วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4205 ประชาชาติธุรกิจ
58 ปี...เป๊ปซี่ดีที่สุด
เพิ่งครบรอบ 58 ปี การก่อตั้งบริษัทไปเมื่อ วันที่ 18 เมษายนที่ผ่านมา สำหรับบริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) และอีกเพียง 2 ปี ก็จะมีงานฉลองใหญ่ครบรอบ 60 ปี
เสริมสุข เป็นหนึ่งในบริษัทของคนไทยที่เหลืออยู่ไม่กี่แห่งที่มีประวัติมายาวนานถึง 6 ทศวรรษ และเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ก่อตั้งที่แม้ว่าจะเป็น บริษัทเล็ก ๆ แต่สามารถแจ้งเกิด "เป๊ปซี่" เครื่องดื่มน้ำอัดลม ยักษ์ใหญ่ระดับโลกในเมืองไทยได้สำเร็จ ทั้งยังเป็นการจุดประกายที่ทำให้อุตสาหกรรมน้ำอัดลม หยั่งรากลงในเมืองไทยด้วย
แต่การย่างก้าวเข้าสู่ปีที่ 59 กลับเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของเสริมสุข เมื่อบริษัท สตราทีจิค เบฟเวอร์เรจเจส (ประเทศไทย) จำกัด ถือฤกษ์ดีในช่วงหลังวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประกาศเจตนาว่าจะทำคำเสนอ ซื้อหุ้นทั้งหมดของเสริมสุข
ช็อกวงการไปตาม ๆ กัน และยิ่งช็อกมากขึ้นไปอีก เมื่อทราบว่า สตราทีจิคฯหาใช่คนอื่นคนไกลที่ไหน แต่เป็นบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่ ประกอบด้วย บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด และบริษัท แมเนจเม้นท์ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นบริษัทที่มี เป๊ปซี่-โคล่า อินเตอร์ฯ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
เท่ากับว่าเป๊ปซี่-โคล่าจะเข้ามาครอบครองกิจการของเสริมสุขแบบเบ็ดเสร็จ
ด้วยเหตุผลว่าเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันระยะยาว และสร้างการเติบโตที่มั่นคงอย่างต่อเนื่องของเสริมสุข
ย้อนกลับไปสักเมื่อ 60 ปีที่แล้ว คนไทยยังไม่รู้จักและเคยลิ้มลองรสน้ำอัดลมชื่อ "เป๊ปซี่" มาก่อน จนกระทั่ง "ยม ตัณฑเศรษฐี" กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ ทราบว่าที่สิงคโปร์มีบริษัทจัดจำหน่ายน้ำอัดลมในลักษณะแฟรนไชส์ บ๊อตเทิลเลอร์ เกิดขึ้น และน่าจะเป็นธุรกิจที่มีอนาคต จึงได้ติดต่อกับเป๊ปซี่-โคล่า คัมปะนี ที่นิวยอร์ก เพื่อขอเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่าย
การเจรจาราบรื่นและสำเร็จลุล่วง "ยม" จึงได้ชักชวน คนสนิทชิดเชื้อ ได้แก่ ม.ร.ว.บุญรัน พินิจชนคดี คุณหญิงอุดมศักดิ์ ศรียานนท์ เจ้าสัวตันจิงเก่ง คุณวงศ์ กัลยาณคุปต์ เจ้าสัวโล่เต็กชวน บุลสุข และ พลเรือเอกจรูญ รัตนกุลเสรีเริงฤทธิ์ มาลงทุนตั้งบริษัท
โดยใช้ชื่อว่า "เสริมสุข" เนื่องจากคุณยม และคุณพระพินิจชนคดี ปรึกษากันว่า "เราทำเครื่องดื่มที่คนดื่มแล้วมีความสุข ถ้าอย่างนั้นเรียกว่า บริษัทเสริมสุขก็แล้วกัน"
"เสริมสุข" เกิดขึ้นด้วยทุนจดทะเบียน 8 ล้านบาท ตั้งโรงงานขนาดย่อมแห่งแรกขึ้นบนเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ บนถนนสีลม (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของอาคารสีลม คอมเพล็กซ์) ผลิตเป๊ปซี่ขวดแรกออกสู่ตลาดครั้งแรก เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2496 และมีกำลังการผลิตเพียงวันละ 20,000 ขวด
การเปิดตลาดในช่วงแรก นอกจากรสชาติที่เป็นต่อแล้ว การรุกเข้าตีตลาดด้วยขวดขนาด 10 ออนซ์ ตั้งราคาแค่บาทเดียว พร้อมสโลแกน "ดีมาก มากดี" (Quality Quantity) ทำให้ได้รับความนิยมเหนือกว่าคู่แข่งที่ขายอยู่ก่อน ในขวดขนาด 6.5 ออนซ์ ราคา 1.50 บาท ทำให้คู่แข่งต้องลดราคาลงมาสู้ในราคา 1 บาทเท่ากัน
จากนโยบายที่ "ทรง บุลสุข" (ลูกชายเจ้าสัวชวน) กรรมการผู้จัดการ ที่เข้ามารับช่วงต่อจาก "ยม" ที่ว่า "สินค้าถึงตัว โฆษณาถึงใจ" เสริมสุขจึงให้ความสำคัญ กับการโฆษณามาตั้งแต่ไหนแต่ไร
นอกจากสินค้าที่มีคุณภาพดีและการบริหารที่ยอดเยี่ยมแล้ว ส่วนหนึ่งของความสำเร็จเกิดจากโฆษณาของเป๊ปซี่ ตั้งแต่ยุคแรก "เสริมสุข" เน้นการโฆษณาทั้งทีวีและวิทยุ ผ่านเพลง "เป๊ปซี่ดีที่สุด" ที่แปลมาจากเพลง Pepsi-Cola Hit the Spot ร้องโดยนักร้องชื่อดังในสมัยนั้น เพ็ญศรี พุ่มชูศรี
ส่วนทางทีวี เสริมสุขมีการโฆษณาทางทีวีทั้งช่อง 4 บางขุนพรหม รวมถึง ททบ.5 ที่เพิ่งเปิดใหม่ ควบคู่กันนี้ เสริมสุขยังคิดกลยุทธ์การใช้สื่อที่ปัจจุบันเรียกว่า solus spot ด้วยการนำหนังจากอังกฤษเข้ามาฉาย แล้วใช้โฆษณาเป๊ปซี่ออกอากาศก่อนจะเริ่มฉายหนัง เพื่อช่วยเสริมเพลงเป๊ปซี่ดีที่สุด ให้อยู่ในใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอีกทางหนึ่ง
หรือแม้แต่โรงหนัง ก็มีสปอตโฆษณาเครื่องดื่มตัวเก่งนี้ไปขึ้นนำก่อนฉายทุกเรื่อง และเสริมสุขก็นำเป๊ปซี่ไปขายตามโรงหนังต่าง ๆ ด้วย แม้แต่บนเวทีลิเกก็มีแบนเนอร์ สโลแกน "เป๊ปซี่ดีที่สุด" ไปติดอยู่
จึงไม่แปลกใจที่ "เป๊ปซี่ดีที่สุด" จะกลายเป็นคำพูดที่ติดปากคนทุกเพศทุกวัยอย่างรวดเร็ว แม้ช่วงปี 2523 ทางการจะมีกฎห้ามการใช้โฆษณาเปรียบเทียบ และเสริมสุขต้องระงับสโลแกนนั้นนับตั้งแต่นั้นมา แต่ "เป๊ปซี่ดีที่สุด"ก็ยังเป็นอมตะมาจนถึงทุกวันนี้
ถึงวันนี้แม้เสริมสุขจะจัดจำหน่ายเครื่องดื่มครบทุกประเภท ทั้งเครื่องดื่มผสมคาร์บอเนต และน็อนคาร์บอเนต รวมถึงน้ำดื่ม แต่ยอดขายของเป๊ปซี่ก็ยังเติบโตอย่างต่อเนื่องไม่เคยตก ตามที่ให้คำมั่นไว้กับเป๊ปซี่ อินเตอร์ฯ
วันนี้ "เสริมสุข" ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้จัดจำหน่ายเครื่องดื่มครบวงจรบริษัทแรกในประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด
วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553
"เสริมสุข"..ตระกูลบุลสุข ตำนานยักษ์น้ำดำ "เป๊ปซี่" เมืองไทย
เมื่อข่าว "เป๊ปซี่ โค" ประกาศซื้อหุ้น "เสริมสุข" ยักษ์น้ำดำของไทย เพื่อเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้งหมด จึงเป็นข่าวใหญ่ พร้อมกับคำถามว่าเกิดอะไรขึ้น และก้าวต่อไปของ "เป๊ปซี่" จะมีอะไรให้เซอร์ไพรส์อีก
กว่า 50 ปีของ "เสริมสุข" อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของตระกูล "บุลสุข" มาอย่างยาวนาน มันกำลังจะกลายเป็นตำนานไปหรืออย่างไร
"สมชาย บุลสุข" ทายาทของ "ทรง บุลสุข" เป็นคีย์แมนคนสำคัญที่เป็นผู้สานต่อความสำเร็จและต่อยอดธุรกิจของ "เสริมสุข" ให้เติบใหญ่ ด้วยรายได้ปีละเฉียด ๆ 2 หมื่นล้าน ในวันนี้ และ เขายังเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างและพัฒนาธุรกิจของเสริมสุข ในช่วง 5 ทศวรรษที่ผ่านมาด้วย
"สมชาย" ถูกส่งไปเข้าโรงเรียนประจำที่อเมริกา พอจบไฮสกูล และกลับไปเรียนคอลเลจที่ Menlo School of Business แคลิฟอร์เนีย ตอนแรกเรียนวิศวะก่อน แต่เปลี่ยนใจไปเรียน administration เรียนบริหาร entrepreneur เรียนอยู่ 4 ปี
จบคอลเลจไปฝึกงานที่แบงก์กับทรัสต์ที่นิวยอร์ก เทรนอยู่ปีครึ่งก่อนจะกลับมาทำที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาเสือป่า ทำธนาคาร อยู่เกือบสองปี ก่อนตัดสินใจลาออกมาทำงานกับเสริมสุข
ย้อนกลับไป "ทรง บุลสุข" ใช้เวลาถึง 3 ทศวรรษ ในการสร้างเสริมสุข จนเป็นปึกแผ่นและมั่นคง เขาวางมือและถ่ายทอดมาถึงทายาททางธุรกิจ
"สมชาย บุลสุข" ในฐานะประธานกรรมการบริหาร บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) กล่าวในหนังสือ "เรื่องราวการต่อสู้ตลาด 5 ทศวรรษ" (Fifty Years of Challenge & Conquest) ในโอกาสการฉลองครบรอบ 50 ปี เสริมสุข
"เข้ามาไม่เท่าไหร่ก็ถูกส่งไปดูงานที่ฟิลิปปินส์ ตอนนั้นที่นั่น เขาใหญ่มาก ฝึกตั้งแต่โยนลังขึ้นรถ คือต้องรู้ทุกอย่างตั้งแต่รากหญ้ากันเลย เราได้ความรู้หลายอย่างมาจากฟิลิปปินส์"
"เมื่อกลับมาเป็นผู้จัดการโรงงานบางเขน (2510) ผมเข้ามา ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับการขายเลย แล้วค่อย ๆ เรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้น จากคนเก่า ๆ และจากที่เห็นคุณทรงท่านทำงาน"
"ทำให้ผมเรียนรู้ว่าต้องวางแผนอย่างรอบคอบ ต้องสร้าง พื้นฐานให้แข็งแรง และทำให้บริษัทเติบโตอย่างมีสุขภาพดี เสริมสุขจะไม่มีการลงทุนทำอะไรแบบหวือหวา ผมจะใช้เงินทุกบาทสร้างธุรกิจหลัก พยายามไม่สร้างหนี้ พยายามดำเนินธุรกิจให้มีแต่เงินสด แทนที่จะเอาเงินไปจ่ายดอกเบี้ย เราเอามาใช้สร้างยอดขายดีกว่า"
"สมชาย" เล่าให้ฟังว่า "...มีครั้งหนึ่งที่มีสงครามราคากับฝ่ายไทยน้ำทิพย์ ต่างคนต่างไม่ขึ้นราคา ต่างคนต่างจะยืนหยัดยังไงที่จะให้มีคนดื่ม ก็ไม่กล้าขึ้นราคา ก็ยิ่งหนักขึ้นไปอีก ตอนนั้นติดหนี้ ขาดทุน เป็นเวลาที่หนักที่สุดของคุณพ่อ แต่ท่านก็สู้ ไม่ถอยเลย"
วิกฤตครั้งนั้นทำให้ เขามองว่าเห็นว่า "ถ้าเราบินเดี่ยวจะเป็นยังไง ทำให้รู้ว่ายุคต่อไปเราบินเดี่ยวไม่ได้ ต้องขอให้เป๊ปซี่เขามาลงทุนด้วย เราไปคนเดียวนี่ลำบาก ดีก็ดีไป พอยุคไม่ดีปั๊บ เรารับไหวมั้ยคนเดียว"
"การแก้ปัญหาในขณะนั้นคือการขายเครื่องดื่มชนิดอื่นนอกจากเป๊ปซี่ ซึ่งได้ผลดีจนกลายมาเป็นนโยบายหลักของเสริมสุขใน ทุกวันนี้ เราไปคุยกับโอสถสภาที่ทำเครื่องดื่มชูกำลัง เพื่อเอามาเสริมไม่ให้ขาดทุน"
"ตอนนั้นเป๊ปซี่เองก็ไม่ค่อยแฮปปี้เท่าไหร่ เขากลัวเราหลุดโฟกัส แต่ก็ดีขึ้น เราก็ค่อย ๆ ทำตั้งแต่วันนั้นมา ก็มามีลิปตันไอซ์ที นมถั่วเหลืองโย ฯลฯ ล่าสุดคือคาราบาวแดง"
บทเรียนจากการเกิดวิกฤตสรรพสามิตในปี 2523 ไม่เพียงทำให้เสริมสุขปรับนโยบายเรื่องการขาย แต่ยังปรับตัวครั้งใหญ่จากบริษัทแบบครอบครัว มาเป็นการถือหุ้นร่วมกับบริษัทแม่
"เป๊ปซี่มาลงทุนกับเรา 2 ครั้ง เพราะเขาห่วงเราว่าเราจะเป็นอะไรไป เพราะเมืองไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ชนะน้ำดำคนอื่นเขา เขาก็ต้องระวังมากที่นี่ ต้องถนอมตลาดนี้ไว้ เขาก็ช่วย"
เมื่อสถานการณ์ทางการเงินเข้าที่เข้าทางแล้ว ในปี 2536 เสริมสุขก็เดินหน้าขยายกำลังการผลิตที่โรงงานปทุมธานี จนได้ชื่อว่าเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย
ประสบการณ์เมื่อในอดีตทำให้เสริมสุขก้าวย่างอย่างระมัดระวัง แม้กระทั่งวิกฤตลดค่าเงินบาทเมื่อกลางปี 2540 "เสริมสุข" เป็นหนึ่งในไม่กี่รายที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการลดค่าเงินบาท ไม่มีหนี้สินเลยไม่ว่าเป็นเงินบาท ดอลลาร์ หรือเยน
ผลของการบริหารงานจนบริษัทก้าวหน้าไปด้วยดี ทำให้ "เสริมสุข" ภายใต้การบริหารงานของ "สมชาย" ได้รับรางวัล (Bottler of the Year-Best of the Best)
"เสริมสุขได้รับรางวัล BOY จากเขา 2 ครั้งแล้ว รางวัลนี้ได้ ครั้งหนึ่งก็ลำบากแล้ว นี่เราเป็นคนแรกที่ได้สองครั้ง เราก็ภูมิใจ ที่เขา recognize เรา"
นอกจาก "สมชาย" ยังเป็นหัวแรงสำคัญในการนำระบบ total system management เข้ามาปรับระบบการบริหารของบริษัทให้เชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียว และส่งผลให้เสริมสุขสามารถลอยตัวจากวิกฤตในเวลาต่อมาได้
เช่นเดียวกับระบบ ทียู (territory university) ระบบการขาย รูปแบบใหม่ที่เป๊ปซี่ อินเตอร์ฯ คิดค้นขึ้นเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของทีมงานขายทั่วโลกให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
แม้ว่าเป๊ปซี่ อินเตอร์ฯ พยายามผลักดันให้ทุกประเทศนำระบบนี้ไปใช้ แต่ส่วนใหญ่ทำไม่สำเร็จ ซึ่งไทยเป็นประเทศท้าย ๆ ที่ลงมือทำ โดยเสริมสุขค่อย ๆ ปรับระบบการทำงานของฝ่ายขายในแต่ละสาขาเข้าสู่ระบบทียู เมื่อปี 2542 ด้วยการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่พนักงานขาย เมื่อเห็นว่าพนักงานขายทุกคนมีความเข้าใจในระบบทียูอย่างลึกซึ้ง เสริมสุขจึงได้เริ่มประกาศใช้ระบบทียูอย่างเป็นทางการในทุกสาขา
และ "เสริมสุข" ก็ทำสำเร็จ ทำให้ยอดขายและส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น ทั้งยังทำให้ภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของบริษัทดีขึ้น และได้รับรางวัล "ทียูดีเด่น" จากเป๊ปซี่ อินเตอร์ฯ ขณะที่ "สมชาย" ที่เป็นคีย์แมนผู้อยู่เบื้องหลัง ความสำเร็จ ก็ได้รับเชิญไปบรรยายให้ที่ประชุมจากทั่วโลก
หลายคนอาจจะถามว่า ...เสริมสุขประสบความสำเร็จได้อย่างไร
สมชายย้ำว่า "...เราบอกว่าเราเป็นพาร์ตเนอร์ชิป เราให้เครดิตตั้งแต่ซัพพลายเออร์ที่ช่วยเรามาตลอด ลูกค้าเรา พวกพาร์ตเนอร์ต่าง ๆ ที่อยู่กับเรามาตลอด แน่นอนเป๊ปซี่ อินเตอร์ฯ ก็เป็นพาร์ตเนอร์กับเรา และสำคัญที่สุดคือพนักงานของเสริมสุข"
"ทั้งหมดนี้เป็น 4 ขาที่ทำให้เสริมสุขมาตลอด ถ้าไม่มีทั้ง 4 ฝ่ายนี้ ถ้าขาดฝ่ายไหนไปสักอย่าง เช่น ถ้าซัพพลายเออร์ไม่มีขวดให้ ก็เหมือนหนังสือพิมพ์ไม่มีกระดาษ เราผลิตให้ดี เราส่งไปให้ลูกค้า ถ้าลูกค้าไม่ซินเซียร์กับเรา หรือเราไม่พัฒนาผลิตภัณฑ์เรา หรือ ไม่เอาใจลูกค้า เขาก็ไม่อยู่กับเรา ทุกฝ่ายมีความสำคัญกับเรา และเราก็ให้ความสำคัญกับเขาทุก ๆ คน"
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ "สมชาย" ชายในวัย 67 ปี ยึดมั่นมาตลอด คือการทำงานหนัก การตั้งใจทำงาน ความสำเร็จก็จะเกิดตามมา
"ทำอะไรต้องมีทั้งเก่งและเฮง ถ้าเรายิ่งตั้งใจทำงาน ทำงานให้หนัก ทำการบ้านให้ดีนะ โชคก็มีมากขึ้น ลูกฟลุกก็มีมากขึ้น ไม่ใช่นั่งเฉย ๆ แล้วโชคมันจะมา ถ้าเราตั้งใจทำกันจริง ๆ ทุ่มเท กันจริง ๆ โอกาสมีโชคนั้นก็จะมีมากขึ้น"
นี่คือบริบทความสำเร็จของ "เสริมสุข" และบริบทความสำเร็จของ "สมชาย บุลสุข" ตำนานเป๊ปซี่เมืองไทย
กว่า 50 ปีของ "เสริมสุข" อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของตระกูล "บุลสุข" มาอย่างยาวนาน มันกำลังจะกลายเป็นตำนานไปหรืออย่างไร
"สมชาย บุลสุข" ทายาทของ "ทรง บุลสุข" เป็นคีย์แมนคนสำคัญที่เป็นผู้สานต่อความสำเร็จและต่อยอดธุรกิจของ "เสริมสุข" ให้เติบใหญ่ ด้วยรายได้ปีละเฉียด ๆ 2 หมื่นล้าน ในวันนี้ และ เขายังเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างและพัฒนาธุรกิจของเสริมสุข ในช่วง 5 ทศวรรษที่ผ่านมาด้วย
"สมชาย" ถูกส่งไปเข้าโรงเรียนประจำที่อเมริกา พอจบไฮสกูล และกลับไปเรียนคอลเลจที่ Menlo School of Business แคลิฟอร์เนีย ตอนแรกเรียนวิศวะก่อน แต่เปลี่ยนใจไปเรียน administration เรียนบริหาร entrepreneur เรียนอยู่ 4 ปี
จบคอลเลจไปฝึกงานที่แบงก์กับทรัสต์ที่นิวยอร์ก เทรนอยู่ปีครึ่งก่อนจะกลับมาทำที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาเสือป่า ทำธนาคาร อยู่เกือบสองปี ก่อนตัดสินใจลาออกมาทำงานกับเสริมสุข
ย้อนกลับไป "ทรง บุลสุข" ใช้เวลาถึง 3 ทศวรรษ ในการสร้างเสริมสุข จนเป็นปึกแผ่นและมั่นคง เขาวางมือและถ่ายทอดมาถึงทายาททางธุรกิจ
"สมชาย บุลสุข" ในฐานะประธานกรรมการบริหาร บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) กล่าวในหนังสือ "เรื่องราวการต่อสู้ตลาด 5 ทศวรรษ" (Fifty Years of Challenge & Conquest) ในโอกาสการฉลองครบรอบ 50 ปี เสริมสุข
"เข้ามาไม่เท่าไหร่ก็ถูกส่งไปดูงานที่ฟิลิปปินส์ ตอนนั้นที่นั่น เขาใหญ่มาก ฝึกตั้งแต่โยนลังขึ้นรถ คือต้องรู้ทุกอย่างตั้งแต่รากหญ้ากันเลย เราได้ความรู้หลายอย่างมาจากฟิลิปปินส์"
"เมื่อกลับมาเป็นผู้จัดการโรงงานบางเขน (2510) ผมเข้ามา ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับการขายเลย แล้วค่อย ๆ เรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้น จากคนเก่า ๆ และจากที่เห็นคุณทรงท่านทำงาน"
"ทำให้ผมเรียนรู้ว่าต้องวางแผนอย่างรอบคอบ ต้องสร้าง พื้นฐานให้แข็งแรง และทำให้บริษัทเติบโตอย่างมีสุขภาพดี เสริมสุขจะไม่มีการลงทุนทำอะไรแบบหวือหวา ผมจะใช้เงินทุกบาทสร้างธุรกิจหลัก พยายามไม่สร้างหนี้ พยายามดำเนินธุรกิจให้มีแต่เงินสด แทนที่จะเอาเงินไปจ่ายดอกเบี้ย เราเอามาใช้สร้างยอดขายดีกว่า"
"สมชาย" เล่าให้ฟังว่า "...มีครั้งหนึ่งที่มีสงครามราคากับฝ่ายไทยน้ำทิพย์ ต่างคนต่างไม่ขึ้นราคา ต่างคนต่างจะยืนหยัดยังไงที่จะให้มีคนดื่ม ก็ไม่กล้าขึ้นราคา ก็ยิ่งหนักขึ้นไปอีก ตอนนั้นติดหนี้ ขาดทุน เป็นเวลาที่หนักที่สุดของคุณพ่อ แต่ท่านก็สู้ ไม่ถอยเลย"
วิกฤตครั้งนั้นทำให้ เขามองว่าเห็นว่า "ถ้าเราบินเดี่ยวจะเป็นยังไง ทำให้รู้ว่ายุคต่อไปเราบินเดี่ยวไม่ได้ ต้องขอให้เป๊ปซี่เขามาลงทุนด้วย เราไปคนเดียวนี่ลำบาก ดีก็ดีไป พอยุคไม่ดีปั๊บ เรารับไหวมั้ยคนเดียว"
"การแก้ปัญหาในขณะนั้นคือการขายเครื่องดื่มชนิดอื่นนอกจากเป๊ปซี่ ซึ่งได้ผลดีจนกลายมาเป็นนโยบายหลักของเสริมสุขใน ทุกวันนี้ เราไปคุยกับโอสถสภาที่ทำเครื่องดื่มชูกำลัง เพื่อเอามาเสริมไม่ให้ขาดทุน"
"ตอนนั้นเป๊ปซี่เองก็ไม่ค่อยแฮปปี้เท่าไหร่ เขากลัวเราหลุดโฟกัส แต่ก็ดีขึ้น เราก็ค่อย ๆ ทำตั้งแต่วันนั้นมา ก็มามีลิปตันไอซ์ที นมถั่วเหลืองโย ฯลฯ ล่าสุดคือคาราบาวแดง"
บทเรียนจากการเกิดวิกฤตสรรพสามิตในปี 2523 ไม่เพียงทำให้เสริมสุขปรับนโยบายเรื่องการขาย แต่ยังปรับตัวครั้งใหญ่จากบริษัทแบบครอบครัว มาเป็นการถือหุ้นร่วมกับบริษัทแม่
"เป๊ปซี่มาลงทุนกับเรา 2 ครั้ง เพราะเขาห่วงเราว่าเราจะเป็นอะไรไป เพราะเมืองไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ชนะน้ำดำคนอื่นเขา เขาก็ต้องระวังมากที่นี่ ต้องถนอมตลาดนี้ไว้ เขาก็ช่วย"
เมื่อสถานการณ์ทางการเงินเข้าที่เข้าทางแล้ว ในปี 2536 เสริมสุขก็เดินหน้าขยายกำลังการผลิตที่โรงงานปทุมธานี จนได้ชื่อว่าเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย
ประสบการณ์เมื่อในอดีตทำให้เสริมสุขก้าวย่างอย่างระมัดระวัง แม้กระทั่งวิกฤตลดค่าเงินบาทเมื่อกลางปี 2540 "เสริมสุข" เป็นหนึ่งในไม่กี่รายที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการลดค่าเงินบาท ไม่มีหนี้สินเลยไม่ว่าเป็นเงินบาท ดอลลาร์ หรือเยน
ผลของการบริหารงานจนบริษัทก้าวหน้าไปด้วยดี ทำให้ "เสริมสุข" ภายใต้การบริหารงานของ "สมชาย" ได้รับรางวัล (Bottler of the Year-Best of the Best)
"เสริมสุขได้รับรางวัล BOY จากเขา 2 ครั้งแล้ว รางวัลนี้ได้ ครั้งหนึ่งก็ลำบากแล้ว นี่เราเป็นคนแรกที่ได้สองครั้ง เราก็ภูมิใจ ที่เขา recognize เรา"
