan is backed by the U. S. Department of Housing and Urban Development (HUD) and can be used for any purpose. It is generally offered by mortgage companies or banks.

Some state and local governments offer low-cost reverse mortgages that generally must be used for one specific purpose only, for example, to make home repairs or pay property taxes. Many of these "public sector" loan programs are only available to homeowners with low or moderate incomes.

"Proprietary" reverse mortgages are owned and backed by the private companies that develop them. These loans can be used for any purpose and are generally the most expensive type of reverse mortgage.

Loan costs can vary by a lot from one type of reverse mortgage to another. Not all reverse mortgages include the same types of loan costs. As a result, the true, total cost of reverse mortgages can be difficult to understand and compare. That is why federal Truth-in-Lending law requires lenders to disclose a "Total Annual Loan Cost" for these loans.

Total Annual Loan Cost

The Total Annual Loan Cost (TALC) combines all of a reverse mortgage's costs into a single annual average rate. TALC disclosures can be useful when comparing one type of reverse mortgage to another. But they also show that the true, total cost of an individual reverse mortgage loan can vary by a lot and can end up being much more—or less—expensive than you might imagine.

TALC disclosures reveal that reverse mortgages generally cost the most when you live in your home only a few years after closing the loan. Short-term TALC rates are very high because the start-up costs are usually a very large part of the total amount that you owe in the early years of the loan. But as your loan balance grows larger over time, the start-up costs become a smaller part of your debt. As these costs are spread out over more and more years, the TALC rate declines.

If the loan's growing balance catches up to the home's value, your debt is then generally limited by that value. This makes the true cost of the loan decrease at a faster rate. So the longer you live in your home, or the less its value grows, the less expensive your loan is likely to be.

But TALC rates aren't the only way to measure reverse mortgage costs. An article on "Total Costs & Model Specifications" in the Basics section of this site shows a more complete way to measure and compare the costs and benefits of reverse mortgages.

Glossary of Reverse Mortgage Terms

Glossary of Reverse Mortgage Terms

| March 28, 2003

acceleration clause - the part of a contract that says when a loan may be declared due and payable

adjustable rate - an interest rate that changes, based on changes in a published market-rate index

appraisal - an estimate of much a house would sell for if it were sold; also called its market value

appreciation - an increase in a home's value

Area Agency on Aging (AAA) - a local or regional nonprofit organization that provides information on services and programs for older adults

cap - a limit on the amount an adjustable interest rate may go up or down during a specified time period

closing - a meeting where documents are signed to "close the deal" on a mortgage; the time a mortgage begins

CMT rate – the Constant Maturity Treasury rate, used as an interest rate index in the HECM program

condemnation - a court action saying a property is unfit for use: also, the government taking private property to use for the public by the right of eminent domain

creditline - a credit account that lets a borrower decide when to take money out and also how much to take out; also known as a "line-of-credit" or "credit line."

current interest rate – in the HECM program, the interest rate currently being charged on a loan, which equals one of the HUD-approved interest rate indices (1-month CMT, 1-year CMT, or 1-month LIBOR) plus a margin

deferred payment loans (DPLs) - reverse mortgages that give you a lump sum of cash to repair or improve a home; usually offered by state or local governments

depreciation - a decrease in the value of a home

eminent domain - the right of a government to take private property for public use; for example, taking private land to build a highway

expected interest rate - in the HECM program, the interest rate used to determine a borrower's loan advance amounts; it equals either the 10-year CMT or the 10-year LIBOR rate plus a margin (see below)

Fannie Mae - a private company that buys and sells mortgages; a government-sponsored business that is watched over by the federal government

Federal Housing Administration (FHA) - the part of the U. S. Department of Housing and Urban Development (HUD) that insures HECM loans

federally insured reverse mortgage - a reverse mortgage guaranteed by the federal government so you will always get what the loan promises; also, a Home Equity Conversion Mortgage (HECM)

fixed monthly loan advances - payments of the same amount that are made to a borrower each month

home equity - the value of a home, subtracting any money owed on it

home equity conversion - turning home equity into cash without having to leave your home or make regular loan repayments

Home Equity Conversion Mortgage (HECM) - the only reverse mortgage program insured by the Federal Housing Administration, a federal government agency

home value limit – in the HECM program, the largest home value that can be used to determine a borrower’s loan advances

initial interest rate - in the HECM program, the interest rate that is first charged on the loan beginning at closing; it equals one of the HUD-approved interest rate indices (1-month CMT, 1-year CMT, or 1-month LIBOR) plus a margin

leftover equity - the sale price of the home minus the total amount owed on it and the cost of selling it; the amount the homeowner or heirs get when the house is sold.