นอกจาก "สมชาย" ยังเป็นหัวแรงสำคัญในการนำระบบ total system management เข้ามาปรับระบบการบริหารของบริษัทให้เชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียว และส่งผลให้เสริมสุขสามารถลอยตัวจากวิกฤตในเวลาต่อมาได้
เช่นเดียวกับระบบ ทียู (territory university) ระบบการขาย รูปแบบใหม่ที่เป๊ปซี่ อินเตอร์ฯ คิดค้นขึ้นเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของทีมงานขายทั่วโลกให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
แม้ว่าเป๊ปซี่ อินเตอร์ฯ พยายามผลักดันให้ทุกประเทศนำระบบนี้ไปใช้ แต่ส่วนใหญ่ทำไม่สำเร็จ ซึ่งไทยเป็นประเทศท้าย ๆ ที่ลงมือทำ โดยเสริมสุขค่อย ๆ ปรับระบบการทำงานของฝ่ายขายในแต่ละสาขาเข้าสู่ระบบทียู เมื่อปี 2542 ด้วยการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่พนักงานขาย เมื่อเห็นว่าพนักงานขายทุกคนมีความเข้าใจในระบบทียูอย่างลึกซึ้ง เสริมสุขจึงได้เริ่มประกาศใช้ระบบทียูอย่างเป็นทางการในทุกสาขา
และ "เสริมสุข" ก็ทำสำเร็จ ทำให้ยอดขายและส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น ทั้งยังทำให้ภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของบริษัทดีขึ้น และได้รับรางวัล "ทียูดีเด่น" จากเป๊ปซี่ อินเตอร์ฯ ขณะที่ "สมชาย" ที่เป็นคีย์แมนผู้อยู่เบื้องหลัง ความสำเร็จ ก็ได้รับเชิญไปบรรยายให้ที่ประชุมจากทั่วโลก
หลายคนอาจจะถามว่า ...เสริมสุขประสบความสำเร็จได้อย่างไร
สมชายย้ำว่า "...เราบอกว่าเราเป็นพาร์ตเนอร์ชิป เราให้เครดิตตั้งแต่ซัพพลายเออร์ที่ช่วยเรามาตลอด ลูกค้าเรา พวกพาร์ตเนอร์ต่าง ๆ ที่อยู่กับเรามาตลอด แน่นอนเป๊ปซี่ อินเตอร์ฯ ก็เป็นพาร์ตเนอร์กับเรา และสำคัญที่สุดคือพนักงานของเสริมสุข"
"ทั้งหมดนี้เป็น 4 ขาที่ทำให้เสริมสุขมาตลอด ถ้าไม่มีทั้ง 4 ฝ่ายนี้ ถ้าขาดฝ่ายไหนไปสักอย่าง เช่น ถ้าซัพพลายเออร์ไม่มีขวดให้ ก็เหมือนหนังสือพิมพ์ไม่มีกระดาษ เราผลิตให้ดี เราส่งไปให้ลูกค้า ถ้าลูกค้าไม่ซินเซียร์กับเรา หรือเราไม่พัฒนาผลิตภัณฑ์เรา หรือ ไม่เอาใจลูกค้า เขาก็ไม่อยู่กับเรา ทุกฝ่ายมีความสำคัญกับเรา และเราก็ให้ความสำคัญกับเขาทุก ๆ คน"
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ "สมชาย" ชายในวัย 67 ปี ยึดมั่นมาตลอด คือการทำงานหนัก การตั้งใจทำงาน ความสำเร็จก็จะเกิดตามมา
"ทำอะไรต้องมีทั้งเก่งและเฮง ถ้าเรายิ่งตั้งใจทำงาน ทำงานให้หนัก ทำการบ้านให้ดีนะ โชคก็มีมากขึ้น ลูกฟลุกก็มีมากขึ้น ไม่ใช่นั่งเฉย ๆ แล้วโชคมันจะมา ถ้าเราตั้งใจทำกันจริง ๆ ทุ่มเท กันจริง ๆ โอกาสมีโชคนั้นก็จะมีมากขึ้น"
นี่คือบริบทความสำเร็จของ "เสริมสุข" และบริบทความสำเร็จของ "สมชาย บุลสุข" ตำนานเป๊ปซี่เมืองไทย
วันจันทร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2553
เทียบ "ระเบียบการเงินฉบับวุฒิสภาสหรัฐ" กับยุโรป
ดร.บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ boontham@econbizview.com กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553
หลังจากใช้เวลาพิจารณาและต่อรองกันเป็นเวลาหลายเดือน ในที่สุด นายคริสโตเฟอร์ ดอดด์ ประธานคณะกรรมการการธนาคารของวุฒิสภาสหรัฐ ก็ได้ประกาศร่างกฎหมายปฏิรูปสถาบันการเงินสหรัฐ ที่เตรียมจะให้วุฒิสภาโหวตรับรอง ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงกฎระเบียบในการป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติดังเช่นที่ผ่านมา โดยเนื้อหาหลักของร่างกฎหมายดังกล่าว ประกอบด้วย สี่ส่วน ได้แก่ หนึ่ง การทำให้การกำกับสถาบันการเงินมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สอง การป้องกันสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ทางการเงิน สาม การกำกับดูแลสถาบันการเงินที่มีความซับซ้อน และการลงทุนตราสารอนุพันธ์นอกตลาดรวมถึงเฮดจ์ฟันด์ และ สุดท้าย การปรับปรุงความสามารถของภาครัฐในการจัดการกับสถาบันการเงินที่ส่อเค้าว่าจะทำให้เกิดวิกฤติ โดยบทความนี้ จะขอชี้ให้เห็นถึงข้อแตกต่างของมาตรการดังกล่าวระหว่างร่างกฎหมายฉบับนี้กับแนวทางของยุโรป
สำหรับ มาตรการแรก แบ่งได้เป็นสองประเด็น คือ หนึ่ง สหรัฐจะเปลี่ยนโครงสร้างการดูแลสถาบันการเงิน จากที่เคยให้ธนาคารทุกแห่งอยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารกลาง มาเป็นให้ธนาคารกลางดูแลเฉพาะสถาบันการเงินที่มีขนาดเกินกว่า 50 ล้านดอลลาร์ ส่วนที่เหลือให้อยู่ภายใต้การดูแลของสถาบันประกันเงินฝาก Federal Deposit Insurance Corporation และ สอง หากสถาบันการเงินใด หากพิจารณาแล้วน่าจะก่อให้เกิดความเสี่ยงเชิงระบบต่อเศรษฐกิจโดยรวม ก็ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนที่ตั้งขึ้น เพื่อจะเข้าช่วยเหลือเมื่อสถาบันการเงินเหล่านี้มีปัญหาขึ้นมา แทนที่จะใช้เงินภาษีของประชาชน
มาตรการนี้ แม้ดูเหมือนว่าจะเป็นการลดบทบาทของธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เดิมทีร่างกฎหมายนี้จะมอบหมายให้เฟดดูแลธนาคาร ที่มีขนาดเกินกว่า 100 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมีอยู่ไม่ถึง 25 รายเท่านั้น ทว่าสัปดาห์ก่อนการประกาศร่างกฎหมายฉบับนี้ คณะกรรมการชุดนี้ของวุฒิสภาสหรัฐได้เปลี่ยนใจให้เฟดดูแลธนาคารขนาดเกินกว่า 50 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมีอยู่ถึงกว่า 40 ราย และทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของหน่วยงานกำกับสถาบันการเงิน (Consolidated Supervisor)
ใน ประเด็นแรก แนวโน้มของโลกการเงินในช่วงนี้ ดูเหมือนความพยายามที่จะรวมเอางานทางด้านการดูแลเสถียรภาพของสถาบันการเงิน มารวมศูนย์ไว้เป็นส่วนหนึ่งของธนาคารกลาง มีให้เห็นกันอยู่หลายประเทศ อาทิเช่น ประเทศอังกฤษ โดยหากการเลือกตั้งใหญ่ช่วงกลางปีนี้ พรรคฝ่ายค้านชนะการเลือกตั้งเหนือพรรคแรงงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ก็มีแนวโน้มว่าหน่วยงาน Financial Services Authority ของอังกฤษ ที่มีบทบาทกำกับสถาบันการเงินก็จะถูกยุบ แล้วโอนงานส่วนนี้ไปให้แก่ธนาคารกลางของอังกฤษดูแล
ส่วนใน ประเด็นที่สอง เมื่อเปรียบเทียบกับอังกฤษ สหรัฐจะเน้นให้เฉพาะสถาบันการเงินขนาดใหญ่มีส่วนรับผิดชอบในความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ผ่านทางการจ่ายค่าธรรมเนียมเข้ากองทุนที่ตั้งไว้ เพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงินเหล่านี้ในยามวิกฤติ ในขณะที่ของอังกฤษจะกระทำผ่านการจำกัดแรงจูงใจผู้บริหารสถาบันการเงิน โดยเมื่อปีที่แล้ว ได้หักภาษีโบนัสของผู้บริหารสถาบันการเงินร้อยละ 50 รวมถึงมีแผนจะเก็บภาษีจากธนาคารในอังกฤษ และผลักดันให้ทั้งโลกทำแบบเดียวกันในอนาคต
สำหรับทางด้าน Bank for International Settlements ที่ออกระเบียบเป็นแนวทางให้กับสถาบันการเงินทั่วโลก มีแนวทางจัดการกับปัญหา Too Big to Fail ดังกล่าวใน 2 รูปแบบ โดย รูปแบบแรก จะแทรกกฎระเบียบที่ทำให้สถาบันการเงินไม่อยากมีขนาดใหญ่จนเกินไป อาทิเช่น หากปล่อยสินเชื่อเยอะในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นก็ต้องดำรงเงินกองทุนสูง หรือหากก่อหนี้ขึ้นมากเมื่อเทียบกับเงินทุนของตนเอง ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำรงเงินกองทุนที่สูงขึ้น ส่วน รูปแบบที่สอง ก็คือ การให้สถาบันการเงินประเมินตนเองว่ามีความเสี่ยงในลักษณะดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งหลักเกณฑ์ในการประเมินจะรวมความเสี่ยงนี้เข้าไปด้วย เรียกกันว่า Principle-Based ที่มิได้เป็นกฎตายตัว (Rule-Based) หากแต่เป็นความตกลงร่วมกันของสถาบันการเงินและผู้ดูแล
มาตรการที่สอง ว่าด้วยการป้องกันสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภค ได้แก่ การตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ป้องกันสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคทางการเงิน (Consumer Financial Protection Bureau) เป็นหน่วยงานอิสระใหม่ที่ขึ้นตรงต่อประธานาธิบดี ซึ่งถือเป็นจุดที่สำคัญที่สุดของกฎหมายฉบับนี้ จากการที่นักลงทุนรายย่อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ซื้อตราสาร ที่เกี่ยวข้องกับซับไพร์มและผู้ซื้อบ้านของสหรัฐได้รับข้อมูลเพียงด้านเดียว จากสถาบันการเงินต่างๆ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนสหรัฐในช่วงที่ผ่านมา โดยหน่วยงานนี้จะทำหน้าที่ออกกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้บริโภคในเรื่องธุรกรรมทางการเงินมากขึ้น และดูแลมิให้ความเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นกับประชาชนอีก อย่างไรก็ตาม มาตรการนี้คงต้องใช้เวลาต่อรองระหว่างสถาบันการเงินต่างๆ กับภาครัฐอีกนาน เนื่องจากมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอยู่อย่างมหาศาล สำหรับยุโรป เรื่องนี้ไม่ได้เป็นปัญหาสำคัญเหมือนกับในอเมริกา
มาตรการที่สาม การจัดตั้งคณะกรรมการการดูแลเสถียรภาพทางการเงิน (Financial Stability Oversight Council) ทำหน้าที่ช่วยเตือนว่ามีความเสี่ยงใหม่ๆ ในรูปแบบใดที่น่าจะส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ รวมถึงควบคุมดูแลสถาบันการเงินที่มีความซับซ้อน อาทิเช่น บริษัท Private Equity หรือเฮดจ์ฟันด์ขนาดใหญ่ หากพบว่ามีพฤติกรรมที่ล่อแหลมต่อระบบเศรษฐกิจ ก็สามารถสั่งให้ธนาคารกลางคอยควบคุมดูแล และสามารถสั่งการให้หน่วยงานที่ออกระเบียบดูแลบริษัทเหล่านี้ออกกฎหมายที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ รวมถึงทำให้ธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินและเฮดจ์ฟันด์มีความโปร่งใสมากขึ้น และให้เข้ามาอยู่ในระบบตลาดซื้อขายของส่วนกลาง (Centralized Exchange) ให้มากที่สุด โดยบังคับให้เฮดจ์ฟันด์ที่มีขนาดใหญ่กว่า 100 ล้านดอลลาร์ ต้องขึ้นทะเบียนกับทางการ แต่ที่เหนือความคาดหมายที่สุด ก็คือ การรวมเอา "Volker Rule" หรือการแยกธุรกรรมการค้าของธนาคารเอง (Proprietary Trading) ออกจากธุรกิจธนาคาร (Bank Holding Companies) ไว้เป็นส่วนหนึ่งของร่างกฎหมายฉบับนี้
ในประเด็นนี้ ยุโรปถือว่ามีความก้าวหน้ากว่าสหรัฐ เนื่องจากได้มีการออกกฎเกณฑ์ต่างๆ ภายใต้กรอบของ Ucits III ซึ่งถือเป็นบรรทัดฐานให้กับการลงทุนเหล่านี้มาหลายปีแล้ว ทว่าการควบคุมของสหรัฐยังผ่านหน่วยงานที่ออกกฎเกณฑ์ที่มิได้เป็นระบบอย่างของยุโรปมากนัก ด้วยเหตุนี้ ตลอด 2-3 เดือนที่ผ่านมา สหภาพยุโรปพยายามจะออกระเบียบในลักษณะที่ว่าหากประเทศใดมิได้ควบคุมตราสารประเภทเฮดจ์ฟันด์ของตนให้มีความรัดกุมเท่าเทียมกับของสหภาพยุโรป การซื้อขายตราสารดังกล่าวผ่านประเทศต่างๆ ของยุโรป ก็ต้องขออนุญาตเป็นรายๆ ไป ซึ่งในเรื่องนี้อเมริกาก็อ้างว่าเป็นแนวทางที่เหมือนการกีดกันแบบไม่เป็นธรรม
มาตรการสุดท้าย การปรับปรุงความสามารถของภาครัฐ ในการจัดการกับสถาบันการเงินที่ส่อเค้าว่าจะทำให้เกิดวิกฤติ ในร่างกฎหมายฉบับนี้ หากเกิดเหตุการณ์วิกฤติการเงินขึ้นอีก จะมีขั้นตอนอำนาจทางกฎหมายในการจัดการกับวิกฤติที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบและเบ็ดเสร็จ ในขณะที่ทางยุโรปจะให้ความสำคัญกับกฎระเบียบใหม่ๆ ที่ให้สถาบันการเงินปฏิบัติ รวมถึงกลไกความช่วยเหลือ หากเกิดวิกฤติจะเป็นในลักษณะ Living will plan ของแต่ละธนาคารมากกว่า
โดยสรุป ทั้งอเมริกาและยุโรปต่างมีแนวทางการกำกับระบบและสถาบันการเงิน ซึ่งมีแนวโน้มจะรวมศูนย์หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับสถาบันการเงิน (Centralized Regulator) และใช้กฎเกณฑ์ซึ่งมีรูปแบบที่มองไปข้างหน้า (Forward-looking และ Proactive) ทว่าอเมริกาจะให้อำนาจกับหน่วยงานที่ตั้งขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ขณะที่ยุโรปจะใช้การทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันการเงินและผู้ดูแลภายใต้กรอบใหญ่ อาทิเช่น Basel II หรือ Ucits III เป็นหลัก
หลังจากใช้เวลาพิจารณาและต่อรองกันเป็นเวลาหลายเดือน ในที่สุด นายคริสโตเฟอร์ ดอดด์ ประธานคณะกรรมการการธนาคารของวุฒิสภาสหรัฐ ก็ได้ประกาศร่างกฎหมายปฏิรูปสถาบันการเงินสหรัฐ ที่เตรียมจะให้วุฒิสภาโหวตรับรอง ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงกฎระเบียบในการป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติดังเช่นที่ผ่านมา โดยเนื้อหาหลักของร่างกฎหมายดังกล่าว ประกอบด้วย สี่ส่วน ได้แก่ หนึ่ง การทำให้การกำกับสถาบันการเงินมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สอง การป้องกันสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ทางการเงิน สาม การกำกับดูแลสถาบันการเงินที่มีความซับซ้อน และการลงทุนตราสารอนุพันธ์นอกตลาดรวมถึงเฮดจ์ฟันด์ และ สุดท้าย การปรับปรุงความสามารถของภาครัฐในการจัดการกับสถาบันการเงินที่ส่อเค้าว่าจะทำให้เกิดวิกฤติ โดยบทความนี้ จะขอชี้ให้เห็นถึงข้อแตกต่างของมาตรการดังกล่าวระหว่างร่างกฎหมายฉบับนี้กับแนวทางของยุโรป
สำหรับ มาตรการแรก แบ่งได้เป็นสองประเด็น คือ หนึ่ง สหรัฐจะเปลี่ยนโครงสร้างการดูแลสถาบันการเงิน จากที่เคยให้ธนาคารทุกแห่งอยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารกลาง มาเป็นให้ธนาคารกลางดูแลเฉพาะสถาบันการเงินที่มีขนาดเกินกว่า 50 ล้านดอลลาร์ ส่วนที่เหลือให้อยู่ภายใต้การดูแลของสถาบันประกันเงินฝาก Federal Deposit Insurance Corporation และ สอง หากสถาบันการเงินใด หากพิจารณาแล้วน่าจะก่อให้เกิดความเสี่ยงเชิงระบบต่อเศรษฐกิจโดยรวม ก็ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนที่ตั้งขึ้น เพื่อจะเข้าช่วยเหลือเมื่อสถาบันการเงินเหล่านี้มีปัญหาขึ้นมา แทนที่จะใช้เงินภาษีของประชาชน
มาตรการนี้ แม้ดูเหมือนว่าจะเป็นการลดบทบาทของธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เดิมทีร่างกฎหมายนี้จะมอบหมายให้เฟดดูแลธนาคาร ที่มีขนาดเกินกว่า 100 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมีอยู่ไม่ถึง 25 รายเท่านั้น ทว่าสัปดาห์ก่อนการประกาศร่างกฎหมายฉบับนี้ คณะกรรมการชุดนี้ของวุฒิสภาสหรัฐได้เปลี่ยนใจให้เฟดดูแลธนาคารขนาดเกินกว่า 50 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมีอยู่ถึงกว่า 40 ราย และทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของหน่วยงานกำกับสถาบันการเงิน (Consolidated Supervisor)
ใน ประเด็นแรก แนวโน้มของโลกการเงินในช่วงนี้ ดูเหมือนความพยายามที่จะรวมเอางานทางด้านการดูแลเสถียรภาพของสถาบันการเงิน มารวมศูนย์ไว้เป็นส่วนหนึ่งของธนาคารกลาง มีให้เห็นกันอยู่หลายประเทศ อาทิเช่น ประเทศอังกฤษ โดยหากการเลือกตั้งใหญ่ช่วงกลางปีนี้ พรรคฝ่ายค้านชนะการเลือกตั้งเหนือพรรคแรงงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ก็มีแนวโน้มว่าหน่วยงาน Financial Services Authority ของอังกฤษ ที่มีบทบาทกำกับสถาบันการเงินก็จะถูกยุบ แล้วโอนงานส่วนนี้ไปให้แก่ธนาคารกลางของอังกฤษดูแล
ส่วนใน ประเด็นที่สอง เมื่อเปรียบเทียบกับอังกฤษ สหรัฐจะเน้นให้เฉพาะสถาบันการเงินขนาดใหญ่มีส่วนรับผิดชอบในความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ผ่านทางการจ่ายค่าธรรมเนียมเข้ากองทุนที่ตั้งไว้ เพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงินเหล่านี้ในยามวิกฤติ ในขณะที่ของอังกฤษจะกระทำผ่านการจำกัดแรงจูงใจผู้บริหารสถาบันการเงิน โดยเมื่อปีที่แล้ว ได้หักภาษีโบนัสของผู้บริหารสถาบันการเงินร้อยละ 50 รวมถึงมีแผนจะเก็บภาษีจากธนาคารในอังกฤษ และผลักดันให้ทั้งโลกทำแบบเดียวกันในอนาคต
สำหรับทางด้าน Bank for International Settlements ที่ออกระเบียบเป็นแนวทางให้กับสถาบันการเงินทั่วโลก มีแนวทางจัดการกับปัญหา Too Big to Fail ดังกล่าวใน 2 รูปแบบ โดย รูปแบบแรก จะแทรกกฎระเบียบที่ทำให้สถาบันการเงินไม่อยากมีขนาดใหญ่จนเกินไป อาทิเช่น หากปล่อยสินเชื่อเยอะในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นก็ต้องดำรงเงินกองทุนสูง หรือหากก่อหนี้ขึ้นมากเมื่อเทียบกับเงินทุนของตนเอง ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำรงเงินกองทุนที่สูงขึ้น ส่วน รูปแบบที่สอง ก็คือ การให้สถาบันการเงินประเมินตนเองว่ามีความเสี่ยงในลักษณะดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งหลักเกณฑ์ในการประเมินจะรวมความเสี่ยงนี้เข้าไปด้วย เรียกกันว่า Principle-Based ที่มิได้เป็นกฎตายตัว (Rule-Based) หากแต่เป็นความตกลงร่วมกันของสถาบันการเงินและผู้ดูแล
มาตรการที่สอง ว่าด้วยการป้องกันสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภค ได้แก่ การตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ป้องกันสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคทางการเงิน (Consumer Financial Protection Bureau) เป็นหน่วยงานอิสระใหม่ที่ขึ้นตรงต่อประธานาธิบดี ซึ่งถือเป็นจุดที่สำคัญที่สุดของกฎหมายฉบับนี้ จากการที่นักลงทุนรายย่อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ซื้อตราสาร ที่เกี่ยวข้องกับซับไพร์มและผู้ซื้อบ้านของสหรัฐได้รับข้อมูลเพียงด้านเดียว จากสถาบันการเงินต่างๆ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนสหรัฐในช่วงที่ผ่านมา โดยหน่วยงานนี้จะทำหน้าที่ออกกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้บริโภคในเรื่องธุรกรรมทางการเงินมากขึ้น และดูแลมิให้ความเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นกับประชาชนอีก อย่างไรก็ตาม มาตรการนี้คงต้องใช้เวลาต่อรองระหว่างสถาบันการเงินต่างๆ กับภาครัฐอีกนาน เนื่องจากมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอยู่อย่างมหาศาล สำหรับยุโรป เรื่องนี้ไม่ได้เป็นปัญหาสำคัญเหมือนกับในอเมริกา
มาตรการที่สาม การจัดตั้งคณะกรรมการการดูแลเสถียรภาพทางการเงิน (Financial Stability Oversight Council) ทำหน้าที่ช่วยเตือนว่ามีความเสี่ยงใหม่ๆ ในรูปแบบใดที่น่าจะส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ รวมถึงควบคุมดูแลสถาบันการเงินที่มีความซับซ้อน อาทิเช่น บริษัท Private Equity หรือเฮดจ์ฟันด์ขนาดใหญ่ หากพบว่ามีพฤติกรรมที่ล่อแหลมต่อระบบเศรษฐกิจ ก็สามารถสั่งให้ธนาคารกลางคอยควบคุมดูแล และสามารถสั่งการให้หน่วยงานที่ออกระเบียบดูแลบริษัทเหล่านี้ออกกฎหมายที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ รวมถึงทำให้ธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินและเฮดจ์ฟันด์มีความโปร่งใสมากขึ้น และให้เข้ามาอยู่ในระบบตลาดซื้อขายของส่วนกลาง (Centralized Exchange) ให้มากที่สุด โดยบังคับให้เฮดจ์ฟันด์ที่มีขนาดใหญ่กว่า 100 ล้านดอลลาร์ ต้องขึ้นทะเบียนกับทางการ แต่ที่เหนือความคาดหมายที่สุด ก็คือ การรวมเอา "Volker Rule" หรือการแยกธุรกรรมการค้าของธนาคารเอง (Proprietary Trading) ออกจากธุรกิจธนาคาร (Bank Holding Companies) ไว้เป็นส่วนหนึ่งของร่างกฎหมายฉบับนี้
ในประเด็นนี้ ยุโรปถือว่ามีความก้าวหน้ากว่าสหรัฐ เนื่องจากได้มีการออกกฎเกณฑ์ต่างๆ ภายใต้กรอบของ Ucits III ซึ่งถือเป็นบรรทัดฐานให้กับการลงทุนเหล่านี้มาหลายปีแล้ว ทว่าการควบคุมของสหรัฐยังผ่านหน่วยงานที่ออกกฎเกณฑ์ที่มิได้เป็นระบบอย่างของยุโรปมากนัก ด้วยเหตุนี้ ตลอด 2-3 เดือนที่ผ่านมา สหภาพยุโรปพยายามจะออกระเบียบในลักษณะที่ว่าหากประเทศใดมิได้ควบคุมตราสารประเภทเฮดจ์ฟันด์ของตนให้มีความรัดกุมเท่าเทียมกับของสหภาพยุโรป การซื้อขายตราสารดังกล่าวผ่านประเทศต่างๆ ของยุโรป ก็ต้องขออนุญาตเป็นรายๆ ไป ซึ่งในเรื่องนี้อเมริกาก็อ้างว่าเป็นแนวทางที่เหมือนการกีดกันแบบไม่เป็นธรรม
มาตรการสุดท้าย การปรับปรุงความสามารถของภาครัฐ ในการจัดการกับสถาบันการเงินที่ส่อเค้าว่าจะทำให้เกิดวิกฤติ ในร่างกฎหมายฉบับนี้ หากเกิดเหตุการณ์วิกฤติการเงินขึ้นอีก จะมีขั้นตอนอำนาจทางกฎหมายในการจัดการกับวิกฤติที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบและเบ็ดเสร็จ ในขณะที่ทางยุโรปจะให้ความสำคัญกับกฎระเบียบใหม่ๆ ที่ให้สถาบันการเงินปฏิบัติ รวมถึงกลไกความช่วยเหลือ หากเกิดวิกฤติจะเป็นในลักษณะ Living will plan ของแต่ละธนาคารมากกว่า
โดยสรุป ทั้งอเมริกาและยุโรปต่างมีแนวทางการกำกับระบบและสถาบันการเงิน ซึ่งมีแนวโน้มจะรวมศูนย์หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับสถาบันการเงิน (Centralized Regulator) และใช้กฎเกณฑ์ซึ่งมีรูปแบบที่มองไปข้างหน้า (Forward-looking และ Proactive) ทว่าอเมริกาจะให้อำนาจกับหน่วยงานที่ตั้งขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ขณะที่ยุโรปจะใช้การทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันการเงินและผู้ดูแลภายใต้กรอบใหญ่ อาทิเช่น Basel II หรือ Ucits III เป็นหลัก
PHATRA : แผนการปรับโครงสร้างกิจการ
แผนการปรับโครงสร้างกิจการ คณะกรรมการบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) ( หลักทรัพย์ ภัทร หรือ บริษัท ) ได้มีมติเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2553 ให้เสนอแผนการปรับโครงสร้างกิจการของหลักทรัพย์ ภัทร รวมถึงการประเมินผลกระทบต่างๆ ต่อผู้ถือหุ้นของหลักทรัพย์ ภัทร เพื่อเสนอต่อผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ ภายใต้แผนการปรับโครงสร้างดังกล่าว หลักทรัพย์ ภัทร จะดำเนินการให้มีการจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งซึ่งเป็นบริษัทมหาชนขึ้นเพื่อประกอบธุรกิจทางด้านลงทุนและถือหุ้นของหลักทรัพย์ ภัทร โดยบริษัทโฮลดิ้งจะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของหลักทรัพย์ ภัทร โดยแลกเปลี่ยนกับหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันของบริษัทโฮลดิ้งในอัตราการแลกหลักทรัพย์เท่ากับ 1 ต่อ 1 ซึ่งในที่นี้จะเท่ากับ 1 หุ้นสามัญของบริษัทต่อ 1 หุ้นสามัญของบริษัทโฮลดิ้ง ภายหลังการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์เป็นผลสำเร็จ บริษัทโฮลดิ้งจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท (มากกว่าร้อยละ 75) และหุ้นสามัญของบริษัทโฮลดิ้งจะเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ( ตลาดหลักทรัพย์ฯ ) แทนหุ้นสามัญของหลักทรัพย์ ภัทร ซึ่งจะถูกเพิกถอนออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ ภายหลังจากเสร็จสิ้นการทำคำเสนอซื้อ หลักทรัพย์ ภัทร จะโอนขายหลักทรัพย์ภายใต้การลงทุนของสายงานลงทุนให้แก่บริษัทโฮลดิ้ง เพื่อให้บริษัทโฮลดิ้งเป็นผู้ประกอบธุรกิจด้านการลงทุนโดยตรง อนึ่งบริษัทโฮลดิ้งจะยกเลิกคำเสนอซื้อหากเมื่อสิ้นสุดช่วงระยะเวลารับซื้อแล้วปรากฏว่าสัดส่วนของหลักทรัพย์ที่ได้มาจากการทำคำเสนอซื้อต่ำกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนหลักทรัพย์ที่ออกแล้วทั้งหมด ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างการถือหุ้นจะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน และการนำหุ้นสามัญของบริษัทโฮลดิ้งเข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แทนหุ้นสามัญของหลักทรัพย์ ภัทร ซึ่งจะต้องเพิกถอนออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามแผนการปรับโครงสร้างกิจการ จะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมดของหลักทรัพย์ ภัทร และต้องไม่มีผู้ถือหุ้นคัดค้านการเพิกถอนหุ้นเกินร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมดของหลักทรัพย์ ภัทร บริษัทได้หารือกับหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องในเบื้องต้น ทั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( สำนักงาน ก.ล.ต. ) และตลาดหลักทรัพย์ฯ และบริษัทกำลังอยู่ในระหว่างการขอความเห็นชอบในเบื้องต้นเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างการถือหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์ฯ และขอรับการผ่อนผันบางประการจากคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ (Takeover Panel) โดยหากหน่วยงานกำกับดูแลต่างๆ ให้ความเห็นชอบต่อแผนการปรับโครงสร้างโดยกำหนดเงื่อนไขที่สำคัญต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน หรือมีเงื่อนไขใดที่ต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพิ่มเติม คณะกรรมการบริษัทจะนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นอีกครั้งเพื่อให้หลักทรัพย์ ภัทรสามารถดำเนินการให้สอดคล้องตามเงื่อนไขดังกล่าวได้(แผนภาพการปรับโครงสร้างกิจการ)หลักการและเหตุผลในการปรับโครงสร้างการถือหุ้นหลักการและเหตุผลในการปรับโครงสร้างการถือหุ้นสามารถแบ่งออกได้ดังนี้1. เพื่อป้องกันและจำกัดขอบเขตของความเสี่ยงที่แตกต่างกันระหว่างธุรกิจการเป็นตัวแทน (Agency Business) กับธุรกิจลงทุนด้วยเงินทุนของบริษัท (Principal Business) ธุรกิจการเป็นตัวแทน (Agency Business) เป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนเพื่อการให้บริการ ลูกค้าของบริษัท ซึ่งมีหน่วยงานกำกับดูแลเป็นผู้กำหนดมาตรฐานเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่า บริษัทจะสามารถทำหน้าที่การเป็นตัวกลางได้อย่างเหมาะสม ความเสี่ยงทางการเงินใน การทำธุรกิจการเป็นตัวแทนมีค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจที่ลงทุนด้วยเงินลงทุนของ บริษัทเอง หากบริษัทมีระบบการบริหารความเสี่ยงและการประเมินคุณภาพของลูกค้าอย่าง รัดกุม โดยทรัพยากรหลักในการทำธุรกิจอยู่ที่บุคลากรที่ต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านตลอด จนการบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ในขณะที่ธุรกิจลงทุน (Principal Business) เป็นการใช้เงินทุนของหลักทรัพย์ ภัทร เองเพื่อลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งอาจมีความผันผวน เรื่องราคาและผลตอบแทน อันอาจเป็นผลมาจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกของกิจการที่ หลักทรัพย์ ภัทรเข้าไปลงทุน จึงเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงกว่าธุรกิจการเป็นตัวแทนมาก ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาธุรกิจลงทุนของบริษัทยังมีขนาดการลงทุนที่จำกัด แต่จนถึงปัจจุบันธุรกิจลงทุน ได้ขยายตัวจนสร้างรายได้เป็นสัดส่วนที่มีสาระสำคัญต่อผลประกอบการโดยรวมของบริษัท อีกทั้งสภาวะตลาดเงินและตลาดทุนมีความผันผวนค่อนข้างสูง ดังจะเห็นได้จากผลกระกอบ การของสายงานลงทุนของบริษัทซึ่งมีผลประกอบการขาดทุนจำนวนมากในปี 2551 แต่พลิก กลับมามีกำไรจำนวนมากในปี 2552 นอกจากนี้ ธุรกิจลงทุน หรือการขยายงานในอนาคตของหลักทรัพย์ ภัทร อาจจะทำในลักษณะ ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น การเข้าไปครอบงำกิจการ (Acquisition) หรือการกู้ยืมเพื่อการครอบงำกิจการ (Leverage Buy-out) ซึ่งภายใต้โครงสร้างกิจการ แบบบริษัทโฮลดิ้ง จะทำให้บริษัทสามารถจำกัดความเสี่ยงในการทำรายการให้อยู่ในระดับที่ เหมาะสม และไม่กระทบต่อธุรกิจการเป็นตัวแทน ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัท การแยกธุรกิจลงทุนและธุรกิจการเป็นตัวแทนออกจากกัน โดยจัดตั้งในรูปบริษัทจำกัด เป็นการ แบ่งแยกความเสี่ยงทางการเงินของสองธุรกิจออกจากกัน นอกจากนี้ การแบ่งแยกการรายงาน ฐานะการเงินที่แยกจากกันโดยชัดเจนจะส่งผลให้ผู้ถือหุ้นของทั้งสองบริษัทและบุคคลภายนอก สามารถวิเคราะห์ ติดตาม วัดผลฐานะทางการเงินของกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ สายงานค้าหลักทรัพย์และสัญญาซื้ อขายล่วงหน้าจะยังคงอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของ หลักทรัพย์ ภัทร ภายหลังการปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งนี้ เนื่องจาก ความเสี่ยงในการประกอบ ธุรกิจของสายงานค้าหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจ ลงทุน โดยเป็นผลจากการใช้กลยุทธ์การซื้อขายที่แสวงหากำไรจากส่วนต่างของราคา (Arbitrage) รวมทั้งมีลักษณะของธุรกรรมบางประการที่ต้องพึ่งพิงใบอนุญาตการประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ อย่างไรก็ตาม โครงสร้างนี้อาจมีการปรับเปลี่ยนในอนาคตตามความเหมาะสม2. เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการขยายธุรกิจ และสร้างความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจใหม่ ตลอดจน เปิดโอกาสในการหาผู้ร่วมทุนที่มีความชำนาญเฉพาะในธุรกิจ การปรับโครงสร้างกิจการในลักษณะของบริษัทโฮลดิ้ง จะทำให้มีความคล่องตัวเพิ่มขึ้นในการดำเนิน ธุรกิจบางประการที่มิใช่ธุรกิจหลักทรัพย์ที่ต้องถูกกำกับดูแลโดยหน่วยงานกำกับดูแลตามกฎหมาย เช่น ธุรกิจการลงทุนของสายงานลงทุน เป็นต้น นอกจากนี้ การปรับโครงสร้างในลักษณะบริษัทโฮลดิ้งยัง เพิ่มความยืดหยุ่นในการสร้างโอกาสในการดำเนินธุรกิจใหม่ๆ อีกด้วย เช่น เป็นการเปิดโอกาสใน การหาผู้ร่วมทุนหรือพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งมีความชำนาญเฉพาะในธุรกิจนั้นๆ หรือหากผู้ร่วมทุนหรือ พันธมิตรทางธุรกิจมีความสนใจลงทุนหรือเป็นพันธมิตรแต่เพียงธุรกิจนั้นๆ ก็สามารถทำได้โดยไม่ต้อง ลงทุนหรือร่วมเป็นพันธมิตรในธุรกิจอื่นๆ ของบริษัทโฮลดิ้ง ดังเช่นแสดงในแผนภาพด้านล่าง โดยการ เพิ่มโอกาสในการดำเนินธุรกิจใหม่ๆ นั้นจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มผลตอบแทน แก่ผู้ถือหุ้น (แผนภาพ)3. เพื่อป้องกันการขัดแย้งของผลประ1ff8โยชน์ระหว่างธุรกิจการเป็นตัวแทนและธุรกิจลงทุนของหลักทรัพย์ ภัทร ภายใต้โครงสร้างปัจจุบันที่ธุรกิจการเป็นตัวแทนและธุรกิจลงทุนอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของ หลักทรัพย์ ภัทร ร่วมกัน อาจทําให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนกันระหว่างลูกค้าของธุรกิจการเป็นตัว แทนและธุรกิจลงทุนด้วยเงินของหลักทรัพย์ ภัทร เอง แม้ว่าหลักทรัพย์ ภัทร จะมีขั้นตอนการทำงาน และการกำกับดูแลที่เน้นความโปร่งใสและไม่ให้มีความขัดแย้งของผลประโยชน์ระหว่างสองธุรกิจ ดังกล่าว แต่ด้วยโครงสร้างในปัจจุบันทำให้ธุรกิจลงทุนมีข้อจำกัดในการลงทุนในบางหลักทรัพย์รวม ถึงเวลาในการซื้อขายหลักทรัพย์ การปรับโครงสร้างในลักษณะบริษัทโฮลดิ้งรวมทั้งการปรับย้าย บุคลากรที่อาจมีความคาบเกี่ยวระหว่างหน่วยงานการให้บริการเป็นตัวกลางและหน่วยงานการลงทุน จะช่วยเสริมให้การป้องกันการขัดแย้งของผลประโยชน์ระหว่างธุรกิจการเป็นตัวแทนและธุรกิจลงทุน ของหลักทรัพย์ ภัทร มีความชัดเจนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดข้อจำกัดในการลงทุนของสายงานลงทุน และยังช่วยให้ธุรกิจลงทุนสามารถขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจได้อีกด้วย เช่น การรับบริการ บริหารเงินทุนจากลูกค้าเพื่อร่วมลงทุนกับเงินทุนของหลักทรัพย์ภัทร โดยคิดค่าธรรมเนียมในการบริหาร เงินลงทุน เป็นต้นการกำกับดูแลกิจการและการบริหารงาน ภายหลังการปรับโครงสร้างกิจการ โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการและการบริหารงานของบริษัทโฮลดิ้งจะยังคงมีลักษณะเช่นเดียวกับการบริหารงานของหลักทรัพย์ ภัทร เดิม โดยเปลี่ยนแปลงแต่เพียงให้คณะกรรมการหลักในการกำกับดูแลกิจการ อันได้แก่ คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหา คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการพัฒนาการบริหารและกำหนดผลตอบแทน คณะกรรมการพิจารณาการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง มาบริหารงานอยู่ที่บริษัทโฮลดิ้ง โดยในการกำกับดูแลกิจการและการบริหารงาน คณะกรรมการบริษัทคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหา คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการพัฒนาการบริหารและกําหนดผลตอบแทน คณะกรรมการพิจารณาการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของบริษัทโฮลดิ้งซึ่งเป็นบริษัทใหญ่จะกํากับดูแลกิจการโดยรวมของบริษัทโฮลดิ้งซึ่งประกอบธุรกิจทางด้านลงทุนผ่านทางคณะกรรมการลงทุนและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกำกับดูแลธุรกิจหลักทรัพย์ซึ่งดำเนินการโดยหลักทรัพย์ ภัทร ผ่านคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของหลักทรัพย์ ภัทร โดยจะยังมุ่งเน้นการบริหารธุรกิจที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใสตามแนวปฏิบัติของการกำกับดูแลกิจการที่ดี คำนึงถึงกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ฯ และหน่วยงานกำกับดูแลอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ภายหลังการปรับโครงสร้างกิจการ กรรมการในคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ จะยังคงเป็นกรรมการชุดเดิมที่บริหารกิจการในหลักทรัพย์ ภัทร โดยจะบริหารงานทั้งบริษัทโฮลดิ้ง และหลักทรัพย์ ภัทร ในลักษณะควบคู่กันภายใต้นโยบายการบริหารงานดังที่ระบุข้างต้น(แผนภาพโครงสร้างการกำกับดูแลกิจการ)ขั้นตอนการปรับโครงสร้างกิจการ ขั้นตอนหลักในการปรับโครงสร้างกิจการสรุปได้ดังต่อไปนี้1. หลักทรัพย์ ภัทร จะดำเนินการให้มีการจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้ง ซึ่งมีสถานะเป็นบริษัทมหาชน ทุนจดทะเบียนเริ่มแรกมูลค่า 10,000 บาท ถือหุ้นเริ่มต้นโดยผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหารและพนักงาน2. บริษัทโฮลดิ้งจะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของหลักทรัพย์ ภัทร โดยการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ที่ออกใหม่ของบริษัทโฮลดิ้งเป็นการแลกเปลี่ยนกับหลักทรัพย์ของหลักทรัพย์ ภัทร และบริษัทโฮลดิ้ง จะเป็นผู้ดำเนินธุรกิจลงทุนแทนหลักทรัพย์ ภัทร ตามรายละเอียดดังนี้ 2.1 บริษัทโฮลดิ้งจะทําการเพิ่มทุนจดทะเบียนในลักษณะโครงสร้างเดียวกับทุนจดทะเบียน ปัจจุบันของหลักทรัพย์ภัทร และทําการเสนอซื้อหลักทรัพย์จากผู้ถือหุ้นของหลักทรัพย์ ภัทร ทุกราย โดยการแลกเปลี่ยนกับหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันที่ออกใหม่ของบริษัทโฮลดิ้ง โดยผ่านการขอออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ทั้งนี้ รายละเอียดเงื่อนการทำ คำเสนอซื้อเป็นดังนี้ ประเภทและลักษณะหลักทรัพย์ที่ทำการเสนอซื้อ หุ้นสามัญ อัตราส่วนและราคาการแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ อัตราส่วนการแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์เท่ากับ 1 หุ้นสามัญของหลักทรัพย์ ภัทร ต่อ 1 หุ้น สามัญที่ออกใหม่ของบริษัทโฮลดิ้ง โดยราคาแลกเปลี่ยนของหุ้นเพื่อการคำนวณภาษีและ การลงบัญชีจะคำนวณจากราคาตลาดของหุ้นของหลักทรัพย์ ภัทร ณ วันที่มีการโอนหลักทรัพย์ ช่วงระยะเวลารับซื้อ ไม่น้อยกว่า 25 วันทำการ ซึ่งเมื่อประกาศแล้วจะเป็นระยะเวลารับซื้อสุดท้าย และจะไม่ ขยายอีก เงื่อนไขในการยกเลิกการทำคำเสนอซื้อ บริษัทโฮลดิ้ง (ผู้ทำคำเสนอซื้อ) จะยกเลิกคำเสนอซื้อหากเมื่อสิ้นสุดช่วงระยะเวลารับซื้อ แล้วปรากฏว่าสัดส่วนของหลักทรัพย์ที่ได้มาจากการทำคำเสนอซื้อต่ำกว่าร้อยละ 75 ของ จำนวนหลักทรัพย์ที่ออกแล้วทั้งหมด บริษัทโฮลดิ้ง (ผู้ทำคำเสนอซื้อ) สงวนสิทธิ์ที่จะยกเลิกคำเสนอซื้อหากมีเหตุการณ์หรือการ กระทำใดๆ อันเกิดขึ้นภายหลังจากยื่นคำเสนอซื้อต่อสำนักงาน ก.ล.