LIBOR – the London Interbank Offered Rate, used as an interest rate index in the HECM program

loan advances - payments made to a borrower, or to another party on behalf of a borrower

loan balance - the amount owed, including principal and interest; capped in a reverse mortgage by the value of the home when the loan is repaid.

lump sum - a single loan advance at closing

margin - in the HECM program, the amount added to an interest rate index to determine the initial, current, and expected interest rates

maturity - when a loan must be repaid; when it becomes "due and payable"

model specifications - rules recommended by AARP for analyzing and comparing reverse mortgages

mortgage - a legal document making a home available to a lender to repay a debt

non-recourse mortgage - a home loan in which the borrower generally cannot owe more than the home's value at the time the loan is repaid

origination - the process of setting up a mortgage, including preparing documents

property tax deferral (PTD) - reverse mortgages that pay annual property taxes; usually offered by state or local governments

proprietary reverse mortgage - a reverse mortgage product owned by a private company

reverse mortgage - a home loan that gives cash advances to a homeowner, requires no repayment until a future time, and is capped by the value of the home when the loan is repaid

right of recission - a borrower's right to cancel a home loan within three business days of the closing

servicing - administering a loan after closing, such as maintaining loan records and sending statements

Supplemental Security Income (SSI) - a federal monthly income program for low-income persons who are aged 65+, blind, or disabled

tenure advances - fixed monthly loan advances for as long as a borrower lives in a home

term advances - fixed monthly loan advances for a specific period of time

Total Annual Loan Cost (TALC) rate - the projected annual average cost of a reverse mortgage including all itemized costs

AARP does not endorse any reverse mortgage lender or product.

Fact Sheet on Reverse Mortgages

Fact Sheet on Reverse Mortgages

| April 25, 2003

Until recently, there were two main ways to get cash from your home:
• you could sell your home, but then you would have to move; or
• you could borrow against your home, but then you would have to make monthly loan repayments.

Now reverse mortgages give you a third way of getting money from your home. And you don't have to leave your home or make regular loan repayments.

A reverse mortgage is a loan against your home that you do not have to pay back for as long as you live there. It can be paid to you all at once, as a regular monthly advance, or at times and in amounts that you choose. You pay the money back plus interest when you die, sell your home, or permanently move out of your home.

Who's Eligible

All owners of the home must apply for the reverse mortgage and sign the loan papers. All borrowers must be at least 62 years of age for most reverse mortgages. Owners generally must occupy the home as a principal residence (where they live the majority of the year).

Single family one-unit dwellings are eligible properties for all reverse mortgages. Some programs also accept 2-4 unit owner-occupied dwellings, along with some condominiums, cooperatives, planned unit developments, and manufactured homes. Mobile homes are generally not eligible.

How They Work

Reverse mortgage loans typically require no repayment for as long as you live in your home. But they must be repaid in full, including all interest and other charges, when the last living borrower dies, sells the home, or permanently moves away.

Because you make no monthly payments, the amount you owe grows larger over time. As your debt grows larger, the amount of cash you would have left after selling and paying off the loan (your "equity") generally grows smaller. But you generally cannot owe more than your home's value at the time the loan is repaid.

Reverse mortgage borrowers continue to own their homes. So you are still responsible for property taxes, insurance, and repairs. If you fail to carry out these responsibilities, your loan could become due and payable in full.

What You Get

These loans can be paid to you all at once in a single lump sum of cash, as a regular monthly loan advance or as a creditline that lets you decide how much cash to use and when to use it. Or you may choose any combination of these payment plans.

Some reverse mortgages are offered by state and local governments. These "public sector" loans generally must be used for specific purposes, such as paying for home repairs or property taxes. Other reverse mortgages are offered by banks, mortgage companies, and savings associations. These "private sector" loans can be used for any purpose.

The amount of cash you can get from a private sector reverse mortgage generally depends on your age, your home's value and location, and the cost of the loan. The greatest cash amounts typically go to the oldest borrowers living in the most expensive homes on loans with the lowest costs.

The amount of cash you can get also depends on the specific reverse mortgage plan or program you select. The differences in available loan amounts can vary greatly from one plan to another. Most homeowners get the largest cash advances from the federally insured Home Equity Conversion Mortgage (HECM). HECM loans often provide much greater loan advances than other reverse mortgages.

What You Pay

The lowest cost reverse mortgages are offered by state and local governments. They generally have low or no loan fees, and the interest rates are typically low or moderate as well. Private sector reverse mortgages are very expensive, and include a variety of costs. An application fee usually includes the cost of an appraisal and a credit report. Other loan costs typically include an origination fee, closing costs, insurance, and a monthly servicing fee. These costs generally can be paid with loan advances, which mean they are added to your loan balance (the amount you owe). Interest is charged on all loan advances.

Reverse mortgages are most expensive in the early years of the loan, and then become less costly over time. The cost can be very high in the short term, and is least costly if you live longer than your life expectancy. The federally insured Home Equity Conversion Mortgage (HECM) is generally less expensive than other private sector reverse mortgages.

Consumers considering a private sector reverse mortgage other than a HECM should carefully consider how much more it may cost before applying. Other articles in The Basics section of this web site's Reverse Mortgages information provide more details on measuring and comparing the total cost of these loans.

Taxes, Estates, and Public Benefits

Reverse mortgages may have tax consequences, affect eligibility for assistance under Federal and State programs, and have an impact on the estate and heirs of the homeowner.

An American Bar Association guide states that generally "the IRS does not consider loan advances to be income." The guide explains that if you receive SSI, Medicaid, or other public benefits loan advances are counted as "liquid assets" if you keep them in an account past the end of the calendar month in which you receive them. If you do, you could lose your eligibility for these programs if your total liquid assets (for example, money you have in savings and checking accounts) are greater than these programs allow.