ต. และยังไม่พ้นระยะ เวลารับซื้อ อันเป็นเหตุหรืออาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อฐานะหรือ ทรัพย์สินของกิจการที่ถูกเสนอซื้อ อันส่งผลกระทบให้การปรับโครงสร้างกิจการไม่อาจบรรลุ วัตถุประสงค์ โดยเหตุการณ์หรือการกระทำดังกล่าวมิได้เกิดจากการกระทำของบริษัทโฮลดิ้ง หรือการกระทำที่บริษัทโฮลดิ้งต้องรับผิดชอบ ช่วงเวลาที่ผู้แสดงเจตนาขายหลักทรัพย์สามารถยกเลิกการแสดงเจตนาขาย ผู้แสดงเจตนาขายสามารถยกเลิกการแสดงเจตนาขายได้ภายใน 20 วันทำการแรกของช่วง ระยะเวลารับซื้อ รายละเอียดของเงื่อนไขในการทำคำเสนอซื้อปรากฏตามเอกสารแนบ 3 2.2 เมื่อการเสนอซื้อหลักทรัพย์สำเร็จตามเงื่อนไข บริษัทโฮลดิ้งจะเข้าซื้อหลักทรัพย์ภายใต้การ ลงทุนของสายงานลงทุนจากหลักทรัพย์ ภัทร ในราคาเท่ากับราคาตลาด ณ วันที่เข้าทำการซื้อ ขายสำหรับหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และราคาเท่ากับมูลค่าทางบัญชีของเงิน ลงทุนที่ปรากฏอยู่ในงบการเงินล่าสุดของหลักทรัพย์ ภัทร สำหรับหลักทรัพย์ที่มิได้มีการจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ฯ นอกจากนี้ บริษัทโฮลดิ้งยังจะรับโอนบุคลากรที่ทำหน้าที่ในการดำเนินธุรกิจ ลงทุนไปเป็นหน่วยงานของบริษัทโฮลดิ้งด้วย3. บริษัทโฮลดิ้งจะดำเนินการยื่นขอนําหุ้นสามัญของบริษัทโฮลดิ้งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ใน ขณะที่หลักทรัพย์ ภัทร จะยื่นขอเพิกถอนหุ้นสามัญของหลักทรัพย์ ภัทร ออกจากการเป็นหลักทรัพย์จด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ การดําเนินการปรับโครงสร้างกิจการตามแบบข้างต้นจะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างการถือหุ้นจะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน และการนำหุ้นสามัญของบริษัทโฮลดิ้งเข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แทนหุ้นสามัญของหลักทรัพย์ ภัทร ซึ่งจะต้องเพิกถอนออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามแผนการปรับโครงสร้างกิจการ จะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมดของหลักทรัพย์ ภัทร และต้องไม่มีผู้ถือหุ้นคัดค้านการเพิกถอนหุ้นเกินร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมดของหลักทรัพย์ ภัทร ณ วันที่ 3 มีนาคม 53 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดตั้งขึ้นเพื่อการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ถือหุ้นในหลักทรัพย์ ภัทร อยู่ประมาณร้อยละ 9.59 ของหุ้นทั้งหมด แต่ไม่สามารถออกเสียงลงคะแนนได้ เว้นแต่ในวาระเรื่องการเพิกถอนหุ้นออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ หลักทรัพย์ ภัทร คาดว่ากระบวนการในการปรับโครงสร้างกิจการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายในธันวาคม 2553 ต่อเนื่องถึงมกราคม 2554 โดยในเบื้องต้นบริษัทมีความประสงค์ที่จะรักษาสถานะการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จนถึงต้นปี 2554 เพื่อใช้สิทธิประโยชน์การเสียภาษีที่อัตราร้อยละ 25 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่บริษัทจะได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว หากยังคงสถานะการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยสามารถดูรายละเอียดขั้นตอนการปรับโครงสร้างกิจการได้ตามเอกสารแนบ 4ผลกระทบต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของหลักทรัพย์ ภัทร และบริษัทโฮลดิ้งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของหลักทรัพย์ ภัทร เนื่องจากหลักทรัพย์ ภัทร จะทำการโอนขายหลักทรัพย์ภายใต้การลงทุนของสายงานลงทุนให้แก่บริษัทโฮลดิ้ง เพื่อให้บริษัทโฮลดิ้งเป็นผู้ประกอบธุรกิจด้านการลงทุนโดยตรง โดยจะโอนขายที่ราคาตลาดของหลักทรัพย์ ณ วันที่มีการโอนขายหลักทรัพย์สำหรับหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และราคาเท่ากับมูลค่าตามบัญชีล่าสุดสำหรับหลักทรัพย์ที่มิได้มีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนั้น ผลกระทบต่อฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของหลักทรัพย์ ภัทร จะเปลี่ยนแปลงไปดังต่อไปนี้ - เงินลงทุนในงบดุลของหลักทรัพย์ ภัทร จะปรับลดลงเท่ากับการเพิ่มขึ้นของเงินสดหรือบัญชี ลูกหนี้ค่าซื้อขายหลักทรัพย์ และภายหลังจากการปรับโครงสร้างกิจการ 6 เดือน บัญชีลูกหนี้ ค่าซื้อขายหลักทรัพย์จะเปลี่ยนเป็นบัญชีเงินให้กู้ยืมแก่บริ1ff8ษัทแม่ - หลักทรัพย์ ภัทร จะต้องชำระภาษีจากกำไรที่เกิดจากการโอนขายหลักทรัพย์ภายใต้สายงาน ลงทุนให้แก่บริษัทโฮลดิ้ง โดยหากการโอนเกิดขึ้นในปี 2553 อัตราภาษีที่หลักทรัพย์ ภัทร จะ ต้องชำระจะคำนวณโดยคิดอัตราร้อยละ 25 - ส่วนแบ่งกำไร (ขาดทุน) จากการดำเนินงานของสายงานลงทุนจะไม่ถูกนำมารวมในผลการ ดำเนินงานของหลักทรัพย์ ภัทร ภายหลังการโอนขายหลักทรัพย์ให้แก่บริษัทโฮลดิ้งตารางด้านล่างแสดงมูลค่าเงินลงทุนและส่วนแบ่งกำไร (ขาดทุน) ภายใต้การบริหารของสายงานลงทุนของหลักทรัพย์ ภัทร ในปี 2550-2552 (ล้านบาท) ผลการดำเนินงาน 2550 2551 2552กำไร (ขาดทุน) จากสายงานลงทุน 75.7 (130.1) 168.2กำไร (ขาดทุน) จากธุรกิจอื่นๆ ของหลักทรัพย์ ภัทร 409.3 337.4 257.7กำไร (ขาดทุน) สุทธิของหลักทรัพย์ ภัทร 485.0 207.3 425.9มูลค่าเงินลงทุนของสายงานลงทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 964.1 982.6 1,290.1 โดยผลกระทบต่อฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของหลักทรัพย์ ภัทร จะเปลี่ยนแปลงไปดังกล่าวในกรณีที่บริษัทโฮลดิ้งสามารถซื้อหุ้นของหลักทรัพย์ ภัทร ได้เท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 75 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของหลักทรัพย์ ภัทร อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่บริษัทโฮลดิ้งสามารถซื้อหุ้นของหลักทรัพย์ ภัทร ได้น้อยกว่าร้อยละ 75 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมด แผนการปรับโครงสร้างกิจการจะถูกยกเลิกและจะไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของหลักทรัพย์ ภัทรผลกระทบต่อฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทโฮลดิ้ง ในกรณีที่บริษัทโฮลดิ้งสามารถซื้อหุ้นของหลักทรัพย์ ภัทร ได้ครบร้อยละ 100 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของหลักทรัพย์ ภัทร ฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทโฮลดิ้งและบริษัทย่อยจะเหมือนกับฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของหลักทรัพย์ ภัทร ก่อนการปรับโครงสร้างกิจการทุกประการ ในกรณีที่บริษัทโฮลดิ้งสามารถซื้อหุ้นของหลักทรัพย์ ภัทร ได้ตั้งแต่ร้อยละ 75 แต่น้อยกว่าร้อยละ 100 บริษัทโฮลดิ้งจะรับรู้ฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของหลักทรัพย์ ภัทร ตามสัดส่วนหุ้นที่บริษัทโฮลดิ้งซื้อได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าสามารถซื้อหุ้นของหลักทรัพย์ ภัทร ได้ร้อยละ 75 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด (เงื่อนไขขั้นต่ำของคำเสนอซื้อ) บริษัทโฮลดิ้งจะรับรู้ฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของหลักทรัพย์ ภัทร มาในสัดส่วนร้อยละ 75 ดังแสดงในตารางต่อไปนี้ (ล้านบาท) กรณีซื้อหุ้นของหลักทรัพย์ ภัทร ได้ครบร้อยละ 100 2550 2551 2552กำไร (ขาดทุน) จากสายงานลงทุน 75.7 (130.1) 168.2กำไร (ขาดทุน) จากธุรกิจอื่นๆ ของหลักทรัพย์ ภัทร 409.3 337.4 257.7กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 485.0 207.3 425.9จำนวนหุ้น (ล้านหุ้น) 213.5 213.5 213.5กำไรต่อหุ้น (บาท) 2.2 0.97 1.99 (ล้านบาท) กรณีซื้อหุ้นของหลักทรัพย์ ภัทร ได้ร้อยละ 75 2550 2551 2552กำไร (ขาดทุน) จากสายงานลงทุน 75.7 (130.1) 168.2กำไร (ขาดทุน) จากธุรกิจอื่นๆของหลักทรัพย์ ภัทร 307.0 253.1 193.3กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 382.7 123.0 361.5จำนวนหุ้น (ล้านหุ้น) 160.1 160.1 160.1กำไรต่อหุ้น (บาท) 2.39 0.77 2.26 ในส่วนของเงินลงทุนที่บริษัทโฮลดิ้งได้รับโอนซื้อมาจากหลักทรัพย์ ภัทร บริษัทโฮลดิ้งจะใช้ราคารับโอนเงินลงทุนเป็นฐานต้นทุนที่จะใช้ในการคำนวณภาษี หากในอนาคตมีการขายหลักทรัพย์ของสายงานลงทุนและเกิดกำไร/ขาดทุน ในกรณีที่บริษัทโฮลดิ้งสามารถซื้อหุ้นของหลักทรัพย์ ภัทร ได้น้อยกว่าร้อยละ 75 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมด แผนการปรับโครงสร้างกิจการจะถูกยกเลิกและจะไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทโฮลดิ้งผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นของหลักทรัพย์ ภัทร และบริษัทโฮลดิ้ง ในกรณีที่บริษัทโฮลดิ้งสามารถซื้อหุ้นของหลักทรัพย์ ภัทร ได้ครบร้อยละ 100 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของหลักทรัพย์ ภัทร จะไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อผู้ถือหุ้นของหลักทรัพย์ ภัทร เนื่องจากภายหลังการปรับโครงสร้างการถือหุ้น ผู้ถือหุ้นของหลักทรัพย์ ภัทร จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทโฮลดิ้ง ซึ่งมีขอบเขตการ ดำเนินธุรกิจและฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานเหมือนหลักทรัพย์ ภัทร ก่อนการปรับโครงสร้างทุกประการ ในกรณีที่บริษัทโฮลดิ้งสามารถซื้อหุ้นของหลักทรัพย์ ภัทร ได้ตั้งแต่ร้อยละ 75 แต่น้อยกว่าร้อยละ 100 ผู้ถือหุ้นที่เลือกจะไม่แลกหุ้นจะมีความเสี่ยงจากการถือหลักทรัพย์ที่ไม่มีสภาพคล่อง เนื่องจากหุ้นของหลักทรัพย์ ภัทร จะถูกเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายหลังการปรับโครงสร้างกิจการ นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นที่เลือกจะไม่แลกหุ้นจะไม่มีส่วนแบ่งในกำไร (ขาดทุน) ของสายงานลงทุนภายหลังการปรับโครงสร้างกิจการ เนื่องจากหลักทรัพย์ ภัทร จะโอนธุรกิจลงทุนและขายหลักทรัพย์ภายใต้การลงทุนของสายงานลงทุนให้แก่บริษัทโฮลดิ้ง นอกจากนี้ การแลกหุ้นถือเป็นการขายหุ้นของหลักทรัพย์ ภัทร ให้แก่บริษัทโฮลดิ้งและได้รับการชำระราคาเป็นหุ้นของบริษัทโฮลดิ้ง ดังนั้น ผู้ถือหุ้นจึงมีภาระภาษีที่เกิดขึ้นจากกำไรในการซื้อขายหุ้นของหลักทรัพย์ ภัทร โดยผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้รับยกเว้นภาษีจากกำไรดังกล่าว ในขณะที่ผู้ถือหุ้นที่เป็นนิติบุคคลจะมีภาระภาษีจากการซื้อขายหุ้นของหลักทรัพย์ ภัทร โดยคิดจากฐานต้นทุนของนิติบุคคลแต่ละราย ส่วนภาระภาษีของผู้ถือหุ้นที่เป็นนิติบุคคลต่างประเทศนั้นขึ้นกับเงื่อนไขในอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยและประเทศที่นิติบุคคลต่างประเทศนั้นๆ จดทะเบียน (ถ้ามี) (ล้านบาท) ผลการดำเนินงานของหลักทรัพย์ ภัทร ที่รวมสายงานลงทุน 2550 2551 2552กำไร (ขาดทุน) สุทธิของหลักทรัพย์ ภัทร 485.0 207.3 425.9จำนวนหุ้น (ล้านหุ้น) 213.5 213.5 213.5กำไรต่อหุ้น (บาท) 2.27 0.97 1.99 (ล้านบาท) ผลการดำเนินงานของหลักทรัพย์ ภัทร ที่ไม่รวมสายงานลงทุน 2550 2551 2552กำไร (ขาดทุน) สุทธิของหลักทรัพย์ ภัทร ที่ไม่รวมสายงานลงทุน 409.3 337.4 257.7จำนวนหุ้น (ล้านหุ้น) 213.5 213.5 213.5กำไรต่อหุ้น (บาท) 1.92 1.58 1.21ปัจจัยความเสี่ยง กระบวนการจดทะเบียนหลักทรัพย์และการเพิกถอนหลักทรัพย์ และความเห็นชอบของคู่สัญญาอื่นๆ หน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง แผนการปรับโครงสร้างกิจการ การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคู่สัญญาอื่นๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ฯ นอกจากนี้ การปรับโครงสร้างการถือหุ้นยังขึ้นกับความสำเร็จของการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์เอกสารแนบ 1 ข้อมูลสรุปของบริษัทโฮลดิ้ง ภายใต้แผนการปรับโครงสร้างกิจการ หลักทรัพย์ ภัทร จะดำเนินการให้มีการจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งซึ่งเป็นบริษัทมหาชนขึ้นเพื่อประกอบธุรกิจด้านการลงทุนโดยบริษัทโฮลดิ้งจะมีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 10,000 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญ 2,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท และมีรายละเอียดของผู้ถือหุ้น ดังนี้ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นที่ถือ สัดส่วนการถือหุ้น (หุ้น) (ร้อยละ)ผู้บริหารและพนักงานหลักทรัพย์ ภัทร 15 ราย 2,000 100 โครงสร้างผู้ถือหุ้นของบริษัทโฮลดิ้งจะเปลี่ยนแปลงจากตารางข้างต้น โดยเป็นผลจากการแลกเปลี่ยนหุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทโฮลดิ้งกับหุ้นของหลักทรัพย์ ภัทร โดยบริษัทโฮลดิ้งจะประกอบธุรกิจด้านการลงทุนและถือหุ้นของหลักทรัพย์ ภัทร และคณะกรรมการของหลักทรัพย์ ภัทร จะถูกเสนอให้เป็นคณะกรรมการของบริษัทโฮลดิ้ง ภายหลังการปรับโครงสร้างกิจการเอกสารแนบ 2: ข้อมูลสรุปของหลักทรัพย์ ภัทร หลักทรัพย์ ภัทร ได้เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2548 โดยจัดอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน หมวดธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์ บริษัทได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ 8 ประเภท ได้แก่ การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล กิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ และการจัดการเงินร่วมลงทุน ซึ่งปัจจุบันบริษัทประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ 5 ประเภท คือ การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรั1ff8พย์ การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับใบอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้ประกอบธุรกิจการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยบริษัทได้เข้าเป็นสมาชิกของบริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ( ตลาดอนุพันธ์ ) ในปี 2548 รวมทั้งได้รับจดทะเบียนเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากสำนักงาน ก.ล.ต. ในปี 2552 นอกจากธุรกิจดังกล่าวข้างต้น บริษัทยังได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ปรึกษาประเภท A ให้บริการในฐานะที่ปรึกษาสาขาการเงินกับกระทรวงการคลัง และได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้ทำหน้าที่ที่ปรึกษาทางการเงิน และเป็นตัวแทนสนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนด้วย ธุรกิจหลักของบริษัทมี 4 ประเภทดังนี้ 1. ธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัทได้ให้บริการด้านการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และในตลาด MAI โดยบริษัทเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ฯ หมายเลข 6 ทั้งนี้ กลุ่มลูกค้าหลักของบริษัทในปัจจุบัน ได้แก่ ลูกค้าประเภทสถาบัน ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสายงานหลักทรัพย์สถาบัน (Equity & Derivatives Markets Group) ลูกค้าประเภทสถาบันของบริษัท ได้แก่ สถาบันการเงินและกองทุนต่างประเทศ สถาบันการเงินในประเทศ ซึ่งรวมถึงธนาคารพาณิชย์ บริษัทประกันภัย และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม เป็นต้น โดยสายงานหลักทรัพย์สถาบันจะพูดคุยกับลูกค้าเพื่อให้ทราบถึงความต้องการของลูกค้าในการลงทุนและนำเสนองานวิจัย ข้อมูลด้านการตลาดและคำแนะนำต่างๆ รวมถึงประสานงานในการส่งคำสั่งซื้อขายของลูกค้ากับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท เพื่อทำการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไปลูกค้าบุคคลรายใหญ่ (High Net Worth Individual) ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสายงานลูกค้าบุคคล (Private Client Group) สายงานลูกค้าบุคคลเป็นผู้ดูแลลูกค้าบุคคลรายใหญ่ โดยให้บริการแนะนำการลงทุน ทั้งในตราสารทุน ตราสารหนี้ ตราสารอนุพันธ์ และหน่วยลงทุน รวมทั้งดำเนินการให้บริการนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามคำสั่งของลูกค้า นอกจากนี้ สายงานลูกค้าบุคคลยังให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Internet Trading) ภายใต้ชื่อ PhatraDirect เพื่อรองรับการขยายฐานลูกค้าบุคคลของบริษัท 2. ธุรกิจวานิชธนกิจ บริษัทประกอบธุรกิจวานิชธนกิจโดยให้บริการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินและการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ โดยมีสายงานวานิชธนกิจและตลาดตราสารทุน (Investment Banking & Equity Capital Markets Group) เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานดังกล่าว โดยบริษัทให้บริการการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินครอบคลุมถึงการให้บริการในด้านต่างๆ อันได้แก่ การระดมทุนให้แก่กิจการและการนำกิจการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ การควบรวมกิจการ การหาผู้ร่วมทุนและพันธมิตรทางธุรกิจการปรับโครงสร้างกิจการ และการให้บริการและคำแนะนำตราสารทางการเงินต่าง ๆ 3. ธุรกิจการลงทุน บริษัทประกอบธุรกิจการลงทุนผ่าน 2 หน่วยงานหลัก ได้แก่ สายงานค้าหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Equity & Derivatives Trading Group) และสายงานลงทุน (Direct Investment Group) 3.1 สายงานค้าหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Equity & Derivatives Trading Group) สายงานค้าหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะมุ่งเน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภททุน (Equity) หรือประเภทกึ่งทุน (Equity-linked) ในตลาดหลักทรัพย์ฯ อันได้แก่ หุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น และหน่วยลงทุน โดยเป็นการลงทุนระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี เพื่อให้ได้ผลตอบแทนในอัตราตามที่คณะกรรมการการลงทุน (Investment Committee) กำหนด 3.2 สายงานลงทุน (Direct Investment Group) สายงานลงทุนจะดำเนินการลงทุนในสินทรัพย์ทุกประเภทที่มีผลตอบแทนในอัตราที่คณะกรรมการการลงทุนกำหนดและอยู่ในระดับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ โดยเน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภททุนทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์ฯเช่นเดียวกับการลงทุนของสายงานค้าหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมีกำหนดระยะเวลาการลงทุนระหว่าง 1-5 ปี 4. ธุรกิจการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บริษัทได้รับใบอนุญาตเพื่อประกอบกิจการตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากสำนักงาน ก.ล.ต. รวมทั้งได้เข้าเป็นสมาชิกประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และสัญญาสิทธิของดัชนี SET50 (SET50 Index Options) กับตลาดอนุพันธ์และบริษัท สำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด นอกจากนี้ บริษัทยังมีหน่วยงานสนับสนุนธุรกิจหลักของบริษัท ซึ่งรวมถึงสายงานวิจัย ฝ่ายกำกับดูแลการปฏิบัติงานและตรวจสอบภายใน ฝ่ายบริหารความเสี่ยง และฝ่ายเทคโนโลยี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทมีทุนจดทะเบียน 1,100,000,000.0 บาท เป็นทุนชำระแล้ว 1,067,500,000.0 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 213,500,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5.0 บาท รายชื่อผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นสูงสุด 10 รายแรก ณ วันที่ 10 กันยายน 2552ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นที่ถือ สัดส่วนการถือหุ้น (หุ้น) (ร้อยละ)(1) 1. EFG Bank AG 78,399,997 36.72 2. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 24,469,750 11.46 3. Somers (U.K.) Limited 14,993,900 7.02 4. HSBC Bank Plc-Clients General A/C 6,000,000 2.81 5. นายสุวิทย์ มาไพศาลสิน 5,505,455 2.58 6. กองทุนเปิดอเบอร์ดีนหุ้นระยะยาว 3,548,000 1.66 7. กองทุนเปิดอเบอร์ดีนโกรท 3,527,500 1.65 8. นายสุรศักดิ์ เทวอักษร 2,750,000 1.29 9. นายบรรยง พงษ์พานิช 2,557,277 1.20 10. นายวีรวัฒน์ ชุติเชษฐพงศ์ 2,550,154 1.19หมายเหตุ (1) คำนวณจากหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดจำนวน 213,500,000 หุ้น ทั้งนี้ การถือหุ้นในบริษัทโดย EFG Bank AG นั้นเป็นการถือเพื่อบริษัท รวมพล ภัทร อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ป โดย ณ สิ้นปี 2552 บริษัท รวมพล ภัทร อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ป มีบุคคลรายนามดังต่อไปนี้เป็นกลุ่มบุคคลหลักที่เป็นผู้ถือหุ้นลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นที่ถือ สัดส่วนการถือหุ้น (หุ้น) (ร้อยละ) 1. นายบรรยง พงษ์พานิช 1,840 10.93 2. นายสุวิทย์ มาไพศาลสิน 1,700 10.10 3. ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ 1,400 8.32 4. นางพัชนี ลิ่มอภิชาต 1,000 5.94 5. นายวีรวัฒน์ ชุติเชษฐพงศ์ 850 5.05 6. นายนรเชษฐ์ แสงรุจิ 800 4.75 7. นายอภินันท์ เกลียวปฏินนท์ 800 4.75 8. นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ 600 3.57 9. นางภัทรพร มิลินทสูต 600 3.57 10. นายกฤติยา วีรบุรุษ 600 3.57 11. อื่นๆ 6,640 39.45 รวม 16,830 100.00คณะกรรมการบริษัทปัจจุบันกรรมการบริษัทมีจำนวน 11 ท่านดังนี้ รายนาม ตำแหน่ง 1. นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ 2. นายสุวิทย์ มาไพศาลสิน กรรมการ 3. นายวีรวัฒน์ ชุติเชษฐพงศ์ กรรมการ 4. ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการ 5. นางพัชนี ลิ่มอภิชาต กรรมการ 6. นายนรเชษฐ์ แสงรุจิ กรรมการ 7. ดร.อนุมงคล ศิริเวทิน กรรมการ/กรรมการอิสระ 8. รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ กรรมการ/กรรมการอิสระ 9. ศ.ดร.อุทัย ตันละมัย กรรมการ/กรรมการอิสระ 10. นายพงษ์เทพ ผลอนันต์ กรรมการ/กรรมการอิสระ 11. ศ.ดร.อัญญา ขันธวิทย์ กรรมการ โดยมีนางภัทรพร มิลินทสูต กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ทำหน้าที่เป็นเลขานุการบริษัทคณะผู้บริหารปัจจุบันรายนามผู้บริหารของบริษัทมีดังต่อไปนี้รายนาม ตำแหน่ง1. นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ2. นายสุวิทย์ มาไพศาลสิน กรรมการบริหาร3. นายวีรวัฒน์ ชุติเชษฐพงศ์ กรรมการบริหาร4. นายอภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร5. ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการบริหาร/ กรรมการผู้จัดการ (หัวหน้าสายงานวิจัย)6. นางพัชนี ลิ่มอภิชาต กรรมการบริหาร/ กรรมการผู้จัดการ (หัวหน้าสายงานหลักทรัพย์สถาบัน)7. นายนรเชษฐ์ แสงรุจิ กรรมการบริหาร8. ดร.อน1ff8ุมงคล ศิริเวทิน กรรมการอิสระ/ ประธานกรรมการตรวจสอบ9. รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ กรรมการอิสระ/ กรรมการตรวจสอบ10. ศ.ดร.อุทัย ตันละมัย กรรมการอิสระ/ กรรมการตรวจสอบ11. นายพงษ์เทพ ผลอนันต์ กรรมการอิสระ/ กรรมการตรวจสอบ12. ศ.ดร.อัญญา ขันธวิทย์ กรรมการ13. นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการ (หัวหน้าสายงานลูกค้าบุคคล)14. นางภัทรพร มิลินทสูต กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ15. นายกฤติยา วีรบุรุษ กรรมการผู้จัดการ (หัวหน้าสายงานลงทุน)16. นายธนวัฒน์ พานิชเกษม กรรมการผู้จัดการ (หัวหน้าสายงานค้าหลักทรัพย์ และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า)17. นางพนิดา ประพันธ์วัฒนะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ (หัวหน้าฝ่ายการบัญชีและ ฝ่ายบริหารเงิน)18. ดร.พบพนิต ภุมราพันธุ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ (หัวหน้าฝ่ายบริหารความเสี่ยง)เอกสารแนบ 3: รายละเอียดและเงื่อนไขในการเสนอซื้อหลักทรัพย์ประเภทและลักษณะหลักทรัพย์ที่ทำการเสนอซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของหลักทรัพย์ ภัทร ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 213,500,000 หุ้นอัตราส่วนและราคาการแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์บริษัทโฮลดิ้งจะทำการออกและเสนอขายหุ้นสามัญออกใหม่ของบริษัทโฮลดิ้ง เพื่อแลกกับหุ้นสามัญของหลักทรัพย์ ภัทร ที่อัตราส่วนการแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์เท่ากับ 1 ต่อ 1 โดยราคาแลกเปลี่ยนของหุ้นสามัญของหลักทรัพย์ ภัทร จะมีราคาเท่ากับราคาตลาด ณ วันที่มีการโอนแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ช่วงระยะเวลารับซื้ออย่างน้อย 25 วันทำการ ซึ่งเมื่อประกาศแล้วจะถือเป็นระยะเวลารับซื้อสุดท้ายที่จะไม่ขยายอีกเงื่อนไขในการยกเลิกการทำคำเสนอซื้อบริษัทโฮลดิ้ง (ผู้ทำคำเสนอซื้อ) จะยกเลิกคำเสนอซื้อ หากเมื่อสิ้นสุดช่วงระยะเวลารับซื้อแล้วปรากฏว่าสัดส่วนของหลักทรัพย์ที่ได้มาจากการทำคำเสนอซื้อ ต่ำกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนหลักทรัพย์ที่ออกแล้วทั้งหมดช่วงเวลาที่ผู้แสดงเจตนาขายหลักทรัพย์สามารถยกเลิกการแสดงเจตนาขายผู้แสดงเจตนาขายสามารถยกเลิกการแสดงเจตนาขายได้ภายใน 20 วันทำการแรกของช่วงระยะเวลารับซื้อเอกสารแนบ 4 : ขั้นตอนการปรับโครงสร้างกิจการขั้นตอนและกำหนดเวลาของการปรับโครงสร้างกิจการ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้มี.ค. 53 1. หลักทรัพย์ ภัทร ขอความเห็นชอบเบื้องต้นจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ในเรื่อง ดังต่อไปนี้ 1.1 แผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ 1.2 การนำหุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทโฮลดิ้งเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ฯ แทนหุ้นของหลักทรัพย์ ภัทร 2. หลักทรัพย์ ภัทร ขอรับการผ่อนผันบางประการจากคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการ เข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ (Takeover Panel)เม.ย. 53 3. หลักทรัพย์ ภัทร ดำเนินการให้จัดตั้งบริษัทมหาชน (บริษัทโฮลดิ้ง ชื่อบริษัท ทุน ภัทร จํากัด (มหาชน)) เพื่อประกอบธุรกิจเป็นบริษัทโฮลดิ้งรองรับการปรับ โครงสร้างการถือหุ้นของกลุ่ม โดยมีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 10,000 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญจำนวน 2,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท 4. หลักทรัพย์ ภัทร ขอความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้บริษัทโฮลดิ้งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในหลักทรัพย์ ภัทร 5. หลักทรัพย์ ภัทร ร่วมกับที่ปรึกษาทางการเงินจัดประชุมชี้แจงเพื่อเสนอแนะ ความเห็นเกี่ยวกับการขอเพิกถอนหุ้นและข้อเสนอของผู้เสนอซื้อหุ้นให้นักลงทุน ทั่วไปทราบ 6. ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของหลักทรัพย์ ภัทร มีมติเห็นชอบในเรื่องดังต่อไปนี้ - การปรับโครงสร้างการถือหุ้นในรูปแบบบริษัทโฮลดิ้ง - จําหน่ายสินทรัพย์และโอนบุคลากรในส่วนธุรกิจของสายงานลงทุนใน หลักทรัพย์ ภัทร ให้บริษัทโฮลดิ้ง (ไม่รวมสายงานค้าหลักทรัพย์และสัญญา ซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งจะยังคงอยู่กับหลักทรัพย์ ภัทร) - การนําหุ้นของบริษัทโฮลดิ้งเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ฯ - การขอเพิกถอนหุ้นของหลักทรัพย์ ภัทร จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้น ขณะที่บริษัท โฮลดิ้งจะเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แทนหลักทรัพย์ ภัทรก.ย. 53 7. ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทโฮลดิ้งพิจารณาการดำเนินการดังต่อไปนี้ 7.1 เพิ่มทุนจดทะเบียนเสนอขายหุ้นสามัญที่ออกใหม่ของบริษัทโฮลดิ้งเป็นการ แลกเปลี่ยนกับหุ้นสามัญของหลักทรัพย์ ภัทร 7.2 ยื่นคำขออนุญาตออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และแบบแสดงรายการข้อมูล การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อสำนักงาน ก.ล.ต.ต.ค.-ธ.ค. 53 8. ทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของหลักทรัพย์ ภัทร โดยชำระราคาหลักทรัพย์ ดังกล่าวด้วยหุ้นสามัญที่ออกใหม่ของบริษัทโฮลดิ้งในอัตราส่วนการแลกเปลี่ยน ระหว่างหลักทรัพย์ของบริษัทโฮลดิ้งกับหลักทรัพย์ ภัทร เท่ากับ 1 ต่อ 1 ในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ จะกำหนดเงื่อนไขการยกเลิกคำเสนอซื้อ หากเมื่อ สิ้นสุดระยะเวลารับซื้อแล้วปรากฏว่าจำนวนหลักทรัพย์ที่มีผู้แสดงเจตนาขายน้อย กว่าร้อยละ 75 ของหลักทรัพย์ที่ออกทั้งหมด ทั้งนี้หากสามารถซื้อหลักทรัพย์ได้ ครบทั้งหมด โครงสร้างการถือหุ้นในบริษัทโฮลดิ้งจะเป็นเช่นเดียวกับโครงสร้าง การถือหุ้นในหลักทรัพย์ ภัทร เดิมทุกประการ 9. บริษัทโฮลดิ้งยื่นรายงานผลการทำคำเสนอซื้อต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ และยื่นขอ อนุญาตให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ รับหุ้นสามัญของบริษัทโฮลดิ้งเป็นหลักทรัพย์จด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ 10. หลักทรัพย์ ภัทร ขอเพิกถอนหุ้นสามัญจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนจาก ตลาดหลักทรัพย์ฯ 11. บริษัทโฮลดิ้งจดทะเบียนเพิ่มทุนชําระแล้วที่เป็นผลจากการทำคำเสนอซื้อต่อ กระทรวงพาณิชย์ธ.ค. 53 12. หลักทรัพย์ ภัทร โอนธุรกิจและจำหน่ายสินทรัพย์ในส่วนธุรกิจของสายงานลงทุน ในบริษัทให้บริษัทโฮลดิ้งม.ค. 54 13. การจดทะเบียนหุ้นบริษัทโฮลดิ้งเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และในเวลาเดียวกันทำการเพิกถอนหุ้นหลักทรัพย์ ภัทร จากการเป็นหลักทรัพย์จด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นผลสำเร็จครบถ้วนเอกสารแนบ 5: ฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานปัจจุบันของหลักทรัพย์ ภัทรฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานปัจจุบันของหลักทรัพย์ ภัทร ในปี 2552 หลักทรัพย์ ภัทร มีกำไรสุทธิ 425.89 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 218.58 หรือร้อยละ 105.4 ส่วนกำไรสุทธิต่อหุ้นเพิ่มขึ้นสำหรับปี 2552 เท่ากับ 1.99 บาท เปรียบเทียบกับปี 2551 ที่ 0.97 บาท หลักทรัพย์ ภัทร มีสินทรัพย์รวม ณ สิ้นปี 2552 เท่ากับ 5,822.65 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,679.97 ล้านบาท หรือร้อยละ 40.6 เมื่อเทียบกับปี 2551 และเพิ่มขึ้น 165.19 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับปี 2550 ส่วนของผู้ถือหุ้นในปี 2552 เท่ากับ 3,398.40 ล้านบาท ข้อมูลฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานโดยสรุป ตามตารางดังนี้ งบดุล (หน่วย:ล้านบาท) 2552 เปลี่ยนแปลง 2551 เปลี่ยนแปลง 2550 (%) (%) สินทรัพย์ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 795.21 (29.5) 1,128.42 (28.6) 1,579.56 เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสาร 2,409.03 52.8 1,576.22 1.5 1,553.00 ทุนสุทธิ ลูกหนี้สำนักหักบัญชี 491.08 845.9 51.92 156.2 20.26 ลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์และสัญญาซื้อ 1,738.51 84.5 942.41 (55.0) 2,092.49 ขายล่วงหน้า ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์สุทธิ 178.87 (14.8) 209.98 0.8 208.31 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนสุทธิ 64.03 83.1 34.97 (2.6) 35.90 สินทรัพย์อื่น 145.92 (26.6) 198.77 18.4 167.92 รวมสินทรัพย์ 5,822.65 40.6 4,142.68 (26.8) 5,657.45 หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น หนี้สิน เจ้าหนี้สำนักหักบัญชี 601.44 40.3 428.80 (46.2) 797.56 เจ้าหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์และสัญญาซื้อ 1,356.07 123.1 607.78 (44.9) 1,103.87 ขายล่วงหน้า ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย 67.13 115.3 31.18 (56.8) 72.24 ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 291.71 28.0 227.93 (21.7) 290.96 หนี้สินอื่น 107.90 226.2 33.08 (55.1) 73.67 รวมหนี้สิน 2,424.25 82.4 1,328.77 (43.2) 2,338.30 รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 3,398.40 20.8 2,813.91 (15.2) 3,319.15 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 5,822.65 40.6 4,142.68 (26.8) 5,657.45งบกำไรขาดทุน (หน่วย:ล้านบาท) 2552 เปลี่ยนแปลง 2551 เปลี่ยนแปลง 2550 4f7 (%) (%)รายได้ค่านายหน้า 700.21 (21.6) 892.92 (18.9) 1,101.22ค่าธรรมเนียมและบริการ 233.91 (13.5) 270.39 22.7 220.32กำไร (ขาดทุน) จากการซื้อขาย (11.8) (131.3) 37.6 (53.7) 81.2หลักทรัพย์กำไรจากการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ 287.22 1,432.2 18.75 111.3 8.87ดอกเบี้ยและเงินปันผล 123.81 (27.0) 169.62 15.3 147.17รายได้อื่น 52.23 338.9 11.90 13.0 10.53รวมรายได้ 1,385.62 (1.1) 1,401.14 (10.7) 1,569.34รวมค่าใช้จ่าย 835.40 (27.3) 1,149.19 23.3 931.70กำไรก่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 550.22 118.4 251.94 (60.5) 637.63ภาษีเงินได้นิติบุคคล (124.3) 178.5 (44.6) (70.8) (152.6)กำไรสุทธิสำหรับปี 425.89 105.4 207.31 (57.3) 484.99
ที่มา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วันที่ 08/03/10 เวลา 8:29:26
ที่มา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วันที่ 08/03/10 เวลา 8:29:26
ซุกหุ้น 301 เคล็ดวิชาขั้นสูงจากคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
รู้ทันตลาดทุน : สฤณี อาชวานันทกุล กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 08 มีนาคม พ.ศ. 2553
คำพิพากษาคดีประวัติศาสตร์ “ยึดทรัพย์ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร” เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 มีแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนให้ขบคิดต่อมากมาย ในบรรดาข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ปรากฏ ผู้เขียนคิดว่าข้อเท็จจริงในประเด็นการอำพรางหุ้น หรือที่เรียกว่า “ซุกหุ้น” นั้นมีความน่าสนใจและสามารถใช้เป็นเอกสารประกอบการเรียนการสอนได้อย่างดียิ่ง โดยเฉพาะวิชาที่ว่าด้วยธรรมาภิบาลภาครัฐ และธรรมาภิบาลตลาดทุน
กรณี “ซุกหุ้นภาคพิสดาร” ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาสำคัญในคดียึดทรัพย์ และองค์คณะผู้พิพากษามีมติเป็นเอกฉันท์ว่าผิดจริงนั้น มีความสลับซับซ้อนกว่ากรณี “ซุกหุ้นภาคแรก” ซึ่งเป็นการใช้ชื่อคนขับรถและคนใช้ถือหุ้นแทนค่อนข้างมาก เนื่องจากเป็นการซุกในช่วงเวลาที่ พ.ต.ท. ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี ในคดีซุกหุ้นภาคแรกนั้น ลำพังการพบชื่อคนใช้และคนขับรถว่าเป็นผู้ถือหุ้นก็ส่อแววแล้วว่าน่าจะซุกหุ้น เพราะคนรับใช้และคนขับรถไม่มีทุนทรัพย์พอที่จะซื้อหุ้นมูลค่าหลายร้อยล้านบาท และก็ไม่ใช่ลูกหรือญาติที่เจ้าของอาจจะอยากให้หุ้น “โดยเสน่หา” จึงไม่มีเหตุผลใดๆ ที่ พ.ต.ท.ทักษิณหรือภรรยาจะโอนหุ้นให้ เว้นเสียแต่ว่าอยากให้ถือหุ้นแทนตนเอง
ถ้าพฤติกรรม “ซุกหุ้นภาคแรก” (ที่ พ.ต.ท.ทักษิณบอกว่า “บกพร่องโดยสุจริต”) เป็นวิชาซุกหุ้นขั้นพื้นฐาน หรือซุกหุ้น 101 ข้อเท็จจริงกรณี “ซุกหุ้นภาคพิสดาร” ที่ปรากฏในคดียึดทรัพย์ ก็เรียกได้ว่าเป็นวิชาซุกหุ้นขั้นสูง หรือซุกหุ้น 301 เลยทีเดียว
การซุกหุ้นรอบนี้ปรากฏหลักฐานว่ากระทำผ่านทั้งตัวบุคคล คือลูกและญาติ และผ่านบริษัทหุ่นเชิด คือ แอมเพิลริช และ วินมาร์ค ลิมิเต็ด บทความตอนนี้จะพูดถึงการซุกผ่านตัวบุคคลก่อน
1. การซุกหุ้นในชื่อลูกที่บรรลุนิติภาวะ
หลายคนอาจสงสัยว่า เหตุใดการโอนหุ้นให้ลูกจึงทำให้ศาลมองว่าซุกหุ้น ถ้าพ่อแม่อยากโอนหรือขายหุ้นให้ลูก ไม่ว่าจะในราคาทุนหรือราคาอื่น หรือแม้แต่โอนให้ฟรีๆ ก็น่าจะมีสิทธิทำได้ตามกฎหมายมิใช่หรือ?
คำตอบคือ เรื่องซุกหุ้นจะดูจากเอกสารยืนยันการโอนหุ้นไม่ได้ ต้องดูหลักฐานใน 3 ประเด็นคือ 1. วิธีการโอนหุ้น เพื่อประเมินว่า ที่อ้างว่าโอนไปแล้วนั้นโอนจริงหรือโอนหลอก เช่น อ้างว่าขายแต่ไม่มีเงินเปลี่ยนมือ 2. ผู้รับหุ้นนั้นได้ใช้สิทธิออกเสียงและรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ (เช่น เงินปันผล) ในฐานะผู้ถือหุ้นชินคอร์ปจริงหรือไม่ และ 3. ผู้รับหุ้นใช้สิทธิออกเสียงตามหุ้นที่ถือหรือไม่
1.1. กรณีของพานทองแท้ จำเลยให้การว่าขายหุ้นให้ลูกที่ราคาทุน แต่ไม่มีเงินเปลี่ยนมือ ทำเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินระหว่างกันไว้เฉยๆ นอกจากนี้ มีหลักฐานว่า 1 วันก่อนโอนหุ้นชินคอร์ปให้ลูก พานทองแท้ต้องทำหนังสือใช้หนี้แม่อีก 4,500 ล้านบาท ซึ่งจำเลยให้การว่าเป็นค่าหุ้นธนาคารทหารไทย 150 ล้านหุ้น และค่าใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (warrant) อีก 300 ล้านหน่วย ทั้งที่ราคาทุนไม่ใช่ 4,500 ล้านบาทตามที่อ้าง แต่อยู่ที่ 1,500 ล้านบาทเท่านั้น เพราะ warrant 300 ล้านหน่วยนั้นแถมมากับหุ้น ดังนั้นจึงเท่ากับมี “หนี้ปลอม” ถึง 3,000 ล้านบาท ทำให้น่าสงสัยว่าลูกซื้อหุ้นจากแม่จริงหรือเปล่า และทำให้น่าเชื่อว่า หนี้ปลอมก้อนนี้เป็น “เครื่องมือ” ให้ลูกคืนปันผลให้แม่มากกว่า กล่าวคือ เงินโอนให้แม่ที่อ้างว่าเป็นการชำระคืนหนี้นั้น แท้จริงแล้วน่าจะเป็นการโอนเงินปันผลให้แม่ เพราะไม่ได้เป็นเจ้าของหุ้นตัวจริงตั้งแต่ต้น
คตส. พบว่า “เมื่อตรวจบัญชีธนาคารของนายพานทองแท้ที่ใช้รับเงินปันผลหุ้นชินคอร์ปแล้ว พบว่าบัญชีนี้ต้องส่งเงินปันผลให้คุณหญิงพจมานจนหมดแทบทุกงวด รวมยอดแล้วสูงเกินกว่าจำนวนที่อ้างว่าเป็นหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินถึง 1,100 ล้านบาท ซึ่งหากนายพานทองแท้ได้เป็นเจ้าของหุ้นชินคอร์ปทั้ง 293 ล้านหุ้นจริงแล้ว เงินปันผลก้อนนี้ก็จะต้องเป็นของเขาโดยแท้จริงด้วย แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้นเลยแม้แต่น้อย”
1.2. กรณีของพินทองทา สำนวนระบุคำให้การว่า “อธิบายว่ามารดาให้เงินในวันเกิดเพื่อไปซื้อหุ้นแบ่งจากพี่ชาย 367 ล้านหุ้น โดยทำเป็นซื้อขายนอกตลาดในราคาทุน (ทำให้ไม่ต้องเสียภาษี) พี่ชายได้เงินแล้วก็นำส่งคืนมารดาทันที วันเกิดที่ว่านี้คือวันครบรอบ 20 ปี ในปี 2545”
การซื้อหุ้นครั้งนั้นไม่มีการชำระเงินค่าหุ้นกันจริงๆ เพราะมารดาให้เงินในวันเกิด แล้วนำเงินไปซื้อจากพี่ชาย พี่ชายก็นำมาคืนมารดาในทันที จำนวนหุ้นที่ซื้อจากพี่ชาย 367 ล้านหุ้น ทำให้หุ้นที่พานทองแท้ถืออยู่เหลือประมาณ 367 ล้านหุ้นเท่าๆ กัน จึงน่าเชื่อว่าถูกพ่อแม่ใช้ชื่อเพื่อปรับจำนวนหุ้นที่ต้องการใช้ชื่อถือแทนมากกว่า ทันทีที่พินทองทาบรรลุนิติภาวะ (20 ปี ซึ่งเป็นจุดที่ถือหุ้นได้โดยไม่ถูกนับตามกฎหมายว่าเป็นของบิดา) เพราะขณะนั้นพานทองแท้ถือหุ้นชินคอร์ปในนามตัวเอง 24.99% และถือผ่านบริษัทแอมเพิลริชอีก 10.44% รวมแล้วเกิน 25% แต่ไม่แจ้ง ก.ล.ต. ตามกฎหมายหลักทรัพย์ ทำให้สุ่มเสี่ยงว่าจะถูกค้นพบและเอาผิดได้ตลอดเวลา
ในด้านสิทธิประโยชน์จากหุ้น คตส. พบว่า “หุ้นก้อนนี้ก่อเกิดให้เงินปันผลในบัญชีที่มีชื่อนางสาวพินทองทาเป็นระยะ แล้วเก็บสะสมไว้ไม่มีการส่งคืนเข้าบัญชีมารดา และมีการนำไปใช้สองครั้งคือ ใช้ซื้อหุ้นเอสซี แอสเสท คืนจากวินมาร์ค 71 ล้านบาท และซื้อบริษัทอสังหาริมทรัพย์อีก 5 บริษัทคืนจากกองทุนสองกองทุน ในปี 2547 อีก 485 ล้านบาท ซึ่งบริษัทวินมาร์คและกองทุนทั้งสองนี้ คตส. และดีเอสไอกับ ก.ล.ต. มีหลักฐานชี้บ่งร่วมกันว่า แท้จริงเป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิง ดังนั้น การนำเงินปันผลไปจ่าย...ทั้งสองครั้งนี้ แท้จริงจึงเป็นการส่งเงินปันผลคืนเข้าบัญชีวินมาร์คของบิดามารดานั่นเอง”
2. การซุกหุ้นในชื่อญาติ
2.1. กรณีนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ กรณีนี้สำนวนระบุว่า “ต้องแยกหุ้นชินฯ เป็นสองกลุ่มด้วยกัน กลุ่มแรกมีจำนวน 1.62% ที่เชื่อได้ว่าเป็นของนายบรรณพจน์จริงตั้งแต่เริ่มเข้าตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทชินคอร์ป กลุ่มที่สอง 10.75% เป็นส่วนที่ถูกใช้ชื่อถือหุ้นแทนเท่านั้น มีสองก้อนด้วยกัน ก้อนแรก 1.62% คือหุ้นเพิ่มทุนที่ใช้สิทธิของตนเองซื้อหุ้น แต่ใช้เงินคุณหญิง ก้อนสอง 9.13% เป็นก้อนที่ทำเป็นซื้อจากคุณหญิง พร้อมกับที่คุณหญิงขายให้บุตรเมื่อกันยายน 2543 ก้อนนี้ทำเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินให้ยึดถือไว้”
หุ้น 10.75% นั้นไม่มีการชำระเงินค่าหุ้นจริง ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ทำให้คุณหญิงสำหรับก้อนสองคือ 9.13% ก็ระบุว่าจ่าย “คุณหญิงพจมาน” ทั้งที่ในขณะนั้นยังมิได้เป็นคุณหญิงแต่อย่างใด ทำให้เชื่อได้ว่าเป็นการทำหลักฐานย้อนหลังทั้งสิ้น
ซุกหุ้น 301 เคล็ดวิชาขั้นสูงจากคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (จบ)
รู้ทันตลาดทุน : สฤณี อาชวานันทกุล กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553
คอลัมน์ตอนที่แล้ว ผู้เขียนอธิบายเคล็ดวิชาซุกหุ้นขั้นสูง ที่ปรากฏในคำพิพากษาคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในส่วนของการซุกผ่านตัวบุคคล คือ ลูกสองคนและน้องชาย ตอนนี้จะกล่าวถึงส่วนที่เหลือ คือ ซุกผ่านน้องสาวและบริษัทหุ่นเชิด
กรณีการซุกหุ้นในชื่อน้องสาว คือ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งได้รับหุ้นชินคอร์ปมูลค่า 20 ล้านบาท มีพฤติกรรมที่บ่งชี้ว่าซุกหุ้นชัดเจนกว่ากรณีของบรรณพจน์ ดามาพงศ์ กล่าวคือ มีตำแหน่งเป็นถึงผู้บริหารระดับสูงในเครือชินคอร์ป แต่ไม่เคยจ่ายค่าหุ้น 20 ล้านบาทให้กับพี่ชาย อ้างว่าเป็นการค้างชำระหนี้ ต่อมาอีก 3-4 ปี เมื่อชินคอร์ปเริ่มจ่ายปันผล ถึงค่อยๆ ทยอย "ชำระหนี้" ด้วยเงินปันผลที่ได้รับ (คือ ไม่ใช้เงินของตนเองเลย) 2 ครั้ง คือ 9 ล้านบาท และ 11 ล้านบาท ครั้งที่สองนั้นเขียนตัวเลขบนเช็ค 13.5 ล้านบาท เท่ากับเงินปันผลที่ได้รับในงวดนั้นเต็มจำนวน แล้วจึงค่อยขีดฆ่าเปลี่ยนตัวเลขใหม่เป็น 11 ล้านบาท คงเป็นเพราะฉุกคิดได้ว่าจ่ายเกินหนี้แล้ว บ่งชี้ว่าหนี้ 20 ล้านบาทนั้นไม่มีอยู่จริง เพราะ พ.ต.ท. ทักษิณไม่เคยขายหุ้นให้จริง เพียงแต่ใช้ชื่อถือหุ้นแทนเท่านั้น ส่วนเงินปันผลงวดที่ 3-6 ก็จ่ายเข้าบัญชีตัวเองเพียง 2.1 ล้านบาท ที่เหลืออีก 68 ล้านบาทเขียนเช็คเงินสด (หมายความว่า ใครก็ตามที่ถือเช็คสามารถนำไปขึ้นเงินได้) โดยอ้างว่านำไปใช้เป็นค่าตกแต่งบ้าน ทำสวน สระว่ายน้ำ ฯลฯ แต่ไม่สามารถนำหลักฐานใดๆ มายืนยันต่อศาลได้ว่าใช้จ่ายในเรื่องเหล่านี้จริง
ทั้งหมดที่กล่าวไปนั้นอ่านได้ในคำพิพากษาหน้า 98-99
ในประเด็นอำนาจในการตัดสินใจ ขายหุ้นให้กับกองทุนเทมาเส็ก ของสิงคโปร์ ซึ่งถ้าลูกๆ และญาติของ พ.ต.ท. ทักษิณพิสูจน์ได้ว่าตัดสินใจขายเองในฐานะเจ้าของหุ้นตัวจริง ก็อาจทำให้ข้ออ้างที่ว่าไม่ใช่นอมินีมีน้ำหนักมากขึ้น แต่คำพิพากษาระบุคำเบิกความชัดเจน ว่า บรรณพจน์ ดามาพงศ์ อ้างว่าตนเป็นผู้ตัดสินใจจะขายหุ้นให้กับกองทุนเทมาเส็กก่อน และแจ้งให้หลานและยิ่งลักษณ์ทราบ บรรณพจน์ให้เหตุผลว่าที่ตัดสินใจขายนั้น เป็นเพราะ "อายุมากแล้ว การบริหารงานในชินคอร์ปต่อไปจะลำบาก เพราะต้องลงทุนในโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 G เกือบแสนล้านบาท"
ศาลเห็นว่าข้ออ้างนี้ "รับฟังไม่ได้" เนื่องจากนายบรรณพจน์ถือหุ้นชินคอร์ปเพียง 13.8% เทมาเส็กจึงน่าจะต้องขอเจรจากับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด คือ พานทองแท้และพินทองทา (ถือหุ้นรวมกัน 35.4%) ก่อน ไม่ใช่บรรณพจน์ นอกจากนี้ เหตุผลที่บรรณพจน์ให้ก็ขัดกับข้อมูลที่ปรากฏในรายงานประจำปี 2548 ของบริษัทเอไอเอส ที่ระบุว่า "บริษัทเอไอเอสมีความสนใจ และความพร้อมทั้งในด้านเงินทุนและเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาไปสู่การให้บริการ 3 G" (ดูคำพิพากษาหน้า 105-107)
หลักฐานทั้งหมดที่ปรากฏในส่วนของการซุกผ่านตัวบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการไม่จ่ายเงินค่าหุ้นที่อ้างว่าซื้อขายกันจริง ทำเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินระหว่างกันไว้เฉยๆ การโอนเงินปันผลทุกงวดให้กับคุณหญิงพจมาน หรือ พ.ต.ท. ทักษิณทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด หรือนำไปใช้จ่ายแทนสามีภรรยาคู่นี้ อาทิเช่น ใช้ซื้อหุ้นเอสซี แอสเสท คืนจากวินมาร์ค หรือไปรวมกับเงินก้อนที่ไปซื้อสโมสรฟุตบอลอังกฤษ ตลอดจนข้ออ้างที่มีพิรุธเกี่ยวกับการตัดสินใจขายหุ้นให้กับเทมาเส็ก ทำให้ศาลตัดสินว่าเป็นการใช้ชื่อลูกและญาติถือหุ้นแทนทั้งสิ้น
สำหรับส่วนของ หุ้นที่ซุกผ่านบริษัทหุ่นเชิด คือ แอมเพิลริชและวินมาร์ค ลิมิเต็ด ก็มีเอกสารหลักฐานชัดเจนจากธนาคารยูบีเอส เอจี สาขาสิงคโปร์ ว่า ผู้มีอำนาจเบิกถอนเงินในบัญชีของแอมเพิลริชแต่เพียงผู้เดียว คือ "ดร. ที ชินวัตร" เพิ่งมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจเบิกถอนเงินในบัญชีดังกล่าวในเดือนมิถุนายน 2548 ส่วนกรณีของวินมาร์ค ศาลตัดสิน ว่า "ไม่มีเหตุต้องวินิจฉัย" ว่า เป็นนอมินีหรือไม่ เนื่องจากจำนวนหุ้นชินคอร์ปที่วินมาร์คถือ (ประมาณ 1.8%) ไม่อยู่ในจำนวนหุ้นที่ขายให้กับเทมาเส็ก และกลายเป็นเงินที่อัยการร้องให้ยึด
ถ้าหุ้นชินคอร์ปในส่วนของวินมาร์คซุกจริง ก็นับว่าเป็นส่วนที่ซุกอยู่ "ลึกที่สุด" คือ ไม่ได้ขายให้กับเทมาเส็ก พ.ต.ท. ทักษิณ อาจยังถือครองอยู่จวบจนปัจจุบัน ในเมื่อ ก.ล.ต. ให้การว่ามีหลักฐานจากการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างประเทศ ว่า พ.ต.ท. ทักษิณเป็นเจ้าของวินมาร์ค ก็ควรจะดำเนินการสอบสวนประเด็นนี้ต่อไป ในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายหลักทรัพย์ เพราะหุ้นที่ซุกผ่านบริษัทหุ่นเชิดนั้นสามารถนำไปซื้อขายโดยใช้ข้อมูลภายใน (insider trading) ได้ค่อนข้างง่าย (เพราะไหนๆ ก็ซุกแล้ว) ยังไม่นับความผิดตามกฎหมายหลักทรัพย์อีกหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งเท็จ ปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้น ไม่ทำรายงานถือครองหุ้นข้ามเส้น 5% ฯลฯ
ประเด็นที่น่าสังเกตเป็นพิเศษจากหลักฐานในกรณี "ซุกหุ้นภาคพิสดาร" คือ พยานหลักฐานที่ฝ่ายจำเลยใช้ในการสู้คดีนี้นั้น ส่วนใหญ่เป็นคำกล่าวอ้างลอยๆ และเอกสารที่จัดทำขึ้นเองได้ ไม่มีบุคคลที่สามรับรอง อาทิเช่น ตั๋วสัญญาใช้เงินระหว่างกัน หรือรายงานประจำปีของแอมเพิลริช ไม่ใช่เอกสารที่ทำเองไม่ได้หรือปลอมแปลงยาก อาทิเช่น เอกสารการเปิดบัญชีกับธนาคาร จดหมายจากธนาคารยูบีเอสที่ยืนยันว่าพานทองแท้เป็นเจ้าของหุ้นที่แท้จริง หรือรายการบัญชีในธนาคารที่ระบุว่า มีการจ่ายเงินค่าหุ้นกันจริงๆ (ซึ่งในกรณีของวินมาร์ค จะเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่ามี "นักลงทุนต่างชาติ" มาซื้อหุ้นวินมาร์คไปจริง)
การทำความเข้าใจกับมติเอกฉันท์ของศาลฎีกาที่ว่า พ.ต.ท. ทักษิณเป็นเจ้าของหุ้นชินคอร์ปกึ่งหนึ่งหรือ 50% ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น เป็น "จุดเริ่มต้น" ที่จำเป็นต่อการทำความเข้าใจกับคำพิพากษาของศาลฎีกา เพราะนั่นหมายความว่า พ.ต.ท. ทักษิณมีผลประโยชน์ทับซ้อนอันใหญ่หลวง ระหว่างสถานภาพ "ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่มีอำนาจควบคุม" ชินคอร์ปและบริษัทในเครือ กับสถานภาพผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสูงสุดของประเทศ
หลายคนอาจสงสัยว่า นี่แปลว่านักธุรกิจที่เข้ามาเล่นการเมือง จะต้องสละความมั่งคั่งทางธุรกิจทั้งหมดที่สะสมมาเลยหรือ คำตอบคือไม่ใช่ กฎหมายไทยตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2540 มาตรา 209 เปิดช่องให้นักการเมืองโอนหุ้นให้ผู้อื่นบริหารจัดการแทนระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง ผ่านกลไกที่เรียกว่า blind trust หรือผู้ดูแลผลประโยชน์ที่จะดูแลแทนให้ เป้าหมายของ blind trust อยู่ที่การช่วยให้นักธุรกิจอยากรับใช้ชาติยังคงได้รับผลตอบแทนต่อไปจากธุรกิจที่เคยทำ แต่ในทางที่ป้องกันไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะผลประโยชน์ทับซ้อนอาจจูงใจให้นักการเมืองใช้อำนาจรัฐออกนโยบายเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจของตัวเองอย่างถูกก"หมาย หรือที่ปัจจุบันเรียกกันติดปากว่า "คอร์รัปชันเชิงนโยบาย" นั่นเอง
ด้วยเหตุนี้ พฤติกรรมซุกหุ้นของนักการเมืองระดับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทขนาดใหญ่ จึงเป็นพิรุธให้สงสัยว่าน่าจะซุก เพราะอยาก "คอร์รัปชันเชิงนโยบาย" ระหว่างที่ครองอำนาจรัฐ ซึ่งข้อเท็จจริงในประเด็นนี้ก็ได้ปรากฏอย่างชัดเจนในคำพิพากษา วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553
คำพิพากษาคดีประวัติศาสตร์ “ยึดทรัพย์ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร” เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 มีแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนให้ขบคิดต่อมากมาย ในบรรดาข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ปรากฏ ผู้เขียนคิดว่าข้อเท็จจริงในประเด็นการอำพรางหุ้น หรือที่เรียกว่า “ซุกหุ้น” นั้นมีความน่าสนใจและสามารถใช้เป็นเอกสารประกอบการเรียนการสอนได้อย่างดียิ่ง โดยเฉพาะวิชาที่ว่าด้วยธรรมาภิบาลภาครัฐ และธรรมาภิบาลตลาดทุน
กรณี “ซุกหุ้นภาคพิสดาร” ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาสำคัญในคดียึดทรัพย์ และองค์คณะผู้พิพากษามีมติเป็นเอกฉันท์ว่าผิดจริงนั้น มีความสลับซับซ้อนกว่ากรณี “ซุกหุ้นภาคแรก” ซึ่งเป็นการใช้ชื่อคนขับรถและคนใช้ถือหุ้นแทนค่อนข้างมาก เนื่องจากเป็นการซุกในช่วงเวลาที่ พ.ต.ท. ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี ในคดีซุกหุ้นภาคแรกนั้น ลำพังการพบชื่อคนใช้และคนขับรถว่าเป็นผู้ถือหุ้นก็ส่อแววแล้วว่าน่าจะซุกหุ้น เพราะคนรับใช้และคนขับรถไม่มีทุนทรัพย์พอที่จะซื้อหุ้นมูลค่าหลายร้อยล้านบาท และก็ไม่ใช่ลูกหรือญาติที่เจ้าของอาจจะอยากให้หุ้น “โดยเสน่หา” จึงไม่มีเหตุผลใดๆ ที่ พ.ต.ท.ทักษิณหรือภรรยาจะโอนหุ้นให้ เว้นเสียแต่ว่าอยากให้ถือหุ้นแทนตนเอง
ถ้าพฤติกรรม “ซุกหุ้นภาคแรก” (ที่ พ.ต.ท.ทักษิณบอกว่า “บกพร่องโดยสุจริต”) เป็นวิชาซุกหุ้นขั้นพื้นฐาน หรือซุกหุ้น 101 ข้อเท็จจริงกรณี “ซุกหุ้นภาคพิสดาร” ที่ปรากฏในคดียึดทรัพย์ ก็เรียกได้ว่าเป็นวิชาซุกหุ้นขั้นสูง หรือซุกหุ้น 301 เลยทีเดียว
การซุกหุ้นรอบนี้ปรากฏหลักฐานว่ากระทำผ่านทั้งตัวบุคคล คือลูกและญาติ และผ่านบริษัทหุ่นเชิด คือ แอมเพิลริช และ วินมาร์ค ลิมิเต็ด บทความตอนนี้จะพูดถึงการซุกผ่านตัวบุคคลก่อน
1. การซุกหุ้นในชื่อลูกที่บรรลุนิติภาวะ
หลายคนอาจสงสัยว่า เหตุใดการโอนหุ้นให้ลูกจึงทำให้ศาลมองว่าซุกหุ้น ถ้าพ่อแม่อยากโอนหรือขายหุ้นให้ลูก ไม่ว่าจะในราคาทุนหรือราคาอื่น หรือแม้แต่โอนให้ฟรีๆ ก็น่าจะมีสิทธิทำได้ตามกฎหมายมิใช่หรือ?
คำตอบคือ เรื่องซุกหุ้นจะดูจากเอกสารยืนยันการโอนหุ้นไม่ได้ ต้องดูหลักฐานใน 3 ประเด็นคือ 1. วิธีการโอนหุ้น เพื่อประเมินว่า ที่อ้างว่าโอนไปแล้วนั้นโอนจริงหรือโอนหลอก เช่น อ้างว่าขายแต่ไม่มีเงินเปลี่ยนมือ 2. ผู้รับหุ้นนั้นได้ใช้สิทธิออกเสียงและรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ (เช่น เงินปันผล) ในฐานะผู้ถือหุ้นชินคอร์ปจริงหรือไม่ และ 3. ผู้รับหุ้นใช้สิทธิออกเสียงตามหุ้นที่ถือหรือไม่
1.1. กรณีของพานทองแท้ จำเลยให้การว่าขายหุ้นให้ลูกที่ราคาทุน แต่ไม่มีเงินเปลี่ยนมือ ทำเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินระหว่างกันไว้เฉยๆ นอกจากนี้ มีหลักฐานว่า 1 วันก่อนโอนหุ้นชินคอร์ปให้ลูก พานทองแท้ต้องทำหนังสือใช้หนี้แม่อีก 4,500 ล้านบาท ซึ่งจำเลยให้การว่าเป็นค่าหุ้นธนาคารทหารไทย 150 ล้านหุ้น และค่าใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (warrant) อีก 300 ล้านหน่วย ทั้งที่ราคาทุนไม่ใช่ 4,500 ล้านบาทตามที่อ้าง แต่อยู่ที่ 1,500 ล้านบาทเท่านั้น เพราะ warrant 300 ล้านหน่วยนั้นแถมมากับหุ้น ดังนั้นจึงเท่ากับมี “หนี้ปลอม” ถึง 3,000 ล้านบาท ทำให้น่าสงสัยว่าลูกซื้อหุ้นจากแม่จริงหรือเปล่า และทำให้น่าเชื่อว่า หนี้ปลอมก้อนนี้เป็น “เครื่องมือ” ให้ลูกคืนปันผลให้แม่มากกว่า กล่าวคือ เงินโอนให้แม่ที่อ้างว่าเป็นการชำระคืนหนี้นั้น แท้จริงแล้วน่าจะเป็นการโอนเงินปันผลให้แม่ เพราะไม่ได้เป็นเจ้าของหุ้นตัวจริงตั้งแต่ต้น
คตส. พบว่า “เมื่อตรวจบัญชีธนาคารของนายพานทองแท้ที่ใช้รับเงินปันผลหุ้นชินคอร์ปแล้ว พบว่าบัญชีนี้ต้องส่งเงินปันผลให้คุณหญิงพจมานจนหมดแทบทุกงวด รวมยอดแล้วสูงเกินกว่าจำนวนที่อ้างว่าเป็นหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินถึง 1,100 ล้านบาท ซึ่งหากนายพานทองแท้ได้เป็นเจ้าของหุ้นชินคอร์ปทั้ง 293 ล้านหุ้นจริงแล้ว เงินปันผลก้อนนี้ก็จะต้องเป็นของเขาโดยแท้จริงด้วย แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้นเลยแม้แต่น้อย”
1.2. กรณีของพินทองทา สำนวนระบุคำให้การว่า “อธิบายว่ามารดาให้เงินในวันเกิดเพื่อไปซื้อหุ้นแบ่งจากพี่ชาย 367 ล้านหุ้น โดยทำเป็นซื้อขายนอกตลาดในราคาทุน (ทำให้ไม่ต้องเสียภาษี) พี่ชายได้เงินแล้วก็นำส่งคืนมารดาทันที วันเกิดที่ว่านี้คือวันครบรอบ 20 ปี ในปี 2545”
การซื้อหุ้นครั้งนั้นไม่มีการชำระเงินค่าหุ้นกันจริงๆ เพราะมารดาให้เงินในวันเกิด แล้วนำเงินไปซื้อจากพี่ชาย พี่ชายก็นำมาคืนมารดาในทันที จำนวนหุ้นที่ซื้อจากพี่ชาย 367 ล้านหุ้น ทำให้หุ้นที่พานทองแท้ถืออยู่เหลือประมาณ 367 ล้านหุ้นเท่าๆ กัน จึงน่าเชื่อว่าถูกพ่อแม่ใช้ชื่อเพื่อปรับจำนวนหุ้นที่ต้องการใช้ชื่อถือแทนมากกว่า ทันทีที่พินทองทาบรรลุนิติภาวะ (20 ปี ซึ่งเป็นจุดที่ถือหุ้นได้โดยไม่ถูกนับตามกฎหมายว่าเป็นของบิดา) เพราะขณะนั้นพานทองแท้ถือหุ้นชินคอร์ปในนามตัวเอง 24.99% และถือผ่านบริษัทแอมเพิลริชอีก 10.44% รวมแล้วเกิน 25% แต่ไม่แจ้ง ก.ล.ต. ตามกฎหมายหลักทรัพย์ ทำให้สุ่มเสี่ยงว่าจะถูกค้นพบและเอาผิดได้ตลอดเวลา
ในด้านสิทธิประโยชน์จากหุ้น คตส. พบว่า “หุ้นก้อนนี้ก่อเกิดให้เงินปันผลในบัญชีที่มีชื่อนางสาวพินทองทาเป็นระยะ แล้วเก็บสะสมไว้ไม่มีการส่งคืนเข้าบัญชีมารดา และมีการนำไปใช้สองครั้งคือ ใช้ซื้อหุ้นเอสซี แอสเสท คืนจากวินมาร์ค 71 ล้านบาท และซื้อบริษัทอสังหาริมทรัพย์อีก 5 บริษัทคืนจากกองทุนสองกองทุน ในปี 2547 อีก 485 ล้านบาท ซึ่งบริษัทวินมาร์คและกองทุนทั้งสองนี้ คตส. และดีเอสไอกับ ก.ล.ต. มีหลักฐานชี้บ่งร่วมกันว่า แท้จริงเป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิง ดังนั้น การนำเงินปันผลไปจ่าย...ทั้งสองครั้งนี้ แท้จริงจึงเป็นการส่งเงินปันผลคืนเข้าบัญชีวินมาร์คของบิดามารดานั่นเอง”
2. การซุกหุ้นในชื่อญาติ
2.1. กรณีนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ กรณีนี้สำนวนระบุว่า “ต้องแยกหุ้นชินฯ เป็นสองกลุ่มด้วยกัน กลุ่มแรกมีจำนวน 1.62% ที่เชื่อได้ว่าเป็นของนายบรรณพจน์จริงตั้งแต่เริ่มเข้าตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทชินคอร์ป กลุ่มที่สอง 10.75% เป็นส่วนที่ถูกใช้ชื่อถือหุ้นแทนเท่านั้น มีสองก้อนด้วยกัน ก้อนแรก 1.62% คือหุ้นเพิ่มทุนที่ใช้สิทธิของตนเองซื้อหุ้น แต่ใช้เงินคุณหญิง ก้อนสอง 9.13% เป็นก้อนที่ทำเป็นซื้อจากคุณหญิง พร้อมกับที่คุณหญิงขายให้บุตรเมื่อกันยายน 2543 ก้อนนี้ทำเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินให้ยึดถือไว้”
หุ้น 10.75% นั้นไม่มีการชำระเงินค่าหุ้นจริง ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ทำให้คุณหญิงสำหรับก้อนสองคือ 9.13% ก็ระบุว่าจ่าย “คุณหญิงพจมาน” ทั้งที่ในขณะนั้นยังมิได้เป็นคุณหญิงแต่อย่างใด ทำให้เชื่อได้ว่าเป็นการทำหลักฐานย้อนหลังทั้งสิ้น
ซุกหุ้น 301 เคล็ดวิชาขั้นสูงจากคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (จบ)
รู้ทันตลาดทุน : สฤณี อาชวานันทกุล กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553
คอลัมน์ตอนที่แล้ว ผู้เขียนอธิบายเคล็ดวิชาซุกหุ้นขั้นสูง ที่ปรากฏในคำพิพากษาคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในส่วนของการซุกผ่านตัวบุคคล คือ ลูกสองคนและน้องชาย ตอนนี้จะกล่าวถึงส่วนที่เหลือ คือ ซุกผ่านน้องสาวและบริษัทหุ่นเชิด
กรณีการซุกหุ้นในชื่อน้องสาว คือ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งได้รับหุ้นชินคอร์ปมูลค่า 20 ล้านบาท มีพฤติกรรมที่บ่งชี้ว่าซุกหุ้นชัดเจนกว่ากรณีของบรรณพจน์ ดามาพงศ์ กล่าวคือ มีตำแหน่งเป็นถึงผู้บริหารระดับสูงในเครือชินคอร์ป แต่ไม่เคยจ่ายค่าหุ้น 20 ล้านบาทให้กับพี่ชาย อ้างว่าเป็นการค้างชำระหนี้ ต่อมาอีก 3-4 ปี เมื่อชินคอร์ปเริ่มจ่ายปันผล ถึงค่อยๆ ทยอย "ชำระหนี้" ด้วยเงินปันผลที่ได้รับ (คือ ไม่ใช้เงินของตนเองเลย) 2 ครั้ง คือ 9 ล้านบาท และ 11 ล้านบาท ครั้งที่สองนั้นเขียนตัวเลขบนเช็ค 13.5 ล้านบาท เท่ากับเงินปันผลที่ได้รับในงวดนั้นเต็มจำนวน แล้วจึงค่อยขีดฆ่าเปลี่ยนตัวเลขใหม่เป็น 11 ล้านบาท คงเป็นเพราะฉุกคิดได้ว่าจ่ายเกินหนี้แล้ว บ่งชี้ว่าหนี้ 20 ล้านบาทนั้นไม่มีอยู่จริง เพราะ พ.ต.ท. ทักษิณไม่เคยขายหุ้นให้จริง เพียงแต่ใช้ชื่อถือหุ้นแทนเท่านั้น ส่วนเงินปันผลงวดที่ 3-6 ก็จ่ายเข้าบัญชีตัวเองเพียง 2.1 ล้านบาท ที่เหลืออีก 68 ล้านบาทเขียนเช็คเงินสด (หมายความว่า ใครก็ตามที่ถือเช็คสามารถนำไปขึ้นเงินได้) โดยอ้างว่านำไปใช้เป็นค่าตกแต่งบ้าน ทำสวน สระว่ายน้ำ ฯลฯ แต่ไม่สามารถนำหลักฐานใดๆ มายืนยันต่อศาลได้ว่าใช้จ่ายในเรื่องเหล่านี้จริง
ทั้งหมดที่กล่าวไปนั้นอ่านได้ในคำพิพากษาหน้า 98-99
ในประเด็นอำนาจในการตัดสินใจ ขายหุ้นให้กับกองทุนเทมาเส็ก ของสิงคโปร์ ซึ่งถ้าลูกๆ และญาติของ พ.ต.ท. ทักษิณพิสูจน์ได้ว่าตัดสินใจขายเองในฐานะเจ้าของหุ้นตัวจริง ก็อาจทำให้ข้ออ้างที่ว่าไม่ใช่นอมินีมีน้ำหนักมากขึ้น แต่คำพิพากษาระบุคำเบิกความชัดเจน ว่า บรรณพจน์ ดามาพงศ์ อ้างว่าตนเป็นผู้ตัดสินใจจะขายหุ้นให้กับกองทุนเทมาเส็กก่อน และแจ้งให้หลานและยิ่งลักษณ์ทราบ บรรณพจน์ให้เหตุผลว่าที่ตัดสินใจขายนั้น เป็นเพราะ "อายุมากแล้ว การบริหารงานในชินคอร์ปต่อไปจะลำบาก เพราะต้องลงทุนในโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 G เกือบแสนล้านบาท"
ศาลเห็นว่าข้ออ้างนี้ "รับฟังไม่ได้" เนื่องจากนายบรรณพจน์ถือหุ้นชินคอร์ปเพียง 13.8% เทมาเส็กจึงน่าจะต้องขอเจรจากับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด คือ พานทองแท้และพินทองทา (ถือหุ้นรวมกัน 35.4%) ก่อน ไม่ใช่บรรณพจน์ นอกจากนี้ เหตุผลที่บรรณพจน์ให้ก็ขัดกับข้อมูลที่ปรากฏในรายงานประจำปี 2548 ของบริษัทเอไอเอส ที่ระบุว่า "บริษัทเอไอเอสมีความสนใจ และความพร้อมทั้งในด้านเงินทุนและเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาไปสู่การให้บริการ 3 G" (ดูคำพิพากษาหน้า 105-107)
หลักฐานทั้งหมดที่ปรากฏในส่วนของการซุกผ่านตัวบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการไม่จ่ายเงินค่าหุ้นที่อ้างว่าซื้อขายกันจริง ทำเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินระหว่างกันไว้เฉยๆ การโอนเงินปันผลทุกงวดให้กับคุณหญิงพจมาน หรือ พ.ต.ท. ทักษิณทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด หรือนำไปใช้จ่ายแทนสามีภรรยาคู่นี้ อาทิเช่น ใช้ซื้อหุ้นเอสซี แอสเสท คืนจากวินมาร์ค หรือไปรวมกับเงินก้อนที่ไปซื้อสโมสรฟุตบอลอังกฤษ ตลอดจนข้ออ้างที่มีพิรุธเกี่ยวกับการตัดสินใจขายหุ้นให้กับเทมาเส็ก ทำให้ศาลตัดสินว่าเป็นการใช้ชื่อลูกและญาติถือหุ้นแทนทั้งสิ้น
สำหรับส่วนของ หุ้นที่ซุกผ่านบริษัทหุ่นเชิด คือ แอมเพิลริชและวินมาร์ค ลิมิเต็ด ก็มีเอกสารหลักฐานชัดเจนจากธนาคารยูบีเอส เอจี สาขาสิงคโปร์ ว่า ผู้มีอำนาจเบิกถอนเงินในบัญชีของแอมเพิลริชแต่เพียงผู้เดียว คือ "ดร. ที ชินวัตร" เพิ่งมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจเบิกถอนเงินในบัญชีดังกล่าวในเดือนมิถุนายน 2548 ส่วนกรณีของวินมาร์ค ศาลตัดสิน ว่า "ไม่มีเหตุต้องวินิจฉัย" ว่า เป็นนอมินีหรือไม่ เนื่องจากจำนวนหุ้นชินคอร์ปที่วินมาร์คถือ (ประมาณ 1.8%) ไม่อยู่ในจำนวนหุ้นที่ขายให้กับเทมาเส็ก และกลายเป็นเงินที่อัยการร้องให้ยึด
ถ้าหุ้นชินคอร์ปในส่วนของวินมาร์คซุกจริง ก็นับว่าเป็นส่วนที่ซุกอยู่ "ลึกที่สุด" คือ ไม่ได้ขายให้กับเทมาเส็ก พ.ต.ท. ทักษิณ อาจยังถือครองอยู่จวบจนปัจจุบัน ในเมื่อ ก.ล.ต. ให้การว่ามีหลักฐานจากการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างประเทศ ว่า พ.ต.ท. ทักษิณเป็นเจ้าของวินมาร์ค ก็ควรจะดำเนินการสอบสวนประเด็นนี้ต่อไป ในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายหลักทรัพย์ เพราะหุ้นที่ซุกผ่านบริษัทหุ่นเชิดนั้นสามารถนำไปซื้อขายโดยใช้ข้อมูลภายใน (insider trading) ได้ค่อนข้างง่าย (เพราะไหนๆ ก็ซุกแล้ว) ยังไม่นับความผิดตามกฎหมายหลักทรัพย์อีกหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งเท็จ ปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้น ไม่ทำรายงานถือครองหุ้นข้ามเส้น 5% ฯลฯ
ประเด็นที่น่าสังเกตเป็นพิเศษจากหลักฐานในกรณี "ซุกหุ้นภาคพิสดาร" คือ พยานหลักฐานที่ฝ่ายจำเลยใช้ในการสู้คดีนี้นั้น ส่วนใหญ่เป็นคำกล่าวอ้างลอยๆ และเอกสารที่จัดทำขึ้นเองได้ ไม่มีบุคคลที่สามรับรอง อาทิเช่น ตั๋วสัญญาใช้เงินระหว่างกัน หรือรายงานประจำปีของแอมเพิลริช ไม่ใช่เอกสารที่ทำเองไม่ได้หรือปลอมแปลงยาก อาทิเช่น เอกสารการเปิดบัญชีกับธนาคาร จดหมายจากธนาคารยูบีเอสที่ยืนยันว่าพานทองแท้เป็นเจ้าของหุ้นที่แท้จริง หรือรายการบัญชีในธนาคารที่ระบุว่า มีการจ่ายเงินค่าหุ้นกันจริงๆ (ซึ่งในกรณีของวินมาร์ค จะเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่ามี "นักลงทุนต่างชาติ" มาซื้อหุ้นวินมาร์คไปจริง)
การทำความเข้าใจกับมติเอกฉันท์ของศาลฎีกาที่ว่า พ.ต.ท. ทักษิณเป็นเจ้าของหุ้นชินคอร์ปกึ่งหนึ่งหรือ 50% ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น เป็น "จุดเริ่มต้น" ที่จำเป็นต่อการทำความเข้าใจกับคำพิพากษาของศาลฎีกา เพราะนั่นหมายความว่า พ.ต.ท. ทักษิณมีผลประโยชน์ทับซ้อนอันใหญ่หลวง ระหว่างสถานภาพ "ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่มีอำนาจควบคุม" ชินคอร์ปและบริษัทในเครือ กับสถานภาพผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสูงสุดของประเทศ
หลายคนอาจสงสัยว่า นี่แปลว่านักธุรกิจที่เข้ามาเล่นการเมือง จะต้องสละความมั่งคั่งทางธุรกิจทั้งหมดที่สะสมมาเลยหรือ คำตอบคือไม่ใช่ กฎหมายไทยตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2540 มาตรา 209 เปิดช่องให้นักการเมืองโอนหุ้นให้ผู้อื่นบริหารจัดการแทนระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง ผ่านกลไกที่เรียกว่า blind trust หรือผู้ดูแลผลประโยชน์ที่จะดูแลแทนให้ เป้าหมายของ blind trust อยู่ที่การช่วยให้นักธุรกิจอยากรับใช้ชาติยังคงได้รับผลตอบแทนต่อไปจากธุรกิจที่เคยทำ แต่ในทางที่ป้องกันไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะผลประโยชน์ทับซ้อนอาจจูงใจให้นักการเมืองใช้อำนาจรัฐออกนโยบายเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจของตัวเองอย่างถูกก"หมาย หรือที่ปัจจุบันเรียกกันติดปากว่า "คอร์รัปชันเชิงนโยบาย" นั่นเอง
ด้วยเหตุนี้ พฤติกรรมซุกหุ้นของนักการเมืองระดับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทขนาดใหญ่ จึงเป็นพิรุธให้สงสัยว่าน่าจะซุก เพราะอยาก "คอร์รัปชันเชิงนโยบาย" ระหว่างที่ครองอำนาจรัฐ ซึ่งข้อเท็จจริงในประเด็นนี้ก็ได้ปรากฏอย่างชัดเจนในคำพิพากษา วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553
การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ว่าด้วย กิจการธนาคาร (1)
อนุสรณ์ ธรรมใจ Anusorn4reform@Gmail.com www.Anusornt4reform.com กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 02 เมษายน พ.ศ. 2553
นวัตกรรมทางการเงิน ภาวะไร้พรมแดนของการเคลื่อนย้ายทุนระยะสั้นในตลาดการเงิน ทำให้โลกการเงินเต็มไปด้วยความผันผวน ความเสี่ยง และโอกาส
ขณะเดียวกัน กระบวนการโลกาภิวัตน์ทางการเงิน ได้ทำให้โฉมหน้าของธุรกิจการเงินการธนาคารพลิกโฉมไปอย่างมาก อุตสาหกรรมธนาคารทั้งในระดับโลก ภูมิภาคและในประเทศได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รุนแรงและต่อเนื่อง เรากำลังอยู่ในยุคสมัยแห่งการปฏิวัติทางการเงินครั้งใหญ่
ไม่นับรวมการจัดระเบียบการเงินโลกใหม่หลังวิกฤติสินเชื่อซับไพร์ม อันเป็นสิ่งที่ท้าทายต่อการปรับตัวของระบบสถาบันการเงินไทย
สถาบันการเงินถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อกลางทางการเงิน (Financial Intermediaries) สถาบันการเงินย่อมก่อให้เกิดประสิทธิภาพทางด้านการออม การลงทุนในระบบเศรษฐกิจ ทำให้ระบบเศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพและมั่นคง กระตุ้นให้ผู้ประกอบการขยายการผลิตสินค้าและบริการ จัดสรรเงินทุนให้กับผู้ต้องการเงินทุน และทำหน้าที่ระดมเงินออม
สถาบันการเงินในยุคนี้จำนวนไม่น้อยได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับธุรกรรมเก็งกำไรเกินขนาด จนกระทั่งยักษ์ใหญ่ทางการเงินระดับโลกหลายแห่งประสบการล้มละลายช่วงวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ตั้งแต่ เลแมน บราเดอร์ส จนถึง เอไอจี หากสถาบันการเงินขีดวงการทำธุรกิจให้อยู่ในกรอบของหน้าที่ในการเป็นสื่อกลางทางการเงิน ปัญหาวิกฤติในปี 2551-2552 อาจไม่เกิดขึ้น
การเติบโตของระบบการเงินมีมากขึ้นตามพัฒนาการของระบบเศรษฐกิจ บทบาทของสถาบันการเงินก็เติบโตตามไปด้วย การขยายใหญ่ของระบบการเงิน (Monetarisation) และการขยายของบทบาทสถาบันการเงินเป็นผลโดยตรงจากการพัฒนาการของระบบเศรษฐกิจทุนนิยม ขณะที่บทบาทของสถาบันการเงินและตลาดการเงินก็มีผลกระทบต่อพัฒนาการของระบบเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน ธุรกรรมทางการเงินที่ไม่มีกิจกรรมในภาคเศรษฐกิจจริงรองรับได้ขยายตัวอย่างมโหฬาร จนทำให้ภาคการเงินมีขนาดใหญ่กว่าภาคการผลิตหลายเท่า ภาวะไม่สมดุลของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเกิดขึ้นอย่างเรื้อรัง
โครงสร้างระบบการเงินของไทยมีองค์ประกอบสำคัญสามส่วน คือ สถาบันการเงินที่เป็นธนาคาร สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร และตลาดตราสารหนี้และตลาดตราสารทุน โดยที่ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยยังมีความสำคัญในลำดับสูงในระบบการเงินของประเทศ
สถาบันการเงินที่เป็นธนาคารในประเทศไทย ประกอบไปด้วย ธนาคารกลางหรือธนาคารชาติ (ธนาคารแห่งประเทศไทย) ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธนาคารเพื่อเอสเอ็มอี) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เป็นต้น
ส่วนสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร ประกอบไปด้วย บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทประกันชีวิต สถาบันการเงินเพื่อรายย่อย (บริษัท อิออน บริษัทแคปปิตอล โอเค) สหกรณ์ และโรงรับจำนำ เป็นต้น
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้และตลาดตราสารทุน มีบทบาทในระบบการเงินเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูง นิยมออกตราสารหนี้และตราสารทุน เพื่อระดมทุนในการขยายกิจการ หรือบริหารโครงสร้างทางการเงินของกิจการ
ต่อมาได้มีการผ่านกฎหมายพระราชบัญญัติสถาบันการเงินฉบับใหม่มาบังคับใช้ (2550) แบ่งสถาบันการเงินที่รับฝากเงินออกเป็นสองประเภทเท่านั้น คือ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ให้บริการการเงินแบบครบวงจร (Universal Bank) และธนาคารเพื่อรายย่อย (Retail Bank)
ธนาคารพาณิชย์แตกต่างจากสถาบันการเงินทั่วไป คือ ธนาคารพาณิชย์รับฝากเงินฝากกระแสรายวันซึ่งสามารถจ่ายโอนโดยเช็คได้ สถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์จะปฏิบัติดังกล่าวมิได้ ถือว่าผิดกฎหมายธนาคารพาณิชย์ (Commercial Banks) คือ สถาบันการเงินที่รับฝากเงิน (Deposits) และ ปล่อยเงินกู้ (Loans) เงินรับฝากเป็นรายการ หนี้สิน (Liabilities) ส่วนเงินที่ปล่อยกู้เป็นรายการสินทรัพย์ (Assets) ของสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์หารายได้ด้วยการคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ สูงกว่าเงินฝากและโดยปกติสถาบันการเงินจะต้องดำรงเงินสำรองไว้ตามที่กฎหมายกำหนด เรียกว่า "เงินสดสำรองตามกฎหมาย" (Legal Reserves)
ระบบธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยนั้นเป็นระบบสาขา เป็นวิสาหกิจทางการเงินที่มีสำนักงานมากกว่าหนึ่งแห่ง โดยมีสำนักงานใหญ่แห่งหนึ่ง และมีสาขากระจายทั่วประเทศ และอาจมีสาขาดำเนินการในต่างประเทศด้วย ระบบนี้มีความมั่นคงและสามารถบริการลูกค้าสะดวกและรวดเร็ว ระบบธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยนั้นมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2431 ธนาคารพาณิชย์ที่ก่อตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย คือ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ของประเทศอังกฤษ และธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของไทย คือ ธนาคารไทยพาณิชย์
ก่อนที่เราจะพิจารณาเรื่องการปฏิรูปกิจการธนาคาร เราควรทำความเข้าใจความเป็นมาเป็นไปของธุรกิจธนาคารในไทยเสียก่อน ว่า มีวิวัฒนาการมาอย่างไร ซึ่งจะขอกล่าวในตอนหน้าครับ
นวัตกรรมทางการเงิน ภาวะไร้พรมแดนของการเคลื่อนย้ายทุนระยะสั้นในตลาดการเงิน ทำให้โลกการเงินเต็มไปด้วยความผันผวน ความเสี่ยง และโอกาส
ขณะเดียวกัน กระบวนการโลกาภิวัตน์ทางการเงิน ได้ทำให้โฉมหน้าของธุรกิจการเงินการธนาคารพลิกโฉมไปอย่างมาก อุตสาหกรรมธนาคารทั้งในระดับโลก ภูมิภาคและในประเทศได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รุนแรงและต่อเนื่อง เรากำลังอยู่ในยุคสมัยแห่งการปฏิวัติทางการเงินครั้งใหญ่
ไม่นับรวมการจัดระเบียบการเงินโลกใหม่หลังวิกฤติสินเชื่อซับไพร์ม อันเป็นสิ่งที่ท้าทายต่อการปรับตัวของระบบสถาบันการเงินไทย
สถาบันการเงินถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อกลางทางการเงิน (Financial Intermediaries) สถาบันการเงินย่อมก่อให้เกิดประสิทธิภาพทางด้านการออม การลงทุนในระบบเศรษฐกิจ ทำให้ระบบเศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพและมั่นคง กระตุ้นให้ผู้ประกอบการขยายการผลิตสินค้าและบริการ จัดสรรเงินทุนให้กับผู้ต้องการเงินทุน และทำหน้าที่ระดมเงินออม
สถาบันการเงินในยุคนี้จำนวนไม่น้อยได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับธุรกรรมเก็งกำไรเกินขนาด จนกระทั่งยักษ์ใหญ่ทางการเงินระดับโลกหลายแห่งประสบการล้มละลายช่วงวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ตั้งแต่ เลแมน บราเดอร์ส จนถึง เอไอจี หากสถาบันการเงินขีดวงการทำธุรกิจให้อยู่ในกรอบของหน้าที่ในการเป็นสื่อกลางทางการเงิน ปัญหาวิกฤติในปี 2551-2552 อาจไม่เกิดขึ้น
การเติบโตของระบบการเงินมีมากขึ้นตามพัฒนาการของระบบเศรษฐกิจ บทบาทของสถาบันการเงินก็เติบโตตามไปด้วย การขยายใหญ่ของระบบการเงิน (Monetarisation) และการขยายของบทบาทสถาบันการเงินเป็นผลโดยตรงจากการพัฒนาการของระบบเศรษฐกิจทุนนิยม ขณะที่บทบาทของสถาบันการเงินและตลาดการเงินก็มีผลกระทบต่อพัฒนาการของระบบเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน ธุรกรรมทางการเงินที่ไม่มีกิจกรรมในภาคเศรษฐกิจจริงรองรับได้ขยายตัวอย่างมโหฬาร จนทำให้ภาคการเงินมีขนาดใหญ่กว่าภาคการผลิตหลายเท่า ภาวะไม่สมดุลของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเกิดขึ้นอย่างเรื้อรัง
โครงสร้างระบบการเงินของไทยมีองค์ประกอบสำคัญสามส่วน คือ สถาบันการเงินที่เป็นธนาคาร สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร และตลาดตราสารหนี้และตลาดตราสารทุน โดยที่ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยยังมีความสำคัญในลำดับสูงในระบบการเงินของประเทศ
สถาบันการเงินที่เป็นธนาคารในประเทศไทย ประกอบไปด้วย ธนาคารกลางหรือธนาคารชาติ (ธนาคารแห่งประเทศไทย) ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธนาคารเพื่อเอสเอ็มอี) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เป็นต้น
ส่วนสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร ประกอบไปด้วย บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทประกันชีวิต สถาบันการเงินเพื่อรายย่อย (บริษัท อิออน บริษัทแคปปิตอล โอเค) สหกรณ์ และโรงรับจำนำ เป็นต้น
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้และตลาดตราสารทุน มีบทบาทในระบบการเงินเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูง นิยมออกตราสารหนี้และตราสารทุน เพื่อระดมทุนในการขยายกิจการ หรือบริหารโครงสร้างทางการเงินของกิจการ
ต่อมาได้มีการผ่านกฎหมายพระราชบัญญัติสถาบันการเงินฉบับใหม่มาบังคับใช้ (2550) แบ่งสถาบันการเงินที่รับฝากเงินออกเป็นสองประเภทเท่านั้น คือ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ให้บริการการเงินแบบครบวงจร (Universal Bank) และธนาคารเพื่อรายย่อย (Retail Bank)
ธนาคารพาณิชย์แตกต่างจากสถาบันการเงินทั่วไป คือ ธนาคารพาณิชย์รับฝากเงินฝากกระแสรายวันซึ่งสามารถจ่ายโอนโดยเช็คได้ สถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์จะปฏิบัติดังกล่าวมิได้ ถือว่าผิดกฎหมายธนาคารพาณิชย์ (Commercial Banks) คือ สถาบันการเงินที่รับฝากเงิน (Deposits) และ ปล่อยเงินกู้ (Loans) เงินรับฝากเป็นรายการ หนี้สิน (Liabilities) ส่วนเงินที่ปล่อยกู้เป็นรายการสินทรัพย์ (Assets) ของสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์หารายได้ด้วยการคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ สูงกว่าเงินฝากและโดยปกติสถาบันการเงินจะต้องดำรงเงินสำรองไว้ตามที่กฎหมายกำหนด เรียกว่า "เงินสดสำรองตามกฎหมาย" (Legal Reserves)
ระบบธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยนั้นเป็นระบบสาขา เป็นวิสาหกิจทางการเงินที่มีสำนักงานมากกว่าหนึ่งแห่ง โดยมีสำนักงานใหญ่แห่งหนึ่ง และมีสาขากระจายทั่วประเทศ และอาจมีสาขาดำเนินการในต่างประเทศด้วย ระบบนี้มีความมั่นคงและสามารถบริการลูกค้าสะดวกและรวดเร็ว ระบบธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยนั้นมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2431 ธนาคารพาณิชย์ที่ก่อตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย คือ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ของประเทศอังกฤษ และธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของไทย คือ ธนาคารไทยพาณิชย์
ก่อนที่เราจะพิจารณาเรื่องการปฏิรูปกิจการธนาคาร เราควรทำความเข้าใจความเป็นมาเป็นไปของธุรกิจธนาคารในไทยเสียก่อน ว่า มีวิวัฒนาการมาอย่างไร ซึ่งจะขอกล่าวในตอนหน้าครับ
วันเสาร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553
การตลาดใหม่กับ Retro Marketing
การตลาดใหม่กับ Retro Marketing (จบ)
คอลัมน์ กรณีศึกษา SMEs
ในคอลัมน์กรณีศึกษาฉบับ ..ได้นำเสนอเรื่องการใช้กลยุทธ์การตลาดย้อนยุค หรือ Retro Marketing เพื่อนำไปใช้ออกแบบพื้นที่ทางการตลาดของ Retro-Retro Marketing คือการนำของเก่ามาทำใหม่ ส่วนในฉบับนี้เราจะนำเสนอการตลาดย้อนยุคในแบบที่เรียกว่า Retro-Nova Marketing
ดร.พัลลภา ปิติสันต์ ประธานสาขาการจัดการธุรกิจ หลักสูตรภาษาไทย วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล ได้อธิบายความหมายของ Retro-Nova ว่าคือการนำสิ่งที่ประสบความสำเร็จในอดีตมาเสนอใหม่ในปัจจุบัน โดยจะมีการปรับปรุง เพิ่ม ผสมผสานเทคโนโลยีใหม่เข้าไปในสินค้า บริการนั้น นักการตลาดใช้สิ่งที่ประสบความสำเร็จในอดีตเพื่อดึงประสบการณ์ อารมณ์ ความรู้สึกของผู้บริโภคให้หวนคิดถึง กระตุ้นให้มีอารมณ์ความรู้สึกร่วมไปกับสินค้า และบริการนั้น ๆ โดยจะมีการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ผสมเทคโนโลยีปัจจุบันเข้าไปเพื่อให้สินค้าและบริการมีคุณค่า (value added) และร่วมสมัย (contemporary) มากขึ้น
เช่น รถจักรยานยนต์ฟีโน่ (Fino) รถยนต์อย่าง VW Beetle และ Mini Cooper รวมถึงหนัง-เพลงเก่าที่นำกลับมาร้องมาสร้างใหม่ แนวคิด Retro-Nova เป็นการพัฒนาให้สินค้ามี functional benefit ทัดเทียมกับสินค้าที่ขายอยู่ในท้องตลาดปัจจุบัน รวมถึงสามารถช่วยให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าสมัยใหม่ที่อาจจะไม่ได้มีประสบการณ์ร่วมกับสิ่งที่นำมาทำใหม่ แต่ซื้อเพราะเทคโนโลยีที่ใส่เข้าไปใหม่
การนำแนวคิดการตลาดย้อนยุคแบบ Retro Nova ไปสร้างเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดทำได้ด้วย 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนแรกเรียกว่า build linkage คือสร้างความเชื่อมโยงยุคสมัยปัจจุบันกับอดีตเข้าด้วยกัน กระตุ้นให้ผู้บริโภคระลึกถึงวันคืนเก่า ๆ ที่ได้ประสบมาในอดีต โดยสิ่งสำคัญคือต้องเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความสุขให้กับผู้บริโภคได้ นอกจากนั้นธุรกิจที่ต้องการนำ Retro-Nova มาใช้ต้องเริ่มจากการ มองหาสิ่งต่าง ๆ ที่ประสบความสำเร็จ ได้รับความนิยมอย่างมากในอดีต มีลักษณะที่โดดเด่นและไม่เหมือนใคร (unique) เพื่อนำมาเป็นต้นแบบในการผลิตสินค้า เช่นในกรณีของบริษัทยามาฮ่า มอเตอร์ เป็นบริษัทแรกที่ได้นำรถจักรยาน ยนต์รุ่นเก่าอย่างเวสป้า สกูตเตอร์ (Vespa Scooter) มาเป็นต้นแบบของรถจักรยานยนต์ฟีโน่ (Fino) โดยในอดีต Vespa ได้รับความนิยมอย่างมากและมีจุดเด่นที่มีล้อขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สีสันสดใส มีรูปทรงโค้งมน ยามาฮ่าจึงนำลักษณะเด่นเหล่านั้นของ Vespa มาถอดแบบดีไซต์ออกมาเป็นรถจักรยานยนต์ Fino จนเป็นที่โดนใจผู้บริโภค และได้รับการตอบรับอย่างดีจากตลาด
ขั้นตอนที่ 2 build value คือสามารถสร้างคุณค่าให้กับผู้บริโภคได้ โดยบริษัทควรจัดทำวิจัยและพัฒนา (R&D) สินค้าเพื่อค้นหาความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน และพร้อมกับหาจุดบกพร่องของสินค้าที่ขายอยู่ในตลาดปัจจุบันที่ยังไม่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ เพื่อนำไปเพิ่มเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้กับสินค้าในอดีตให้เกิดความเหมาะสมกับการใช้งานปัจจุบัน การเพิ่มคุณค่าเหล่านี้จะทำให้สินค้าในอดีตที่นำมาทำการตลาดแบบ Retro-Nova มี functional benefits และ emotional benefits ที่ตรงใจกับผู้บริโภคในสมัยปัจจุบันและสร้างข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่งในตลาดเหมือนกับที่ยามาฮ่าได้ทำ R&D เพื่อศึกษาถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค ที่ใช้รถจักรยานยนต์ คือต้องการได้รถจักรยานยนต์ที่มีน้ำหนักเบา ขับขี่ได้ง่าย มีดีไซน์ที่ดูทันสมัยแต่คลาสสิก (modern classic) รวมถึงมีลูกเล่นในการแต่งสีสัน ฟังก์ชั่นพิเศษให้กับรถจักรยานยนต์ตามสไตล์ของผู้ขับขี่ได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่า ให้ Fino ทำให้เจาะกลุ่มผู้บริโภคได้ทั้งชายและหญิงที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีสไตล์ของตนเอง ชอบสิ่งแปลกใหม่ รวมถึงคนยุคก่อนที่ นิยมชมชอบรถจักรยานยนต์ Vespa ก็หันมาสนใจซื้อ Fino
ขั้นตอนที่ 3 build awareness คือสามารถทำให้ผู้บริโภครับรู้สินค้าหรือบริการที่เราสร้างขึ้น ซึ่งสามารถทำได้ โดยการทำกิจกรรมทางการตลาดทั้ง above the line และ below the line โดยในการทำ Retro Nova นี้เรามักเน้นไปที่การทำ below the line เนื่องจากสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีและใช้งบประมาณน้อยกว่า อีกทั้งผู้บริโภคสามารถเข้ามามีประสบการณ์ร่วม ผูกพันเป็นหนึ่งเดียวกับสินค้าหรือบริการของเรา เช่น การใช้ forward mail สร้าง community เป็นต้น
ตลาดเพลินวาน เป็นหนึ่งในกรณีศึกษาที่เห็นได้ชัดถึงการนำกลยุทธ์การตลาดย้อนยุคแบบ Retro-Nova มาใช้ โดยตลาดเพลินวานเรียกตัวเองว่า ตลาดย้อนยุค พ.ศ. 2499 เป็นลักษณะของหมู่บ้านย้อนยุคที่สร้างขึ้นใหม่ ตั้งอยู่ที่หัวหิน จากแรงบันดาลใจในความรักและหวนคิดถึงหัวหินในวันวาน จึงทำให้คุณภัทรา สหวัฒน์ หรือ จิ๊กโก๋ เพลินวาน เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการเนรมิตตลาดแห่งนี้กลับมาอีกครั้ง นับว่าเป็นการสร้างกระแส Retro-Nova ให้กับลูกค้าได้หวนระลึกถึงช่วงเวลาแห่งความสุขเหล่านั้น รวมทั้งทำให้กลุ่มเด็กและวัยรุ่นได้เรียนรู้ ได้เห็นถึงวิถีความเป็นอยู่และสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตสมัยนั้นด้วย
หมายเหตุ : ส่วนหนึ่งของแนวคิดใน กรณีศึกษาได้นำมาจากงานสัมมนาวิชาการการตลาดของนักศึกษาปริญญาโท วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล โดยนันทพร สุวรรนาวุธ, จารุนาฎ เลิศสกุลเจริญ, วัชราภรณ์ อรานุเวชภัณฑ์, ไพฑูรย์ มินขุนทด
คอลัมน์ กรณีศึกษา SMEs
ในคอลัมน์กรณีศึกษาฉบับ ..ได้นำเสนอเรื่องการใช้กลยุทธ์การตลาดย้อนยุค หรือ Retro Marketing เพื่อนำไปใช้ออกแบบพื้นที่ทางการตลาดของ Retro-Retro Marketing คือการนำของเก่ามาทำใหม่ ส่วนในฉบับนี้เราจะนำเสนอการตลาดย้อนยุคในแบบที่เรียกว่า Retro-Nova Marketing
ดร.พัลลภา ปิติสันต์ ประธานสาขาการจัดการธุรกิจ หลักสูตรภาษาไทย วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล ได้อธิบายความหมายของ Retro-Nova ว่าคือการนำสิ่งที่ประสบความสำเร็จในอดีตมาเสนอใหม่ในปัจจุบัน โดยจะมีการปรับปรุง เพิ่ม ผสมผสานเทคโนโลยีใหม่เข้าไปในสินค้า บริการนั้น นักการตลาดใช้สิ่งที่ประสบความสำเร็จในอดีตเพื่อดึงประสบการณ์ อารมณ์ ความรู้สึกของผู้บริโภคให้หวนคิดถึง กระตุ้นให้มีอารมณ์ความรู้สึกร่วมไปกับสินค้า และบริการนั้น ๆ โดยจะมีการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ผสมเทคโนโลยีปัจจุบันเข้าไปเพื่อให้สินค้าและบริการมีคุณค่า (value added) และร่วมสมัย (contemporary) มากขึ้น
เช่น รถจักรยานยนต์ฟีโน่ (Fino) รถยนต์อย่าง VW Beetle และ Mini Cooper รวมถึงหนัง-เพลงเก่าที่นำกลับมาร้องมาสร้างใหม่ แนวคิด Retro-Nova เป็นการพัฒนาให้สินค้ามี functional benefit ทัดเทียมกับสินค้าที่ขายอยู่ในท้องตลาดปัจจุบัน รวมถึงสามารถช่วยให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าสมัยใหม่ที่อาจจะไม่ได้มีประสบการณ์ร่วมกับสิ่งที่นำมาทำใหม่ แต่ซื้อเพราะเทคโนโลยีที่ใส่เข้าไปใหม่
การนำแนวคิดการตลาดย้อนยุคแบบ Retro Nova ไปสร้างเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดทำได้ด้วย 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนแรกเรียกว่า build linkage คือสร้างความเชื่อมโยงยุคสมัยปัจจุบันกับอดีตเข้าด้วยกัน กระตุ้นให้ผู้บริโภคระลึกถึงวันคืนเก่า ๆ ที่ได้ประสบมาในอดีต โดยสิ่งสำคัญคือต้องเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความสุขให้กับผู้บริโภคได้ นอกจากนั้นธุรกิจที่ต้องการนำ Retro-Nova มาใช้ต้องเริ่มจากการ มองหาสิ่งต่าง ๆ ที่ประสบความสำเร็จ ได้รับความนิยมอย่างมากในอดีต มีลักษณะที่โดดเด่นและไม่เหมือนใคร (unique) เพื่อนำมาเป็นต้นแบบในการผลิตสินค้า เช่นในกรณีของบริษัทยามาฮ่า มอเตอร์ เป็นบริษัทแรกที่ได้นำรถจักรยาน ยนต์รุ่นเก่าอย่างเวสป้า สกูตเตอร์ (Vespa Scooter) มาเป็นต้นแบบของรถจักรยานยนต์ฟีโน่ (Fino) โดยในอดีต Vespa ได้รับความนิยมอย่างมากและมีจุดเด่นที่มีล้อขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สีสันสดใส มีรูปทรงโค้งมน ยามาฮ่าจึงนำลักษณะเด่นเหล่านั้นของ Vespa มาถอดแบบดีไซต์ออกมาเป็นรถจักรยานยนต์ Fino จนเป็นที่โดนใจผู้บริโภค และได้รับการตอบรับอย่างดีจากตลาด
ขั้นตอนที่ 2 build value คือสามารถสร้างคุณค่าให้กับผู้บริโภคได้ โดยบริษัทควรจัดทำวิจัยและพัฒนา (R&D) สินค้าเพื่อค้นหาความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน และพร้อมกับหาจุดบกพร่องของสินค้าที่ขายอยู่ในตลาดปัจจุบันที่ยังไม่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ เพื่อนำไปเพิ่มเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้กับสินค้าในอดีตให้เกิดความเหมาะสมกับการใช้งานปัจจุบัน การเพิ่มคุณค่าเหล่านี้จะทำให้สินค้าในอดีตที่นำมาทำการตลาดแบบ Retro-Nova มี functional benefits และ emotional benefits ที่ตรงใจกับผู้บริโภคในสมัยปัจจุบันและสร้างข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่งในตลาดเหมือนกับที่ยามาฮ่าได้ทำ R&D เพื่อศึกษาถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค ที่ใช้รถจักรยานยนต์ คือต้องการได้รถจักรยานยนต์ที่มีน้ำหนักเบา ขับขี่ได้ง่าย มีดีไซน์ที่ดูทันสมัยแต่คลาสสิก (modern classic) รวมถึงมีลูกเล่นในการแต่งสีสัน ฟังก์ชั่นพิเศษให้กับรถจักรยานยนต์ตามสไตล์ของผู้ขับขี่ได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่า ให้ Fino ทำให้เจาะกลุ่มผู้บริโภคได้ทั้งชายและหญิงที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีสไตล์ของตนเอง ชอบสิ่งแปลกใหม่ รวมถึงคนยุคก่อนที่ นิยมชมชอบรถจักรยานยนต์ Vespa ก็หันมาสนใจซื้อ Fino
ขั้นตอนที่ 3 build awareness คือสามารถทำให้ผู้บริโภครับรู้สินค้าหรือบริการที่เราสร้างขึ้น ซึ่งสามารถทำได้ โดยการทำกิจกรรมทางการตลาดทั้ง above the line และ below the line โดยในการทำ Retro Nova นี้เรามักเน้นไปที่การทำ below the line เนื่องจากสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีและใช้งบประมาณน้อยกว่า อีกทั้งผู้บริโภคสามารถเข้ามามีประสบการณ์ร่วม ผูกพันเป็นหนึ่งเดียวกับสินค้าหรือบริการของเรา เช่น การใช้ forward mail สร้าง community เป็นต้น
ตลาดเพลินวาน เป็นหนึ่งในกรณีศึกษาที่เห็นได้ชัดถึงการนำกลยุทธ์การตลาดย้อนยุคแบบ Retro-Nova มาใช้ โดยตลาดเพลินวานเรียกตัวเองว่า ตลาดย้อนยุค พ.ศ. 2499 เป็นลักษณะของหมู่บ้านย้อนยุคที่สร้างขึ้นใหม่ ตั้งอยู่ที่หัวหิน จากแรงบันดาลใจในความรักและหวนคิดถึงหัวหินในวันวาน จึงทำให้คุณภัทรา สหวัฒน์ หรือ จิ๊กโก๋ เพลินวาน เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการเนรมิตตลาดแห่งนี้กลับมาอีกครั้ง นับว่าเป็นการสร้างกระแส Retro-Nova ให้กับลูกค้าได้หวนระลึกถึงช่วงเวลาแห่งความสุขเหล่านั้น รวมทั้งทำให้กลุ่มเด็กและวัยรุ่นได้เรียนรู้ ได้เห็นถึงวิถีความเป็นอยู่และสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตสมัยนั้นด้วย
หมายเหตุ : ส่วนหนึ่งของแนวคิดใน กรณีศึกษาได้นำมาจากงานสัมมนาวิชาการการตลาดของนักศึกษาปริญญาโท วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล โดยนันทพร สุวรรนาวุธ, จารุนาฎ เลิศสกุลเจริญ, วัชราภรณ์ อรานุเวชภัณฑ์, ไพฑูรย์ มินขุนทด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)